หลักการเล็กๆ เก็บมาฝาก
น้ำท่วมแล้ว
เผยกลเม็ด “วิธีรับมือน้ำท่วมบ้านอย่างได้ผล”
เนื่องจากขณะนี้หลายจังหวัด หลายพื้นที่ในประเทศไทยของเรากำลังประสบปัญหาอุทกภัย จากหลายสาเหตุไม่ว่าจะเป็นอากาศที่แปรปรวน ผลกระทบจากพายุทั้งนกเต็น เนสาด และล่าสุดนาลแก ซ้ำยังโดนมรสุมถล่ม ทำให้ในหลายพื้นที่อยู่ในสภาวะวิกฤติถึงขั้นรุนแรงเพราะมีน้ำท่วมสูง บ้านเรือนประชาชน ที่อยู่อาศัยเสียหายนับพันหลัง
ทั้งนี้ทาง เสนา ของเราก็เจอบทความดีๆ ใน “Bloggang ทองกาญจนา” ของผู้ที่เคยประสบปัญหาน้ำท่วมบ้านครั้งหนึ่ง เผยเคล็ดลับ วิธีการในการป้องกันบ้านไม่ให้ถูกน้ำท่วม ทาง เสนา จึงไม่รอช้ารีบนำมาเสนอผู้อ่านทันที เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับใครหลายคนที่คงจะกำลังประสบปัญหาน้ำท่วมหรือกำลังหาวิธีป้องกันบ้านของตนเองให้ปลอดภัยจากน้ำได้นำไปใช้หรือเรียนรู้ไว้ก็คงไม่เสียหายอะไร
วิธีป้องกันไม่ให้น้ำท่วมบ้านอย่างได้ผล
น้ำท่วมเชียงใหม่ปีนี้ บ้านผมก็หนีไม่พ้นอีกเช่นเคย เพราะอยู่ในโซนหมายเลข 1 ที่น้ำจะต้องท่วมก่อนโซนอื่น ๆ ยังโชคดีที่ อบต.ปรับปรุงถนนหน้าหมู่บ้านให้มีความสูงมากขึ้นมาตั้งแต่ต้นปี ดังนั้นถึงแม้ระดับน้ำจากแม่น้ำปิงจะสูงเกินค่าวิกฤติ คือ 3.70 เมตร น้ำก็ยังไม่ล้นตลิ่งข้ามถนนเข้าไปท่วมหมู่บ้าน แต่ในที่สุดก็ไม่รอด เพราะปีนี้น้ำขึ้นสูงสุดถึง 4.94 เมตร สรุปว่าน้ำเริ่มเข้าท่วมถนนภายในหมู่บ้านตั้งแต่ตอนบ่ายวันพุธที่ 28 กันยายน 2554 และหยุดท่วมในเช้าวันเสาร์ที่ 1 ตุลาคม 2554
ถึงน้ำจะท่วมถนนภายในหมู่บ้านสูงถึง 60 ซม. จนไม่สามารถใช้รถยนต์ส่วนตัวเข้า-ออกได้ตามปกติ แต่จากประสบการณ์ที่ต้องผจญกับน้ำท่วมในหมู่บ้านนี้มาหลายครั้ง ทำให้เกิดองค์ความรู้ที่จะป้องกันไม่ให้น้ำจากถนนภายในหมู่บ้าน ไหลเข้าไปท่วมในบริเวณบ้านอย่างได้ผล ขอนำมาบันทึกไว้เพื่อเป็นประโยชน์กับท่านอื่น ๆ ในวันนี้ครับ
เตรียมการก่อน
ประสบการณ์จากน้ำท่วมเมื่อครั้งที่แล้ว พบว่าถึงแม้จะกั้นกระสอบทรายไว้ที่ประตูรั้ว แต่ก็ไม่สามารถกั้นน้ำเข้าบ้านได้ เพราะ (1)บริเวณสนามหญ้าและลานอิฐบล็อกภายในบริเวณบ้านจะมีน้ำปุดทะลุพื้นดินขึ้นมา (2)กระสอบทรายไม่มีความมั่นคงแข็งแรงเพียงพอ เมื่อถูกคลื่นที่เกิดจากรถยนต์วิ่งฝ่าเข้ามาในถนนที่น้ำท่วม จะมีแรงดันมหาศาลทำให้กำแพงกระสอบทรายพัง และน้ำไหลเข้าบริเวณบ้านได้ในที่สุด
จากประสบการณ์ดังกล่าวผมได้เตรียมการไว้หลังจากน้ำลดครั้งที่แล้ว ดังนี้
(1) ปรับปรุงพื้นรอบ ๆ บริเวณบ้านใหม่ โดยทำพื้นให้เรียบและเทพื้นด้วยคอนกรีตซีแพ็คลงไปจนเต็มชิดรั้วทุกด้าน
(2) ทำบานเหล็กสำหรับกั้นน้ำพร้อมอุปกรณ์ติดตั้ง โดยทำกรอบรางเหล็กสำหรับสวม ติดถาวรไว้ที่ประตูรั้วบ้านทั้งซ้ายและขวา ส่วนบานเหล็กและเสาค้ำยันถอดออกได้ เพื่อให้สามารถใช้ประตูบ้านได้ในยามปกติ
(3) ซื้อเครื่องสูบน้ำชนิดแช่ขนาดเล็กที่เรียกว่าไดรโว่ ราคาประมาณ 1,500-2,000 บาท เครื่องสูบน้ำชนิดนี้จะขาดตลาดทันทีที่เกิดน้ำท่วม จึงต้องซื้อเก็บไว้ล่วงหน้า แล้วก็ไม่ลืมสายไฟพร้อมปลั๊กที่จะใช้ต่อพ่วงมาจากตัวบ้านจนถึงประตูรั้ว
(4) ดินน้ำมันจำนวนหนึ่ง ใช้สำหรับอุดในช่องว่างที่ประกอบบานเหล็กกั้นน้ำเข้ากับประตูรั้วบ้าน
น้ำมาแล้ว
เสียงประกาศเตือนภัยจาก อบต. ตั้งแต่เช้า แจ้งว่าน้ำคงจะเข้าท่วมหมู่บ้านในช่วงบ่าย ขอให้ประชาชนเตรียมป้องกันทรัพย์สินของตนเอง ผมนำรถยนต์ออกจากบ้านไปจอดไว้ยังที่ปลอดภัยนอกหมู่บ้าน กลับเข้ามาก็เริ่มติดตั้งบานเหล็กเข้ากับประตูรั้วบ้าน ติดตั้งเสาค้ำยัน ใช้ดินน้ำมันอุดตามรอยต่อระหว่างบานกับกรอบรางเหล็ก นำเครื่องสูบน้ำไดรโว่มาวางไว้ใกล้ประตูรั้ว ในตำแหน่งที่คาดว่าน้ำจะซึมเข้ามาและท่วมขังอยู่ ต่อสายไฟพร้อมใช้งาน แล้วรอน้ำที่กำลังเริ่มไหลเข้ามาในหมู่บ้านอย่างใจจดใจจ่อ
เวลาประมาณ 16.00 น. น้ำท่วมถนนภายในหมู่บ้านทุกถนนแล้ว มีน้ำซึมผ่านบานเหล็กที่ประตูรั้วเข้ามาในบ้านของผมปริมาณหนึ่ง แต่เมื่อเปิดเครื่องสูบน้ำก็สามารถควบคุมระดับน้ำไม่ให้สูงจนเกิดความเสียหายได้ เมื่อน้ำในถนนลดลง ผมไม่ต้องลำบากในการทำความสะอาดบริเวณบ้าน ที่มีดินโคลนตกค้างจากน้ำท่วมขัง เหมือนน้ำท่วมเมื่อครั้งก่อนอีกแล้ว
คิดว่าบทความดีๆ “วิธีป้องกันไม่ให้น้ำท่วมบ้านอย่างได้ผล” นี้ คงเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยสำหรับผู้อ่านและผู้ที่กำลังประสบปัญน้ำท่วมโดยตรง และทางเสนาขอเป็นกำลังใจสำหรับเพื่อนพี่น้องที่ประสบปัญหาน้ำท่วมด้วยน่ะค่ะ
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก Bloggang ทองกาญจนา http://www.bloggang.com/vi
ร่วมด้วยช่วยกัน
ใจสู้ๆๆคราฟ
ดร.สมัย เหมมั่น
ตัวแทน เจ้านาย ผู้อำนวยการบริษัทฯ หมู่บ้านสิวารัตน์
วัดนนทรี บางประหัน
สู้ๆๆๆๆๆ
สิวารัตน์ สู้ๆๆๆ
คนละมือๆๆๆๆๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น