หน้าเว็บบริษัท พีซีไอ อินเตอร์ จำกัด (มหาชน) 199/595 ถ.บางพลี-ตำหรุ ต.แพรกษาใหม่ อ.เมือง จ.สมุรทปรา

วันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

อุตสาหกรรมจีน- การเป็นผู้นำโลก ด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมกระดาษชำระ โดย ดร.สมัย เหมมั่น

บันทึกการเดินทางการศึกษาดูงาน อุตสาหกรรมหนักประเทศ จีน
โดย ดร.สมัย เหมมั่น

การศึกษาดูงานโรงงาน อุตสาหกรรมผลิตกระดาษจีน

ประวัติศาสตร์


เหมา เจ๋อตงประกาศตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีนที่จัตุรัสเทียนอันเหมินและปกครองระบอบคอมมิวนิสต์
การสู้รบส่วนใหญ่ในสงครามกลางเมืองจีนยุติลงในปี พ.ศ. 2492 โดยพรรคคอมมิวนิสต์จีนเข้าปกครองจีนแผ่นดินใหญ่ และพรรคก๊กมินตั๋งต้องล่าถอยไปยังเกาะไต้หวัน เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2492 เหมาเจ๋อตงประกาศสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน[18] หรือที่เรียกว่า "จีนคอมมิวนิสต์" หรือ "จีนแดง"[19]
แผนเศรษฐกิจและสังคมซึ่งเป็นที่รู้จักกันว่า นโยบายก้าวกระโดดครั้งใหญ่ ส่งผลทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 45 ล้านคน[20] ใน พ.ศ. 2509 เหมาและพันธมิตรทางการเมืองได้เริ่มการปฏิวัติทางวัฒนธรรม ซึ่งกินเวลาจนกระทั่งเหมาถึงแก่อสัญกรรมในอีกหนึ่งทศวรรษถัดมา การปฏิวัติทางวัฒนธรรม ซึ่งได้รับการกระตุ้นจากการแย่งชิงอำนาจภายในพรรคและความกลัวสหภาพโซเวียต นำไปสู่ความวุ่นวายครั้งใหญ่ในสังคมจีน ใน พ.ศ. 2505 ช่วงที่ความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับสหภาพโซเวียตเลวร้ายลงมากที่สุด เหมาและโจว เอินไหล พบกับริชาร์ด นิกสันในกรุงปักกิ่งเพื่อสถาปนาความสัมพันธ์กับสหรัฐอเมริกา ในปีเดียวกันนั้น สาธารณรัฐประชาชนจีนได้รับการยอมรับให้เข้าเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติแทนที่สาธารณรัฐจีน และเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ
หลังจากเหมาถึงแก่อสัญกรรมในปี พ.ศ. 2519 และการจับกุมตัวแก๊งออฟโฟร์ ซึ่งถูกประณามว่าเป็นผู้ที่ใช้อำนาจหน้าที่เกินกว่าเหตุระหว่างการปฏิวัติทางวัฒนธรรม เติ้ง เสี่ยวผิงได้แย่งชิงอำนาจจากทายาททางการเมืองที่เหมาวางตัวไว้ หัว กั๋วเฟิง อย่างรวดเร็ว ถึงแม้ว่าเขาจะไม่ได้เป็นประธานพรรคหรือประมุขแห่งรัฐ ในทางปฏิบัติแล้ว เติ้งเป็นผู้นำสูงสุดของจีนในเวลานั้น อิทธิพลของเขาภายในพรรคนำพาประเทศไปสู่การปฏิรูปทางเศรษฐกิจครั้งสำคัญ หลังจากนั้น พรรคคอมมิวนิสต์ได้ผ่อนปรนการควบคุมเหนือชีวิตประจำวันของพลเมืองและคอมมูนถูกยุบโดยชาวนาจำนวนมากได้รับที่ดินเช่า ซึ่งได้เป็นการเพิ่มสิ่งจูงใจและผลผลิตทางเกษตรกรรมอย่างกว้างขวาง เหตุการณ์ดังกล่าวได้เปลี่ยนแปลงจีนจากระบบเศรษฐกิจที่มีการวางแผนจากส่วนกลางมาเป็นเศรษฐกิจแบบผสม ซึ่งมีสภาพเป็นตลาดเปิดเพิ่มมากขึ้น หรือที่บางคนเรียกว่า "ตลาดสังคมนิยม"[21] และพรรคคอมมิวนิสต์จีนได้เรียกมันอย่างเป็นทางการว่า "สังคมนิยมที่เป็นลักษณะเฉพาะของจีน" สาธารณรัฐประชาชนจีนใช้บังคับรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2525
ในปี พ.ศ. 2532 การเสียชีวิตของเจ้าหน้าที่ทางการผู้สนับสนุนการปฏิรูป หู ย่าวปัง เป็นการจุดชนวนการชุมนุมประท้วงที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน พ.ศ. 2532 อย่างไรก็ตาม การชุมนุมดังกล่าวถูกปราบปรามลงเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน ทำให้มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก เหตุการณ์ดังกล่าวได้รับการรายงานอย่างกว้างขวางและนำไปสู่การประณามและการลงโทษทางเศรษฐกิจต่อรัฐบาลจีน[22][23]
เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีน ประธานาธิบดีเจียง เจ๋อหมิน และนายกรัฐมนตรีจู หรงจี สองอดีตนายกเทศมนตรีเซี่ยงไฮ้ เป็นผู้นำสาธารณรัฐประชาชนจีนภายหลังเหตุการณ์เทียนอันเหมินในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 ภายใต้การบริหารงานเป็นระยะเวลาสิบปีของทั้งสอง สมรรถนะทางเศรษฐกิจของจีนได้ช่วยยกระดับฐานะของชาวนาประมาณ 150 ล้านคนขึ้นจากความยากจนและรักษาอัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศไว้ที่ 11.2% ต่อปี[24][25] จีนเข้าร่วมกับองค์การการค้าโลกอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2544
ถึงแม้ว่าสาธารณรัฐประชาชนจีนจะต้องการการเติบโตทางเศรษฐกิจเพื่อกระตุ้นการพัฒนาประเทศ รัฐบาลจีนได้เริ่มวิตกกังวลว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วนี้จะมีผลกระทบในด้านลบต่อทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมของประเทศ อีกเรื่องหนึ่งที่สร้างความกังวลคือบางภาคส่วนของสังคมไม่ได้รับประโยชน์จากการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศอย่างเพียงพอ ตัวอย่างหนึ่งคือช่องว่างใหญ่ระหว่างพื้นที่เมืองและชนบท ดังนั้น ภายใต้เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีนชุดปัจจุบัน ประธานาธิบดีหู จิ่นเทา และนายกรัฐมนตรีเวิน เจียเป่า สาธารณรัฐประชาชนจีนจึงได้เริ่มดำเนินนโยบายเพื่อที่จะหยิบยกประเด็นปัญหาของการแจกจ่ายทรัพยากรอย่างเท่าเทียม แต่ผลที่ออกมานั้นยังสามารถพบเห็นได้[26] ชาวนามากกว่า 40 ล้านคนถูกบังคับให้ย้ายออกจากที่ดินของตน[27] ซึ่งเป็นเหตุปกติธรรมดาเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ ทำให้เกิดการเดินขบวนประท้วงและการจลาจลกว่า 87,000 ครั้งในปี พ.ศ. 2548[28] สำหรับประชากรส่วนใหญ่ของจีนแล้ว มาตรฐานการดำเนินชีวิตมองเห็นได้ว่ามีการพัฒนาอย่างมาก และเริ่มมีเสรีภาพมากขึ้น แต่การควบคุมทางการเมืองยังคงดำเนินอยู่ต่อไป เช่นเดียวกับความยากจนในชนบท

เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2554 คณะผู้บริหารระดับสูงจากกระทรวงพาณิชย์ไทย ประกอบด้วย ผู้ช่วรัฐมนตร
ว่ากกระทรวงพาณิชย์ นาย สฤษฏ์ อึ้งอฎินันท์ และ ผู้ช่วรัฐมนตรว่ากกระทรวงพาณิชย์ นาย เหรียญชัย
ลิขิตพฤกษ์ รองปลัดกระทรวงพาณิช์ นายราเชนทร์ พจนสุนทร อธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก นาง
นันทวัลย์ ศกุลตนาคและเจ้าหน้าที่ รวม 26 ท่าน ได้เดินทางมาเยี่ยชมศูนย์ฯ โดยศูนย์ฯ ได้จัดพิธีเปิด
ป้ายชื่อศูนย์อย่างเป็นทางการและเรียนเชิญผู้บริหารระดับสูงดังกล่าวเป็นประธาในพิพีเปิดป้ายชื่อด้วย
หลังจากเสร็จพิธีเปิดป้ายชื่อ ที่ปรึกษากิติมศักติ์และผู้อำนวยการศูนย์ธุรกิจไทย-จีน ประจำนครหนาน
หนิงได้บริจาคเงินช่วยเหลือพี่น้องชาวไทยที่ประสบภัยน้ำท่วมเป็นจำนวนเงิน 208888 หยวนถ้วน

ยอดการนำเข้าจีนจะมีมูลค่าถึง 8 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ


วันที่ประกาศ:10/21/2011
เมื่อเร็วๆ นี้ นายหวังเชา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์จีนกล่าวที่เมืองกว่างโจวว่า ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมระยะ 5 ปีฉบับที่ 12 ยอดมูลค่าการนำเข้าของจีนจะสูงถึง 8 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ
นายหวัง เชา ชี้แจงว่า ในช่วง 10 ปีที่จีนได้เข้าร่วมองค์การการค้าโลก ทำให้สร้างมูลค่ายอดการนำเข้าเพิ่มขึ้นประมาณแสนล้านดอลลาร์สหรัฐในแตละปี เป็นการเติบโตที่ประเทศอื่นเทียบไม่ได้ ในฐานะที่เป็นประเทศกำลังพัฒนาที่ใหญ่ที่สุดในโลก จีนกำลังอยู่ช่วงที่พัฒนาอย่างรวดเร็วในด้านอุตสาหกรรม และความศิวิไลซ์ ในมุมมองทางไกล จีนจะแสวหาโอกาสร่วมือกับประเทศต่างๆ  เพื่อเพิ่มยอดการส่งออกมากขึ้น
ในอนาคต จีนจะพยายามเพิ่มความมั่นคงด้านการส่งออก พร้อมเพิ่มยอดการนำเข้า และส่งเสริมการค้าต่างประเทศให้พัฒนาอย่างสมดุล

มณฑลกวางตุ้งส่งสัญญาณแสวงหาความร่วมมือกับบริษัทชื่อดังของโลก


วันที่ประกาศ:10/9/2011
     ในช่วงที่ผ่านมา มณฑลกวางตุ้งที่ตั้งอยู่ริมฝั่งทะเลทางภาคใต้ของจีน อาศัยฮ่องกงและมาเก๊า เป็นแหล่งที่มาสำคัญของเงินทุน เมื่อเร็วๆ นี้ มณฑลกวางตุ้งได้ร่วมกับกระทรวงพาณิชย์จีนจัดการประชุมแลกเปลี่ยนความร่วมมือระหว่างมณฑลกวางตุ้งกับวิสาหกิจ 500 อันดับแรกของโลกและวิสาหกิจขนาดใหญ่ในต่างแดน โดยมณฑลกวางตุ้งอยากจะดึงดูดเงินทุนจากประเทศพัฒนา ด้วยการสร้างกลไกการแลกเปลี่ยนความร่วมมือแบบใหม่ และปรับปรุงสิ่งแวดล้อมการลงทุน เพื่อกระตุ้นให้เศรษฐกิจในท้องถิ่นเปลี่ยนรูปแบบ
     ในที่ประชุมแลกเปลี่ยนความร่วมมือที่จัดขึ้นเป็นเวลา 2 วันครั้งนี้ มณฑลกวางตุ้งกับนักธุรกิจต่างชาติได้ลงนามในโครงการลงทุนโดยตรง 233 โครงการ วงเงิน 21,700 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งครอบคลุมอุตสาหกรรมเคมี การพาณิชย์ โลจิสติกส์ อุตสาหกรรมใหม่เชิงยุทธศาสตร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ

การส่งออกรถยนต์ของจีนใน 8 เดือนแรกของปีนี้เพิ่มสูงขึ้น


วันที่ประกาศ:10/9/2011
     สถิติจากสมาคมอุตสาหกรรมรถยนต์จีนรายงานว่า ภายใต้สภาวะที่ค่อนข้างอ่อนแอ่ของตลาดรถยนต์จีนในปีนี้ การส่งออกรถยนต์ของจีนยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ในช่วง 8 เดือนแรกปีนี้ วิสาหกิจรถยนต์ของจีนมีการส่งออกรถยนต์โดยสารประมาณ 310,000 คัน เพิ่มขึ้น 83% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้ว และการส่งออกรถยนต์เชิงพาณิชย์ประมาณ 220,000 คัน เพิ่มขึ้น 37%
     สมาคมอุตสาหกรรมรถยนต์จีนแสดงว่า การส่งออกรถยนต์ของจีนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วนั้น เป็นผลมาจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศต่างๆและความพยายามของวิสาหกิจรถยนต์ของจีนเอง ทั้งที่สัดส่วนการส่งออกรถยนต์ยี่ห้อจีนยังค่อนข้างต่ำ แต่ยังมีศักยภาพอยู่อีกมาก


การค้าระหว่างประเทศกว่างซีสร้างสถิติใหม่ในรอบปี


วันที่ประกาศ:10/17/2011
     เดือนสิงหาคม ปี 54 กว่างซีมูลค่านำเข้า-ส่งออก 2,283 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 67.7 ในจำนวนนี้ แบ่งเป็น มูลค่าส่งออก 1,278 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 82.1 และมูลค่านำเข้า 1,005 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 52.5 ช่วง 8 เดือนแรก ปีนี้ กว่างซีมีมูลค่าการค้าระหว่างประเทศ 14,675 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 38.2 จัดอยู่อันดับที่ 18 ของประเทศ และอันดับที่ 3 ของภาคตะวันตก

       ข้อสังเกตของการค้าระหว่างประเทศ ช่วงเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา มีดังต่อไปนี้

       รูปแบบการค้า : การค้าตามแนวชายแดน มีมูลค่า 647 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 1.2 เท่า ในจำนวนนี้เป็นมูลค่าส่งออก 537 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 1.66 เท่า ขณะที่การค้าทั่วไป มีมูลค่า 1,276 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 44.2 และการค้าแปรรูป มีมูลค่า 290 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 95.5

       ประเภทกิจการ : รัฐวิสาหกิจ มีมูลค่าการค้า 596 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 1.25 เท่า ส่วนวิสาหกิจเอกชน มีมูลค่าการค้า 1,017 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 54.3 ในขณะที่ วิสาหกิจเงินทุนต่างชาติ มีมูลค่าการค้า 649 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 57.3

       ประเทศคู่ค้า : เวียดนาม บราซิล และอินโดนีเซีย เป็นคู่ค้ารายใหญ่ 3 อันดับแรกของกว่างซี แบ่งเป็น มูลค่าการค้ากับเวียดนาม 739 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 1.05 เท่า (สัดส่วนการค้าร้อยละ 32.36) มูลค่าการค้ากับบราซิล 174 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 33 (สัดส่วนการค้าร้อยละ 7.64) และมูลค่าการค้ากับอินโดนีเซีย 162 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 2.7 เท่า (สัดส่วนการค้าร้อยละ 7.09)

       ลักษณะสินค้า : สินค้าขั้นปฐมภูมิครองสัดส่วนร้อยละ 80 ของสินค้านำเข้าส่งออกทั้งหมด ในจำนวนนี้ เป็นมูลค่านำเข้า 766 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 76.2 ของมูลค่านำเข้าทั้งหมด ขยายตัวร้อยละ 50.6 จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน (สินค้าขั้นปฐมภูมิส่วนใหญ่เป็นสินค้าเชิงทรัพยากร อาทิ สินแร่และหัวแร่ต่าง ๆ)

       พื้นที่เศรษฐกิจ : เขตเศรษฐกิจอ่าวเป่ยปู้ (นครหนานหนิง เมืองเป๋ยไห่ เมืองชินโจว และเมืองฝางเฉิงก่าง) มีมูลค่าการค้า 1,028 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 61.5 / เขตทรัพยากรอุดมสมบูรณ์ทางภาคตะวันตก (เมืองเหอฉือ เมืองไป่เซ่อ และเมืองฉงจั่ว) มีมูลค่าการค้า 734 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 1.34 เท่า / เขตเศรษฐกิจแม่น้ำซีเจียง (เมืองอู๋โจว เมืองยวี่หลิน เมืองกุ้ยก่าง เมืองเฮ้อโจว เมืองหลิ่วโจว เมืองหลายปิน และเมืองกุ้ยหลิน) มีมูลค่าการค้า 521 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 26.7

       เมืองสำคัญ : เมืองฉงจั่ว มียอดการค้าระหว่างประเทศ 617 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ครองตำแหน่งเมืองที่มีมูลค่าการค้ามากที่สุดของกว่างซี ในขณะที่เมืองชินโจว คว้าตำแหน่งเมืองที่การค้าระหว่างประเทศมีการขยายตัวมากที่สุดของกว่างซี ด้วยตัวเลขสถิติ 2.2 เท่าตัว

ที่มา:ศูนย์ข้อมูลธุรกิจไทยในจีน

มณฑลกวางตุ้งส่งสัญญาณแสวงหาความร่วมมือกับบริษัทชื่อดังของโลก


วันที่ประกาศ:10/9/2011
     ในช่วงที่ผ่านมา มณฑลกวางตุ้งที่ตั้งอยู่ริมฝั่งทะเลทางภาคใต้ของจีน อาศัยฮ่องกงและมาเก๊า เป็นแหล่งที่มาสำคัญของเงินทุน เมื่อเร็วๆ นี้ มณฑลกวางตุ้งได้ร่วมกับกระทรวงพาณิชย์จีนจัดการประชุมแลกเปลี่ยนความร่วมมือระหว่างมณฑลกวางตุ้งกับวิสาหกิจ 500 อันดับแรกของโลกและวิสาหกิจขนาดใหญ่ในต่างแดน โดยมณฑลกวางตุ้งอยากจะดึงดูดเงินทุนจากประเทศพัฒนา ด้วยการสร้างกลไกการแลกเปลี่ยนความร่วมมือแบบใหม่ และปรับปรุงสิ่งแวดล้อมการลงทุน เพื่อกระตุ้นให้เศรษฐกิจในท้องถิ่นเปลี่ยนรูปแบบ
     ในที่ประชุมแลกเปลี่ยนความร่วมมือที่จัดขึ้นเป็นเวลา 2 วันครั้งนี้ มณฑลกวางตุ้งกับนักธุรกิจต่างชาติได้ลงนามในโครงการลงทุนโดยตรง 233 โครงการ วงเงิน 21,700 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งครอบคลุมอุตสาหกรรมเคมี การพาณิชย์ โลจิสติกส์ อุตสาหกรรมใหม่เชิงยุทธศาสตร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ

สมาคมนักธุรกิจเยาวชนกว่างซีเยือนประเทศไทย


วันที่ประกาศ:9/28/2011
เมื่อวันที่ 25 – 26 กันยายน สมาคมนักธุรกิจเยาวชนจีน–อาเซียน สมาคมนักธุรกิจเยาวชนกว่างซีได้จัดคณะกลุ่มผู้แทนนักธุรกิจเยาวชนจีน มาถึงจุดที่สี่ – ประเทไทย และได้มีการแลกเปลี่ยนความคิเห็นกันักธุรกิจเยาวชนไทยเชื้อสายจีน เพื่อสำแดงความสามารถของหอการค้าเยาวชนทั้งสองประเทศอย่างเต็มที่  และส่งเสริมการแลกเปลี่ยนและความร่วมมือที่เป็นมิตรระหว่างนักธุรกิจเยาวชนทั้งสองประเทศ สมาคมนักธุรกิจเยาวชนกว่างซีและสมาคมนักธุรกิจยุคใหม่ไทย-จีนได้มีการเซ็นบันทึกช่วยจำเกี่ยวกับความร่วมมือและแลกเปลี่ยนที่เป็นมิตรต่อกัน ณ กรุงเทพฯ ประเทศไทย
ตามบันทึกช่วยจำดังกล่าว ทั้งสองฝ่ายจะเริ่มสร้างความร่วมมือกันในด้านต่างๆ ดังนี้ เช่น ในเขตการค้าเสรีจีน-อาเซียน และ กรอบความร่วมมือทางเศษฐกิจอ่าวเป่ยปู้ สร้างความร่วมมือและ การแลกเปลี่ยนทางเศาฐกิจของเยาวชน เสริมทวีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทางงานธุรกิจของเยาวชนระหว่างกว่างซีและประเทศไทย ขยายการประชาสัมพันธ์แบบอย่างที่สำเร็จทางธุรกิจของเยาวชนทั้งสองฝ่าย สร้างกลไกการแลกเปลี่ยนและความร่วมมือในระยะยาว รวมทั้งจัดกลุ่มผู้แทนนักธุรกิจเยาวชน 20 คนขึ้นไป เยือนจีน-ไทยซึ่งกันและกัน  ฯลฯ

จากข้อมูลที่ได้ทราบมา จุดแรกในการเดินทางครั้งนี้ของสมาคมนักธุรกิจเยาวชนกว่างซีประเทศจีนคือ ประทศเวียดนาม และได้มีการเซ็นบันทึกช่วยจำเกี่ยวกับความร่วมมือกับนครฮานอย และจะมีการเซ็นบันทึกช่วยจำกับประเทศกัมพูชา มาเลเซีย สิงคโปร์ และประเทศอื่นๆ  ต่อไป

จีนยุคใหม่ก้าวสู่การปฏิรูปสีเขียว


<![CDATA[//><!]]>
-->
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของจีน ฉบับที่ 12 ภายใต้คอนเซปท์ “inclusive growth” ที่เน้นการเติบโตโดยรวม มุ่งเน้นการกระจายความเป็นอยู่ที่ดีในทุกภาคส่วน ทำให้จีนก้าวสู่ยุคปฏิรูปครั้งใหม่ที่เป็นการปฏิรูปสีเขียว โดยมี 3 ส่วน หลักที่เป็นตัวชูโรงเด่น ๆ ก็คือ การบริการสุขภาพ พลังงาน และเทคโนโลยี ซึ่งจะเป็นแรงผลักดันขับเคลื่อนให้จีนเป็น ประเทศที่พัฒนาและเติบโตอย่างยืน ทั้งคน เศรษฐกิจ โลกและสิ่งแวดล้อม แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของจีน ฉบับใหม่ มีระยะเวลา 5 ปี นับตั้งแต่ ปี 2011-2015 จะครอบคลุมเรื่องต่าง ๆ ดังนี้ - ปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจใหม่ ตั้งเป้าการเติบโตของ GDP ที่ 7% สร้างอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ใหม่ 7 อุตสาหกรรม - ส่งเสริมความเท่าเทียมกันในสังคม คุณภาพชีวิตคนเมืองกับชนบท พัฒนาทุกภูมิภาค ลดความเหลื่อมล้ำของรายได้ - ปกป้องสิ่งแวดล้อม อนุรักษ์พลังงาน พัฒนาแหล่งพลังงานทางเลือกใหม่ เช่น พลังงานนิวเคลียร์ น้ำ ลม แสงแดด - ปรับปรุงอุตสาหกรรมบริการทางสุขภาพอย่างต่อเนื่อง ส่งเสริมนวัตกรรมภูมิปัญญาแพทย์แผนจีน - ส่งเสริมเทคโนโลยีชีวภาพ - อัพเกรดเทคโนโลยี โดยใช้นวัตกรรมที่มีจากภูมิปัญญา วิจัยและพัฒนา คุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา และทำในเชิงพาณิชย์ - ลงทุนในภาคการศึกษาแบบจัดหนัก - ใช้ประโยชน์จากระบบสารสนเทศในยุคต่อไปให้ได้ประสิทธิภาพมากที่สุด - พัฒนาระบบโครงข่ายไฟฟ้า power grid - ฯลฯ สำหรับธุรกิจต่างประเทศที่อาจได้รับอานิสงส์หรือหางเลขจากแผนพัฒนาฯ 5 ปีของจีนฉบับนี้ ก็ต้องพยายามปรับเปลี่ยน กลยุทธ์ให้ดี เพราะแผนพัฒนาฯ ฉบับนี้ มีทั้งโอกาสและอุปสรรคแฝงมาด้วยกัน เช่น การลงทุนในมณฑลยูนนานอย่าง มหาศาล ซึ่งเป็นมณฑลที่อยู่ใกล้ประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน จะได้รับการพัฒนาเป็นอย่างสูง ทำให้ความสามารถ ในการแข่งขันของจีนเพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่ง และผู้ประกอบการไทยก็อาจจะอาศัยเป็นคู่ค่า และเส้นทางกระจายสินค้า ระหว่างภูมิภาคจีนกับอาเซียนก็ได้ ส่วนบริการทางการแพทย์ที่เมืองไทยโดดเด่นเป็น medical hub ก็อาจจะถูกจีนตี ตลาดอย่างรวดเร็วก็เป็นได้ ทั้งนี้ ก็ต้องคอยจับตามองกันต่อไปว่า ก้าวใหญ่ของพญามังกรสีเขียวนี้จะพาดผ่านไปใน ทิศทางไหน และจะสร้างแรงกระเพื่อมในเศรษฐกิจโลกอย่างไรบ้าง
การค้า เป็นการลงทุน ประเทศจีน ทำการค้าเป็นธุรกิจที่มีแต่กำไร
สิ่งแว้ดล้อม ทำเมื่อมีกำไร หรือ การทำ  CSR
จีนยุคใหม่ ยักษ์ใหญ่การค้าเสรีในลุ่มน้ำโขง
“ “แม่น้ำโขง” คือ แม่น้ำสายหนึ่งที่สำคัญที่สุดของโลก และถือว่าเป็นแม่น้ำที่อุดมสมบูรณ์ มีความหลายหลายทางชีวภาพที่สุดรองจากแม่น้ำอะเมซอน นอกจากความหลากหลายทางชีวภาพแล้ว แม่น้ำสายนี้ยังทำหน้าที่เป็นแหล่งน้ำสายหลัก หล่อเลี้ยงผู้คนกว่า 6 ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงประเทศจีน ประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก ทั้งยังเป็นประเทศที่กำลังพัฒนาและเติบโตอย่างรวดเร็วในขณะนี้ จีนใหม่ ผู้ก้าวกระโดดในเวทีการค้าโลกด้วยสถานการณ์ดังกล่าว จีนจึงเป็นที่น่าจับตามองอย่างยิ่งจากทั้งเพื่อนบ้าน เอเชียอาคเนย์ และในระดับโลก ฉะนั้นเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2549 คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จึงเรียนเชิญ อาจารย์วรศักดิ์ มหัทธโนบล อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และอดีตหัวหน้าคณะวิจัยของสถาบันเอเชียศึกษา มาบรรยายพิเศษเรื่อง “บทบาทของจีนในกลุ่มประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง” โดย อ.วรศักดิ์ เล่าย้อนให้เห็นถึงภาพในสมัยอดีต ซึ่งหากมองเอาจีนเป็นตัวตั้งแล้ว ในราวทศวรรษที่ 1960 หรือภายหลังสงครามโลกครั้งที่สองจนถึงปัจจุบัน สหประชาชาติเคยมองไว้ว่าในอนาคต ลุ่มน้ำโขงซึ่งเป็นแหล่งทรัพยากรอันยิ่งใหญ่ ถ้าไม่ลงมาดูแลจัดการ เกรงว่าอาจจะเกิดความขัดแย้งตามมาอย่างแน่นอน แม่น้ำหนึ่งในสองสายที่สำคัญ และถือว่าอุดมสมบูรณ์ที่สุดในโลก เป็น ‘แม่น้ำสายพรหมจรรย์’ ที่ไม่เคยถูกละเมิดด้วยการกระทำใด ๆ บัดนี้แม่น้ำสายดังกล่าวถูกทำลายจนยับเยิน ด้วยการถูกรบกวน - การระเบิดแก่งเพื่อให้เรือขนาดใหญ่สามารถล่องน้ำได้สะดวกมากยิ่งขึ้น” สหประชาชาติเคยมองไว้ว่าในอนาคต ลุ่มน้ำโขงซึ่งเป็นแหล่งทรัพยากรอันยิ่งใหญ่ ถ้าไม่ลงมาดูแลจัดการ เกรงว่าอาจจะเกิด ความขัดแย้งตามมาอย่างแน่นอนจนมีการจัดตั้ง “คณะกรรมการลุ่มน้ำโขง” ขึ้นมาดูแลผลประโยชน์จากแม่น้ำโขง ประกอบด้วย ประเทศพม่า ลาว ไทย เขมร เวียดนาม โดยปราศจากจีน เพราะห้วงเวลานั้น ในเวทีโลก ยังคงมีความขัดแย้ง ความหวาดระแวงจีนอยู่ค่อนข้างสูง เพราะด้วยความเป็นซ้ายจัด (สังคมนิยมคอมมิวนิสต์) ทางการเมือง แม้กระทั่งในเวทีการค้าโลก (ในยุคนั้นคือ GATT- The General Agreement on Tariffs and Trade) ไต้หวันซึ่งอยู่ในฝ่ายโลกเสรีจะเป็นตัวแทนที่เข้าร่วมบ่อยครั้งในการประชุมต่าง ๆ จนหลายปีต่อมา จีนจึงเข้ามานั่งแทนที่ไต้หวัน ด้วยจีนแผ่นดินใหญ่เปลี่ยนนโยบายการบริหารประเทศ เปิดประเทศมากยิ่งขึ้นทั้งมีการเปิดให้ต่างชาติเข้ามาลงทุน และมีการปฏิรูปแผนพัฒนาเศรษฐกิจ ในปี 1990 แต่กระนั้นยังพบอุปสรรคในเวทีการประชุมการค้าโลก เมื่อประเทศจีน ยื่นข้อเสนอต่อแก็ตต์ ซึ่งจีนเข้าไปนั่งแทนไต้หวัน ขออยู่ในฐานะประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งหมายความว่าจีนจะได้รับเงื่อนไขพิเศษมากมาย หรือเข้าไปอยู่ในกลุ่มที่ต้องให้ความช่วยเหลือ เป็นประเทศที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง ซึ่งแท้จริงจีนอาจมีศักยภาพพอที่จะเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว (และยิ่งเพิ่มขีดความน่ากลัวต่อประเทศอื่น ๆ ในฝ่ายโลกเสรีด้วย)
อ.วรศักดิ์ มหัทธโนบล อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อย่างไรก็ตาม นับแต่นั้นมา จีนผลักดันตัวเองอย่างเต็มที่ในเวทีการค้าโลก เพื่อให้ตนมีบทบาทในองค์การการค้าโลก หรือ WTO- World Trade Organization ซึ่งพัฒนามาจากแก็ตต์ เมื่อเป็นเช่นนั้น จีนจึงต้องการความช่วยเหลือ และความร่วมมือจากประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะประเทศในแถบลุ่มน้ำโขง ลุ่มน้ำโขง การพัฒนาเศรษฐกิจที่ยากจะฉุดรั้ง แรกเริ่ม จีนยังไม่เข้ามาร่วมด้วยอย่างเต็มตัวเนื่องจากคงมีร่องรอยความบาดหมางกับเวียดนาม แต่ต่อมาไม่นาน จีนเริ่มผลักดันความต้องการของตนเข้าในเวทีการประชุมมากขึ้นเรื่อย ๆ เช่น การสร้างเขื่อน ที่จีนยืนยันว่าไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในลุ่มน้ำโขง การระเบิดเกาะแก่งในน้ำโขงเพื่อให้เรือขนาดใหญ่สามารถล่องได้ อ.วรศักดิ์ ยังขยายความเพิ่มเติม ถึงสาเหตุว่าเพราะเหตุใด จีนจึงต้องการเส้นทางคมนาคมทางน้ำเป็นอย่างมาก ทั้ง ๆ ที่ประเทศลาว เวียดนาม คัดค้านต่อต้านมาโดยตลอด แม้แต่องค์กรพัฒนาเอกชนไทย คัดค้านการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ในจีน และการระเบิดเกาะแก่งในลุ่มน้ำโขงด้วยว่าจะส่งผลต่อความเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศในลุ่มน้ำโขง ทำลายความหลากหลายทางชีวภาพอย่างมหาศาล “เมื่อจีนกำลังพัฒนา และเติบโตอย่างมาก การพัฒนาถนนภายในประเทศเพื่อการคมนาคมที่สะดวกในการขนย้ายสินค้าได้ดีขึ้น ยังมีข้อจำกัด เพราะในถิ่นชนบทการสร้างถนนเป็นไปอย่างยากลำบาก อีกทั้งต้องการจะขนย้ายสินค้าส่งไปขายยังประเทศเพื่อนบ้าน แต่การลงทุนสร้างถนนต้องใช้เงินจำนวนมาก และรถเที่ยวหนึ่งขนได้อย่างมากแค่ 10 ตัน แต่เรือขนส่งขนาดใหญ่บรรทุกได้เป็น 100 ตันต่อเที่ยว การใช้ระเบิดเพียงไม่เท่าไร ต้นทุนก็ต่ำกว่า และยังสามารถรองรับการขนส่งสินค้าของจีนได้ จีนจึงพยายามจะระเบิดแก่ง” อ.วรศักดิ์ กล่าวคณะกรรมการลุ่มน้ำโขง ที่มีแต่นามไม่มีการดำเนินการอย่างจริงจังแต่อย่างใดในอดีตที่ผ่านมา ถูกรื้อขึ้นมาอีกครั้ง กอปรกับภาวะทางการเมืองในประเทศไทย ที่นำโดยรัฐบาลของนายอานันท์ ปัญญารชุน หนึ่งในชุดรัฐบาลที่ถือว่ามีวิสัยทัศน์ในการบริหารประเทศชุดหนึ่งของไทย จึงเริ่มมีการจัดการประชุมคณะกรรมการลุ่มน้ำโขงขึ้นมาอย่างจริงจัง การพยายามสร้างเขื่อนจำนวนมากมายหลายแห่ง ยังเหมือนนโยบายของไทยในสมัยอดีตเมื่อ 40 กว่าปีที่ผ่านมา ที่มุ่งแต่การพัฒนา ไม่คำนึงถึงผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม อ.วรศักดิ์เห็นว่า การกระทำดังกล่าวของจีนเป็นเพียงการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า แค่ขอให้เรือแล่นได้เท่านั้น และการพยายามสร้างเขื่อนจำนวนมากมายหลายแห่ง ยังเหมือนนโยบายของไทยในสมัยอดีตเมื่อ 40 กว่าปีที่ผ่านมา ที่มุ่งแต่การพัฒนา ไม่คำนึงถึงผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ด้านประเทศลาว ซึ่งเคยคัดค้านการสร้างเขื่อนของจีน เพราะส่งผลให้สายน้ำโขงที่ไหลผ่านประเทศลาว เป็นดังเส้นเลือดหลักทางเศรษฐกิจของลาว มีระดับไม่สม่ำเสมอ แต่ปัจจุบันลาวยอมให้จีนระเบิดแก่งในน้ำโขงแล้ว “ซ้ำร้ายยังด่าว่าเอ็นจีโอไทยว่าโง่เขลา ขัดขวางการพัฒนา” เห็นชัดว่าจีนมีอิทธิพลทางเศรษฐกิจการค้าในลาวสูงมาก ลาวจึงเปลี่ยนท่าทีไปเช่นนี้ “เมื่อก่อน ช่วงประมาณเดือนหก ประเทศลาวจะมีประเพณีแข่งล่องเรือ แต่ตอนนี้ทำไม่ได้แล้ว น้ำลดจนไม่สามารถล่องเรือได้ ในเขมรก็เหมือนกัน เคยมีประเพณีการจับปลาบนบก เพราะในช่วงน้ำโขงขึ้น น้ำจะไหลเข้าท่วมในทะเลสาบโตนเลสาป และท่วมป่าบริเวณรอบ ๆ พอช่วงน้ำลดป่าที่เคยมีน้ำท่วม มีปลาอาศัยอยู่ ก็ไม่มีน้ำเหลือแล้ว เหลือแต่ปลาที่ซ่อนตัวอยู่ตามโพรงไม้ โคนหิน ในโคน จึงเกิดประเพณีการจับปลาบนบก แต่ตอนนี้ไม่มีแล้ว ทุกอย่างเปลี่ยนไปหมด” อ.วรศักดิ์กล่าวซึ่งขณะนี้ คอนผีหลง แก่งขนาดใหญ่ที่สุดในลำน้ำโขงยังไม่ถูกระเบิด เพราะองค์กรภาคประชาชนไทย และองค์กรพัฒนาเอกชนต่าง ๆ กำลังคัดค้านต่อต้านอย่างสุดกำลัง ดูเหมือนจะเป็นอุปสรรคเกือบ ๆ สุดท้ายที่จีนกำลังพยายามกำจัดอยู่บทเรียนจากไทย ข้อตกลงเอฟทีเอไทย-จีน จีนจึงมองไทยในฐานะที่เป็นหุ้นส่วน โดยเฉพาะทางด้านเศรษฐกิจค่อนข้างชัดเจน แต่ว่าเมื่อมาพิจารณาความเป็นหุ้นส่วนนี้ มันคงต้องมีได้มีเสียแต่ไม่เพียงแค่นั้น จีนยังเดินหน้าต่อ มีโครงการจะสร้างเขื่อนจำนวนมากกว่า 10 เขื่อน โดยสร้างเสร็จไปแล้ว 2 เขื่อน คือ เขื่อนมันวาน และเขื่อนด้าเฉาชาน ส่วนอีก 2 เขื่อนกำลังก่อสร้าง คือ เขื่อนเซี่ยวหวาน ซึ่งหากสร้างเสร็จจะเป็นเขื่อนที่สูงที่สุดในโลกเขื่อนหนึ่ง มีความสูงเกือบ 300 เมตร... อนาคตของไทย บนเส้นทางการค้าเสรีหันกลับมามองประเทศไทย อ.วรศักดิ์ กล่าวว่าในอดีตจีนมองไทยเป็นดังประตูที่เปิดเชื่อมโยงไปสู่ประเทศอื่น ๆ เพราะว่าไทยมีเงื่อนไข (ทางการเมือง) ที่ดีกว่าในการสร้างความสัมพันธ์ต่อประเทศเพื่อนบ้านในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มอินโดจีน มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซียซึ่งประเทศต่าง ๆ เหล่านี้แต่แรกเริ่มเดิมทีไม่ค่อยชอบจีนเท่าไรนัก แต่ในปัจจุบัน จีนเปิดความสัมพันธ์กับบรรดาประเทศเหล่านั้นแล้ว สำหรับขณะนี้ จีนจึงมองไทยในฐานะที่เป็นหุ้นส่วน โดยเฉพาะทางด้านเศรษฐกิจค่อนข้างชัดเจน แต่ว่าเมื่อมาพิจารณาความเป็นหุ้นส่วนนี้ มันคงต้องมีได้มีเสีย ทั้งนี้จึงขึ้นอยู่กับการดำเนินนโยบายและการบริหารประเทศ หรือวิสัยทัศน์ของชนชั้นนำไทยในยุคสมัยนี้ จึงนำมาสู่ ประเด็นเรื่องข้อตกลงการค้าเสรี หรือ FTA (Free Trade Agreement) ระหว่างไทย-จีน ในช่วงปีสองปีแรก ไทยอาจยังได้เปรียบดุลการค้าจีนอยู่ แต่ต่อมาไทยก็เสียเปรียบดุลการค้ามาโดยตลอด เหตุผลสำคัญก็คือกฎระเบียบเป็นไปอย่างไม่เสมอภาค เช่น การตรวจสอบสารตกค้างในสินค้าที่นำเข้าไปยังจีน ซึ่งกำลังแก้ไขกันอยู่ “แต่การทำให้เสมอภาค หรือได้ดุลการค้าจีนหรือไม่นั้น คงค่อนข้างยาก เพราะว่าจีนมีสินค้าที่ไทยต้องการมากกว่าที่จีนต้องการสินค้าจากไทย ฉะนั้นในแง่นี้จึงต้องดูให้ดีในข้อตกลงต่าง ๆ ที่ผู้นำไทยทำไปแล้วและกำลังจะทำ ซึ่งเท่าที่ผมเห็นปัจจุบัน การทำข้อตกลงเอฟทีเอนี้เป็นการเอาสินค้าพื้นฐานของไทย เช่น สินค้าทางการเกษตรไปแลกกับผลประโยชน์ของกลุ่มทุน ของคุณทักษิณมากกว่า” อ.วรศักดิ์ กล่าวทิ้งท้าย ฉะนั้น คงต้องติดตาม และจับตามองต่อไปอย่างใกล้ชิด ว่าแนวโน้มทางการพัฒนาของจีนจะดำเนินต่อไปอย่างไร การสร้างเขื่อนขนาดใหญ่จะส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมในประเทศจีน และประเทศเพื่อนบ้านอย่างไร การระเบิดแก่งในน้ำโขงจะสร้างหายนะต่อความหลายหลายทางชีวภาพในแม่น้ำโขงอย่างไร ตลอดจนการค้าเสรีที่ทั้งจีน – ไทย และประเทศต่าง ๆ กำลังมุ่งหน้าเดินหมากอยู่ในเวลานี้ จะส่งผลดีผลร้ายต่อประชาชนในประเทศ หรือเพื่อนร่วมโลก ต่อไปอย่างไร...คงต้องช่วยกันหาคำตอบในปี 2001 จีนเข้าเป็นสมาชิกใน WTO ดำเนินการด้านเศรษฐกิจของตนเองอย่างเต็มกำลังภายใต้ “การค้าเสรี” ระเบิดแก่งไปมากมาย ล่องเรือได้ทั้งปี อีกทั้งรัฐบาลไทย ภายใต้การนำของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ก็ได้ทำข้อตกลงทางการค้าเสรีกับจีน เป็นข้อตกลงแบบทวิภาคี หรือที่นักวิชาการท่านหนึ่งให้ชื่อว่า “นานาสังวาสทางเศรษฐกิจ” ซึ่งตอนนี้นับว่าจีนมีศักยภาพทางเศรษฐกิจที่พร้อมหมดแล้ว กระนั้นการเปิดประเทศของจีน และการทำข้อตกลงเสรีกับประเทศต่าง ๆ รวมถึงประเทศไทยกลับนำมาซึ่งปัญหาต่าง ๆ ตามมา เช่น อาชญากรรมข้ามชาติ ขบวนการค้ายาเสพติดข้ามชาติ โสเภณีข้ามชาติ แรงงานข้ามชาติ และการอพยพย้ายถิ่นของคนภายในประเทศ ด้านปัญหายาเสพติดและโสเภณี ยังนำมาสู่ปัญหาผู้ติดเชื้อเอชไอวีของประชากรจีนเพิ่มสูงขึ้นอีกด้วย แม้ว่าทางการจีนจะพยายามปกปิดตัวเลขที่แท้จริงของผู้ติดเชื้อเอชไอวี เผยแต่ผู้ที่แสดงอาการเป็นโรคเอดส์แล้วเท่านั้น โดยระบุว่าทั้งประเทศมีจำนวนประมาณ 1,500 คน จนอาจถึงหลักหมื่นในขณะที่ การคำนวณขององค์การอนามัยโลก คาดว่าจะมีผู้ติดเชื้อเอชไอวีไม่ต่ำกว่า 200,000 คนทั่วประเทศ จึงน่าตั้งคำถามอย่างยิ่งว่า แท้จริงแล้วการค้าเสรีให้ประโยชน์ หรือให้โทษ-สร้างผลเสียให้จีนมากน้อยอย่างไรกันแน่!
ประวัติกระดาษ                     กระดาษ เป็นวัสดุที่ผลิตขึ้นมาสำหรับการจดบันทึก มีประวัติศาสตร์ยาวนาน เชื่อกันว่ามีการใช้กระดาษครั้งแรกๆ โดยชาวอียิปต์โบราณ และชาวจีนตั้งแต่สมัยโบราณ แต่กระดาษในยุคแรกๆ ล้วนผลิตขึ้นเพื่อการจดบันทึกด้วยกันทั้งสิ้น จึงกล่าวได้ว่าระบบการเขียน คือแรงผลักดันให้เกิดการผลิตกระดาษขึ้นในโลก            กระดาษของชาวอียิปต์โบราณ ผลิตจากหญ้าที่เรียกว่าปาปิรุส (papyrus) และเรียกว่ากระดาษปาปิรุส พบว่ามีการใช้จารึกบทสวดและคำสาบาน บรรจุไว้ในพีระมิดของอียิปต์ นักประวัติศาสตร์เชื่อว่ามีการใช้กระดาษที่ทำจากปาปิรุสมาตั้งแต่ปฐมราชวงศ์ของอียิปต์ (ราว 3000 ปีก่อนคริสตกาล) [1]สำหรับวัสดุใช้เขียนนั้น ในสมัยโบราณมีด้วยกันหลายอย่าง เช่น แผ่นโลหะ หิน ใบลาน เปลือกไม้ ผ้าไหม ฯลฯ ผู้คนสมัยโบราณคงจะใช้วัสดุต่างๆ หลากหลายเพื่อการบันทึก ครั้นเมื่อราว ค.ศ. 105 ชาวจีนชื่อ เป็นคนแรกที่ได้ประดิษฐ์กระดาษจากเศษผ้าฝ้ายผ้าขี้ริ้วเพื่อเป็นวัสดุที่ใช้เขียนแทนผ้าไหมที่มีราคาแพง และหลังจากนั้นได้มีการใช้วิธีผลิตกระดาษเช่นนี้แพร่หลายอย่างรวดเร็ว [2]            ประวัติกระดาษในสมัยโบราณของไทย การศึกษาส่วนมากจะอาศัยการท่องจำต่อ ๆ กันมาในระดับท้องถิ่น และมีบางส่วนที่ได้จดบันทึกไว้เป็นตำราลงบนแผ่นศิลา แผ่นหนัง แผ่นดินเผา ใบลาน เมื่อมีการทำกระดาษก็จดบันทึกลงบนกระดาษ กระดาษในระยะแรก ๆ เป็นกระดาษที่ทำจากเยื่อข่อย เรียกว่า สมุดข่อย กระดาษข่อยในสมัยโบราณมี 2 สี ได้แก่ 1 กระดาษข่อยสีขาว เขียนด้วยสีดำ สีแดง หรือสีทอง 2.กระดาษข่อยสีดำที่ผสมหรือทาด้วยผงถ่านสีดำ เขียนด้วยสีขาวหรือสีทอง สีทองส่วนมากทำจากหอระดานกลีบทอง สีทองที่ทำจากผงทองคำก็มี [3]            จากนั้นเราก็มีกระดาษที่เรียกว่าสมุดไทย ผลิตจากเยื่อไม้ทุบละเอียด ต้มจนเปื่อย ใส่แป้งเพื่อให้เนื้อกระดาษเหนียว แล้วนำไปกรองในกระบะเล็กๆ ทิ้งไว้จนแห้ง แล้วลอกออกมาเป็นแผ่น พับทบไปมาจนตลอดความยาว จึงได้เป็นเล่มสมุด เรียกว่า สมุดไทยขาวหากต้องการ สมุดไทยดำ ก็จะผสมผงถ่านในขั้นตอนการผลิตในทางภาคเหนือของไทย มีการผลิตกระดาษด้วยวิธีการคล้ายคลึงกัน เรียกว่า กระดาษสาเมื่อนำมาทำเป็นสมุดใช้เขียน เรียกว่า ปั๊บสาคำว่ากระดาษ ในภาษาไทยไม่ปรากฏที่มาอย่างแน่ชัด มีผู้สันนิษฐานว่าน่าจะทับศัพท์มาจากภาษาโปรตุเกสว่า แต่ความจริงแล้ว คำว่ากระดาษ ในภาษาโปรตุเกส ใช้ว่า papel ส่วนที่ใกล้เคียงภาษาไทยมากที่สุด น่าจะเป็นคำศัพท์ในหมายถึง กระดาษ เช่นกัน [1] ประโยชน์กระดาษในตำราการแพทย์ไทย                  ตำราสมัยโบราณนิยมทำเป็นรูปสี่เหลี่ยมยาว ๆ ตามรูปของใบลาน แล้วเจาะร้อยรูด้วยเชือกมัดรวมกันเป็นเล่มเรียกว่า ผูก ภาษาที่ใช้ส่วนมาก จะใช้ภาษาตามพระไตรปิฎก หรือพระคัมภีร์ทางศาสนา เช่น ภาษาบาลีหรือสันสกฤต ภาษาขอม หรือภาษาลานนา ส่วนตัวอักษร จะใช้ ภาษาบาลีหรือสันสกฤต ที่พื้นบ้านเรียกว่า ตัวธรรม หรือใช้อักษรดั่งเดิมของท้องถิ่นนั้น ๆ เช่น ตัวอักษรขอม อักษรลานนา อักษรไทยสมัยสุโขทัย หรือสมัยอยุธยา เป็นต้น ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้ทรงพระราชดำริว่า พระคัมภีร์แพทย์ต่าง ๆ นั้น ใช้สำหรับบำบัดโรคภัยไข้เจ็บเป็นประโยชน์แก่มหาชนเป็นอันมาก ทั้งมีพระตำหรับหลวงเก่า ๆ อยู่มาก จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประชุมแพทย์หลวง นำพระคัมภีร์แพทย์ในที่ต่าง ๆ มาทำการตรวจสอบ และได้ทรงแต่งตั้งกรรมการตรวจสอบพระคัมภีร์แพทย์ แล้วจดบันทึกไว้ในหอสมุดหลวงเมื่อได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งโรงเรียนราชแพทยาลัยขึ้นใน พ.ศ. ได้พิมพ์ตำราแพทย์สำหรับโรงเรียน เล่มแรกชื่อว่า แพทยศาสตรสงเคราะห์ เมื่อ พ.ศ. 2432 พิมพ์เป็นตอน ๆ เป็นตำรารวมทั้งวิชาแพทย์แผนโบราณและวิชาแพทย์แผนตะวันตก แต่ออกมาได้เพียง เล่มเล็ก ๆ ต่อมา พระยาพิศณุประศาสตร์เวช ได้กราบทูลขอประทานอนุญาตพิมพ์ คัมภีร์ฉบับหลวง ต่อพระเจ้าน้องยาเธอกรมหลวงดำรงราชานุภาพ เป็นครั้งแรกเมื่อ วันที่ 1 มีนาคม 2450 ให้ชื่อตำราว่า แพทยศาสตรสงเคราะห์ ฉบับหลวง มีสองเล่มต่อมาอีก 1 ปี ท่านได้จัดพิมพ์ตำราแพทยศาสตร์ฉบับสังเขป ซึ่งท่านได้เรียบเรียงไว้เป็นหลักการสอนในโรงเรียนแพทย์ ชื่อว่า เวชศึกษา หรือแพทยศาสตร์สังเขป แบ่งเป็น 3 เล่ม พิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2451 เป็นตำราชุดสำคัญในยุคนี้ รวม เล่ม คือแพทยศาสตรสงเคราะห์ ฉบับหลวง 2 เล่ม เวชศึกษา หรือแพทยศาสตร์สังเขป 3 เล่ม [3] เอกสารอ้างอิง 1 วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. ม.ป.ป.. กระดาษ. กระดาษ-วิกิพีเดีย. แหล่งที่มา: http://th.wikipedia.org/wikihttp://www.samunpri.com/modules.php?name=News&file=article&sid=240&mode=thread&order=0&thold=0 , 24 กรกฎาคม 2550.
 

กระดาษ 

นับตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์มนุษย์ได้มีความต้องการที่จะบันทึกเหตุการณ์ชีวิต  และจินตนาการของตนเพื่อแสดงความคิดเห็น และเพื่อสะสมความรู้ให้แก่อนุชนรุ่นหลัง  แต่เมื่อไม่มีวัสดุใดๆ  ที่จะสนองตอบความประสงค์เช่นนั้นได้  มนุษย์เมื่อ 30,000  ปีก่อน  จึงได้วาดภาพสัตว์ลงบนผนังถ้ำ  คน  Sumerian  เมื่อ 5,200  ปีก่อนเขียนภาพอักษรลงบนดินเหนียว  คนจีนโบราณแกะสลักข้อความบนกระดองเต่าและเขียนภาพบนผ้าไหม  คนกรีกในอดีตใช้วิธีเขียนข้อความลงบนหนังแกะ แพะ หรือวัว  ชนเผ่ามายาในอเมริกากลางใช้วิธีวาดภาพลงบนเปลือกไม้  คนโรมัน  และคนอียิปต์  เมื่อ 4,500  ปีมาแล้ว  ใช้ใบของต้น  papyrus  ที่มีขึ้นมากมายตามสองฝั่งแม่น้ำ  Nile  สำหรับเขียนภาพและภาษา  เป็นต้น  เหล่านี้เป็นวิธีที่มนุษย์โบราณใช้ในการบันทึกความนึกคิดและความทรงจำ
แต่ปัจจุบัน  มนุษย์เราใช้กระดาษในการดำรงชีวิตมาก  และบ่อยจนอาจจะถือได้ว่า  กระดาษเป็นปัจจัยหนึ่งของชีวิตและอารยธรรม เช่น Shakespeare  เขียนบทประพันธ์ลงบนกระดาษ  Beethoven  เขียน ซิมโฟนีลงบนกระดาษ Picasso  วาดภาพบนกระดาษ และ Einstein  ก็ใช้กระดาษในการคิดทฤษฎีสัมพัทธภาพให้โลกรู้และเข้าใจ  ความคิดสร้างสรรค์ที่อัจฉริยะบุคคลเหล่านี้ได้บันทึกลงบนกระดาษได้เปลี่ยนโฉม  และทิศทางความเป็นอารยะของมนุษย์มากถึงขนาด  Martin  Luther  ได้เคยกล่าวว่า  หากคนทุกคนในโลกมีคัมภีร์ไบเบิล โลกก็ไม่มีความจำเป็นจะต้องมีสันตะปาปาอีกต่อไป
แต่ถ้าหากเราถามใครสักคนว่า  ใครเป็นผู้ประดิษฐ์กระดาษเป็นคนแรกของโลก  คนส่วนมากจะตอบไม่ได้  ประวัติศาสตร์ได้บันทึกว่า  ชาวจีนคนหนึ่งชื่อ  Ts' ai Lun  ผู้ทำงานประจำราชสำนักของจักรพรรดิ์  Ho Ti  เป็นบุคคลแรกที่รู้จักทำกระดาษในปี พ.. 648  ทำให้องค์จักรพรรดิ์ทรงพอพระทัยมากจึงได้ทรงพระราชทานเงินทอง  และทรัพย์สมบัติให้ Ts' ai Lun มากมาย  แต่ Ts' ai Lun  เหิมเกริม  คิดจะล้มราชบัลลังก์  ดังนั้นเมื่อเขาถูกจับจึงถูกบังคับให้กินยาพิษตาย
กระดาษที่ Ts' ai Lun  ทำขึ้นมาได้เป็นที่นิยมใช้กันมากในประเทศจีน  เช่น  ใช้ทำเป็นธนบัตร  และใช้ในประเพณีเผากระดาษเวลามีงานศพ  เป็นต้น  ถึงแม้เทคโนโลยีการทำกระดาษจะอุบัติในจีนในสมัยพุทธศตวรรษที่ ก็ตาม  แต่ชนชาติอื่นก็มิได้ล่วงรู้เทคนิคการทำเลย  เพราะสังคมจีนโบราณเป็นสังคมปิดที่คนจีนไม่ติดต่อกับต่างชาติ  แต่เมื่อประเทศจีนเจริญก้าวหน้าและผู้คนได้ทำมาค้าขายกับประเทศใกล้เคียง  คนเกาหลีและญี่ปุ่นจึงได้รู้วิธีทำกระดาษในพุทธศตวรรษที่ และ ตามลำดับ
ในปี พ..1294  ได้เกิดสงครามระหว่างจีนกับอาหรับ  เมื่อนักทำกระดาษของจีนหลายคนถูกจับเป็นเชลย  เทคโนโลยีการทำกระดาษของจีนจึงได้แพร่หลายไปในโลกอาหรับ  และคนยุโรปก็ได้เรียนวิธีทำกระดาษจากชาวอาหรับอีกทอดหนึ่ง  เมื่อ  J. Gutenberg  ประดิษฐ์เครื่องพิมพ์ในปี พ.. 1995  กระดาษได้เป็นวัสดุหลักที่ใช้เขียนในโลกตะวันตก  และเมื่อคนยุโรปรู้วิธีทำกระดาษและมีวิธีการพิมพ์โดยเครื่องจักร  อารยธรรมของยุโรปก็เริ่มมีวิวัฒนาการอย่างรวดเร็ว  จนล้ำหน้าจีนไปทันที  เพราะเครื่องพิมพ์ของ  Gutenberg  ได้ทำให้คนจำนวนมากสามารถรับข่าวสารได้พร้อมๆ  กัน  ในขณะที่จีนยังคงใช้วิธีพิมพ์ด้วยวิธีธรรมดา  ทำให้ความรู้และข้อมูลต่างๆ  เดินทางช้า  ดังนั้นถึงแม้คนยุโรปจะรู้จักทำกระดาษหลังจีนร่วม 1,000  ปีก็ตาม  แต่การมีเทคโนโลยีการพิมพ์ที่ทันสมัยทำให้วิทยาศาสตร์ของยุโรปก้าวทันจีนและล้ำหน้าไปในที่สุด
ปัจจุบันโลกผลิตกระดาษประมาณปีละ  300  ล้านตัน  คนอเมริกันคนหนึ่งๆ  ใช้กระดาษเฉลี่ยปีละ 330  กิโลกรัม  ในรูปของหนังสือพิมพ์วัสดุห่อของกระดาษโฆษณา ฯลฯ  คนญี่ปุ่นนิยมใช้กระดาษพับรูปสัตว์ (origami)  ทำว่าว  ร่ม  และม่านบังตา  เป็นต้น
ถึงแม้ประวัติความเป็นมาของกระดาษจะยาวนานเกือบ 2,000  ปีก็ตาม  แต่องค์ประกอบหลักของกระดาษก็ยังคงเหมือนเดิมคือ  กระดาษต้องมีน้ำและใยเซลลูโลส  และพันธะเคมีระหว่างโมเลกุลทั้งสองชนิดนี้เองทำให้กระดาษแข็ง
แต่กระดาษก็เช่นเดียวกับวัสดุอื่นๆ  คือมีการสลาย  เพราะเมื่อเวลาผ่านไปนาน  เนื้อกระดาษที่เคยมีสีขาว  หรือหมึกกระดาษที่เคยมีสีดำจะกลายสภาพ  คือ เปราะ  หัก  และหมึกจะขาดความคมชัด  ดังนั้นนักอนุรักษ์กระดาษจึงต้องคิดหาหนทางเก็บกระดาษที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ ให้คงสภาพดีตลอดไป
เช่น  หอสมุดรัฐสภาของสหรัฐอเมริกาใช้วิธีบรรจุหนังสือล้ำค่าลงในกล่องพิเศษที่ได้รับการปกป้องมิให้มีความชื้น  หรือฝุ่นละอองมารบกวน  ส่วนกรณีเอกสารที่ถูกตีพิมพ์ในสมัยสงครามกลางเมืองของสหรัฐฯ  ซึ่งได้ถูกมอดไชเป็นรูเล็กก็ได้รับการซ่อม  โดยนักอนุรักษ์ใช้วิธีเติมเนื้อกระดาษชนิดเดียวกันลงในรูเหล่านั้นให้กลมกลืน
เทคโนโลยีอวกาศก็ได้ก้าวเข้ามามีบทบาทในการอนุรักษ์กระดาษเช่นกัน  โดยนักอนุรักษ์ใช้กล้องถ่ายภาพที่ใช้ในดาวเทียมจารกรรม  ถ่ายภาพตัวอักษรที่ปรากฏบนกระดาษ  การมีประสิทธิภาพในการเห็นสูง  จะทำให้กล้องสามารถเห็นความเข้มของหมึกได้อย่างชัดเจน  ดังนั้นเมื่อความเข้มหมึกเปลี่ยนแปลง  กล้องก็จะตรวจพบ  และนี่คือสัญญาณชี้บอกให้นักอนุรักษ์เริ่มหยิบแปรง  พู่กัน  มาเติมแต่งให้คงสภาพเดิม
ถึงแม้กระดาษจะมีประโยชน์สักปานใดก็ตาม  แต่กระดาษก็เช่นเดียวกับสิ่งประดิษฐ์อื่นๆ  คือมีโทษเช่นกัน  คือ  ในการทำกระดาษเราต้องการตัดต้นไม้  เช่น  ไผ่  เพื่อเอาเยื่อมาทำกระดาษ  หมึกกระดาษก็มีราคาแพง  อุตสาหกรรมกระดาษต้องใช้น้ำมากและน้ำที่ถูกปล่อยออกมาจากโรงงานทำกระดาษเป็นน้ำที่มีมลพิษและปัญหาการจำกัดกระดาษที่ใช้แล้วคือปัญหาขยะ  มาบัดนี้ปี 2000  โลกกำลังคิดจะใช้สื่อใหม่แทนกระดาษ  ถ้าสื่อใหม่ได้รับความนิยมจากสังคม  นั่นก็หมายความว่ายุคการใช้กระดาษก็จะถึงกาลอวสาน  สิ่งนั้นคือกระดาษอิเล็กทรอนิกส์  และหมึกอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งจะใช้ควบคู่กับคอมพิวเตอร์ในการแสดงภาพตัวอักษร  และภาพถ่ายต่างๆ
กระดาษอิเล็กทรอนิกส์นี้จะบาง  ทำให้สามารถทำให้นำติดตัวไปไหนมาไหนได้  และก็อ่านง่ายเช่นเดียวกับกระดาษธรรมดาเพราะเพียงแต่เปิดสวิทช์  ผู้อ่านก็จะอ่านข้อมูลในกระดาษได้ทันที  คุณสมบัติที่ประเสริฐข้อหนึ่งของกระดาษอิเล็กทรอนิกส์ก็คือ  ภาพ  และตัวอักษรที่ปรากฏบนกระดาษจะปรากฏอยู่ได้นาน  โดยไม่ต้องใช้พลังงานไฟฟ้าจากที่ใดมาในการอนุรักษ์เลย
 ขณะนี้ก็ได้มีการนำกระดาษอิเล็กทรอนิกส์  มาใช้ตามร้านค้า  ร้านซูเปอร์มาเก็ตสนามบิน  และที่สาธารณะอื่นๆ  แล้ว  และอีก 7 ปีนับจากนี้ไป  เมื่อเทคโนโลยีการใช้สีหมึกอิเล็กทรอนิกส์ก้าวหน้าขึ้น จอคอมพิวเตอร์หน้าปัทม์นาฬิกา  และเครื่องคิดเลขต่างๆ  ก็จะใช้กระดาษอิเล็กทรอนิกส์แทน  และอีก 20 ปีข้างหน้า  ผู้เชี่ยวชาญด้านสารสนเทศต่างก็คาดคะเนว่า  หนังสือจำนวนมากมายที่มีในห้องสมุดจะถูกแทนที่ด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เพียง 1 เล่ม  ได้อย่างสบายๆ
จากการที่เราสามารถอ่านกระดาษอิเล็กทรอนิกส์ได้ง่าย  และสามารถนำกระดาษที่ข้อมูลมากนี้ติดตัวไปไหนมาไหนได้สะดวก  อีกทั้งสามารถนำมาอ่านได้  100  ล้านครั้ง กระดาษอิเล็กทรอนิกส์ก็ไม่สลาย  คือ  เป็นคราบเหลืองเช่นกระดาษทั่วไป  เพราะสีอิเล็กทรอนิกส์ที่นำมาใช้ทำด้วยอนุภาคกลมเล็กที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.01 มิลลิเมตรจำนวนมากมาย  โดยอนุภาคถูกบรรจุอยู่ในแคปซูล (capsule)  ขนาดใหญ่กว่า 40  เท่าตัว  และครึ่งหนึ่งของตัวอนุภาคถูกทาด้วยสารประกอบ  titanium  dioxin  ทำให้มีสีขาว  และอีกครึ่งหนึ่งมีสีดำ  อนุภาคส่วนที่มี titanium  dioxin ถูกทำมีประจุไฟฟ้าลบ  ดังนั้นเวลาเราเอาขั้วไฟฟ้าขนาบบน capsule โดยให้บางตำแหน่งเป็นขั้วบวก  บางตำแหน่งเป็นขั้วลบ  บริเวณเป็นบวกก็จะดูดประจุลบบนเม็ดอนุภาคบริเวณที่เป็นขั้วลบก็จะผลักประจุลบบนอนุภาค  มีผลทำให้อนุภาคหมุนตัว  กลับลงล่าง  หันส่วนที่เป็นดำขึ้น  ข้างบนแทนทันที  ทั้งนี้โดยมีคอมพิวเตอร์เป็นตัวกำหนดบริเวณขาวดำ  ทุกบริเวณบนกระดาษอิเล็กทรอนิกส์
ปัจจุบันราคาของกระดาษชนิดนี้ประมาณตารางเมตรละ 12,000 บาท  และเทคโนโลยีใหม่ที่จะใช้ในการทำกระดาษนี้  คือ pointer ขนาดเท่าดินสอ  ที่ภายในมี  memory  ดังนั้นเวลาเราเคลื่อน   pointer  ไปบนผิวกระดาษอิเล็กทรอนิกส์  การสัมผัสทางไฟฟ้าระหว่าง pointer  กับกระดาษจะทำให้ข้อมูลจาก pointer  ถูกถ่ายทอดลงสู่กระดาษได้ทันที
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่ว่านี้หน้าเดิมสามารถบรรจุข้อมูลแทนหนังสือธรรมดาได้ 100  เล่ม  และในการเปิดอ่านหรือคนก็สามารถอ่านได้เร็วถึง 20  หน้า/วินาที (ถ้าอ่านทัน) ราคาซิครับที่เป็นปัญหา โลกของคนรวยในอนาคตคงเป็นโลกกระดาษอิเล็กทรอนิกส์  โลกของคนจนก็คงจะใช้กระดาษธรรมดาเหมือนเดิมอีกนาน
ประเทศจีน ผลิตกระดาษ และมีระบบการผลิตที่ทันสมัย ทันต่อการพัฒนาในระดับโลก
ดร.สมัย เหมมั่น พาชมโรงงานกระดาษที่ทันสมัยที่สุด มณฑล หวนนาน ประเทศจีน โรงงานใหญ่ที่สุดของโลก
สภาวะกระดาษโลก สำนักข่าวเศรษฐกิจ : ตลาดกระดาษเอเชียดูจะมีผลกระทบอย่างหนักจากการขาดแคลนเยื่อของประเทศชิลี
โดย Sandy Lu นักเศรษฐศาสตร์กระดาษเอเชีย, RISI    ได้ให้ความเห็นว่า
“ไม่ได้เป็นเรื่องประหลาดในสำหรับผลกระทบจากแผ่นดินไหวในประเทศชิลีที่ทำให้ตลาดเยื่อกระดาษของโลกจะเกิดการฝืดเคืองปริมาณเยื่อกระดาษ และทำให้ราคาเยื่อกระดาษสูงขึ้นทั่วโลก ทั้งนี้เพราะชิลีมีกำลังการผลิตเยื่อในตลาดอยู่ถึง 8% ของปริมาณทั้งหมดของโลก RISI ประมาณการไว้ขึ้นต่ำที่ 3.75ล้านตัน จะหดหายไปอันเนื่องมาจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวนี้ จากปริมาณการผลิตทั้งปีของประเทศ 4.8ล้านตัน”
จนกระทั่งวันนี้ผู้ผลิตเยื่อรายใหญ่ของชิลี Arauco และ CMPC ยังไม่มีการแจ้งวันที่ที่จะกลับมาเริ่มผลิตเยื่อของโรงงาน รวมถึงการขนส่งเยื่อทางเรือก็ยังต้องถูกเลื่อนไปเนื่องจากความเสียหายของท่าเรือต่าง ๆ ในชิลี RISI ประมาณราคา BHK เยื่อสั้นจะพุ่งสูงขึ้นมากกว่าUSD100/MT ในไตรมาสที่ 2 จากระดับราคาในไตรมาสที่ 1 ในขณะที่ราคาของ BSK เยื่อใยยาวจะขึ้นอย่างต่ำ USD60/MT ซึ่งเป็นผลเนื่องมาจากกรณีที่เกิดเหตุการณ์”ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้” เช่น ความตื่นตระหนกของการหดตัวของปริมาณเยื่อในตลาด เป็นต้น และยังมีความเป็นไปได้ว่าราคาเยื่อบางชนิดอาจพุ่งสูงขึ้นมากกว่า USD1,000/MT ซึ่งเป็นราคาสูงสุดเมื่อปี 2538
ในด้านของกระดาษนั้นชัดเจนว่าการขึ้นราคาของเยื่อกระดาษส่งผลกระทบโดยตรงกับต้นทุนการผลิต โดยเฉพาะผู้ผลิตของเอเชียที่ไม่ได้เป็นผู้ผลิตประเภทครบวงจร (คือไม่ได้เป็นผู้ผลิตเยื่อด้วย)
ผู้ผลิตกระดาษอาร์ตรายใหญ่ของเอเชียจะได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวในประเทศชิลี
จีนและเกาหลีใต้เป็นผู้ผลิตและส่งออกรายใหญ่ในภูมิภาคเอเชีย โดยมีกำลังการผลิตรวมสำหรับส่งออกอยู่ที่ 2.26 ล้านตันในปี 2552 (จีนมีส่วนแบ่งอยู่ที่ประมาณ 55%แลเกาหลีใต้อยู่ที่ 45% ) จากตารางข้างล่างนี้แสดงปริมาณการผลิตกระดาษและที่มาของเยื่อสำหรับผู้ผลิตหลักของทั้ง 2 ประเทศ ซึ่งสรุปออกมาได้ว่าผู้ผลิตกระดาษอาร์ตส่วนใหญ่เป็นโรงงานประเภทที่เป็นการผลิตแบบปลายน้ำ หรือมีกระบวนการผลิตแบบไม่เต็มวงจร (partial integrated) ส่งผลสะท้อนถึงความจริงที่ว่า โรงงานเหล่านี้ อาศัยพึ่งพาและขึ้นการตลาดเยื่อของโลกอย่างมาก
เมื่อพิจารณาถึงข้อมูลความพึ่งพาของผู้ผลิตกระดาษอาร์ตในเอเชียต่อเยื่อกระดาษชิลี ข้อมูลจากศุลกากรแสดงให้เห็นถึงปริมาณการนำเข้าเยื่อกระดาษใยสั้น คิดเป็น 11% ของปริมาณการนำเข้าเยื่อใยสั้นของจีนในปี 2552 ในขณะที่การนำเข้าของเกาหลีอยู่ที่ 20% เนื่องมาจากข้อตกลงเขตการค้าเสรีระหว่างเกาหลีใต้และชิลี ที่ให้ผู้ผลิตของเกาหลีใต้ได้รับผลประโยชน์จากการนำเข้าเยื่อจากชิลีมากขึ้น สำหรับญี่ปุ่น เยื่อใยสั้นจากชิลีมีปริมาณการนำเข้าเป็นสัดส่วนเพียง 6% แต่ก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน เนื่องมาจากผู้จำหน่ายเยื่อรายอื่น ๆ ก็มีการปรับราคาสูงขึ้นตาม ราคาตลาดไปด้วย ยิ่งไปกว่านั้นญี่ปุ่นยังเป็นผู้นำเข้าเศษไม้(สำหรับการผลิตเยื่อ)รายใหญ่จากชิลีและการขนส่งเพื่อการส่งอกของชิลีได้มีความเสียหายอย่างใหญ่หลวง
แต่กระนั้นผู้ผลิตกระดาอาร์ตของเกาหลีใต้และจีนก็ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากผลที่ตามมาของเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งนี้ และผู้ผลิตเหล่านั้นก็จะต้องปรับขึ้นราคากระดาษเพราะความขาดแคลนและราคาเยื่อที่สูงขึ้น
ผู้ผลิตของเกาหลีใต้จะปรับขึ้นราคาของกระดาษอาร์ตต่อเนื่องมาจากความกดดันของต้นทุนการผลิต และความได้เปรียบในการปรับสมดุลอุปสงค์อุปทานของกระดาษ
    ความต้องการของกระดาษพิมพ์และเขียนในเกาหลีใต้ได้เพิ่มขึ้นถึง 8% ในไตรมาสที่ 4 เทียบกับไตรมาสก่อนหน้าและปรับตัวขึ้นถึง 25% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ประกอบกับมีการเร่งการส่งออกกระดาษอาร์ตในเดือนแรกของปี 2553 คือ เพิ่มขึ้น 5% (4,000 ตัน) เมื่อเทียบกับปริมาณส่งออกรายเดือนโดยเฉลี่ยของไตรมาส 4 ของปี 2552 และได้กระโดดเพิ่มขึ้นอีกถึง 25% (หรือ 13,000ตัน) เทียบกับเดือนมกราคา 2553 ยิ่งไปกว่านั้นการสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นของสหรัฐอเมริกาอันเนื่องมาจากการมาตรการของสหรัฐในการต่อต้านการตั้งกำแพงภาษีในการนำเข้ากระดาษอาร์ตจากจีนและอินโดนีเซีย
จากเหตุการณ์ต่าง ๆ ทั้งหมดนี้น่าจะมั่นใจได้ว่าสต๊อกของผู้ผลิตกระดาษอาร์ตจะถูกดึงออกจนเกือบหมด อีกทั้งเกาหลีใต้ซึ่งไม่มีเยื่อที่ไม่ได้มาจากไม้เป็นตัวทดแทนเยื่อจากไม้ธรรมชาติ ก็จะเกิดปัญหาที่จะต้องเลือกว่าจะขึ้นราคากระดาษในเร็ววันนี้ หรือปิดเครื่องผลิตเนื่องจากการขาดแคลนเยื่อ เพื่อป้องกันปัญหาทางด้านการเงิน
ผู้ผลิตจีนจะมีการปรับขึ้นราคาส่งออกกระดาษอาร์ตแต่การปรับอย่างเร่งด่วนนี้จะมีการปรับขึ้นน้อยกว่าราคาของผู้ผลิตเกาหลีใต้ ทั้งนี้ก็เนื่องมาจากมาตรการ CVC/ADD ของสหรัฐและมาตรการที่คล้ายกันของสหภาพยุโรปซึ่งต่อต้านการส่งออกกระดาษอาร์ตของจีน รวมทั้งมาตรการอื่น ๆ ที่จะตามมาอีก 2 มาตรการ (รวบกับกำลังการผลิตรวมของกระดาอาร์ต 1.45 ล้านตัน) จะส่งผลต่อความสมดุลของตลาดในระยะสั้นนี้ ยิ่งไปกว่านั้นปริมาณเยื่อที่ไม่ได้มาจากไม้ของจีนมีความได้เปรียบกว่าเกาหลีใต้ ผู้ผลิตรายหนึ่งของจีนได้เปิดตัวกระดาษแบบใหม่ ซึ่งมีปริมาณเอฟอกใหม่ ในสัดส่วนที่มากกว่า 40% และแนวโน้มที่จะขยับราคาขึ้นตามตลาดเยื่อด้วย
    อย่างไรก็ดีเราเชื่อว่าผู้ผลิตส่วนใหญ่ของจีนจะปรับราคากระดาษอาร์ตขึ้นอย่างแน่นอน หลังจากเหตะการณ์แผ่นดินไหวในชิลีนี้ โดยมีปัจจัยหลายอย่างที่ส่งเสริมความคิดนี้ เช่น รายงานของ Arauco ชี้ว่าราคาเยื่อใยยาว ได้ขยับสูงขึ้น 350 – 400 หยวน/ตัน ในช่วง 3-4 วันที่ผ่านมา แม้แต่ที่ราคานี้ก็เป็นการยากที่จะหาเยื่อในตลาดได้ เพราะผู้ค้าเยื่อก็ยังจะไม่ยอมปล่อยเยื่อออกสู่ตลาดในช่วงที่มีการคาดการณ์ว่าราคาจะปรับตัวสูงขึ้นอีก ทำให้เกิดการเก็งกำไรราคาเยื่อ และกักตุนเยื่อไว้ ทำให้ปริมาณเยื่อในตลาดหายไปอีก ซึ่งผู้ค้าเยื่อรู้ดีว่าหลังจากนี้ตนก็จะต้องซื้อเยื่อเข้ามาในราคาที่แพงขึ้น ซึ่งยากที่จะแข่งขันกับผู้ซื้อจากยุโรป หรือไม่ก็ไม่มีเยื่อเหลือเพียงพอให้ซื้อ
    ประการสุดท้าย งานเวิลด์เอ็กซ์โปที่เมืองเซี่ยงไฮ้ ยิ่งเป็นปัจจัยส่งเสริมให้ความต้องการกระดาษในจีนเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งราคากระดาษอาร์ตในประเทศเป็นเงินหยวนจะขึ้นถึง 7,300 หยวน ในเดือนมีนาคม จากที่เคยต่ำสุด 5,200 หยวนเมื่อต้นปี 2552 ส่งสัญญาณว่าเป็นการปรับตัวที่ดีของตลาดภายในของจีน ราคาส่งออกกระดาษอาร์ตเพิ่มขึ้นเพียง USD200 ในช่วงเดียวกันนี้
      สำหรับผู้ผลิตกระดาษปอนด์รายใหญ่ในอินโดนีเซีย มีความเป็นไปได้ที่ผู้ผลิตจะเลือกที่จะลดกำลังการผลิตเพื่อผลักดันราคากระดาษทุกชนิดปรับขึ้นให้หมด และในขณะเดียวกันผู้ผลิตก็สามารถขายเยื่อได้ในอัตราส่วนกำไรที่มากขึ้นในตลาดเยื่อ และมีเงินสดหมุนเวียนเร็วกว่า อันเนื่องมาจากเหตุผลของต้นทุนเยื่อสูงขึ้น ราคากระดาษอาร์ตและปอนด์ในตลาดเอเชีย มีแนวโน้มอาจจะทะลุราคา USD1,000/MT ได้ในไตรมาสที่ 2 อย่างไรก็ดีกุญแจสำคัญก็อยู่ที่ผู้ใช้กระดาษปลายทางว่ามีความต้องการกระดาษมากแค่ไหน ความสามารถในการซื้อจะเป็นแนวต้านราคาที่สูงขึ้น หรือผู้ซื้อจะเริ่มหยุดการสั่งซื้อกันแน่..     กระบวนการผลิตกระดาษ       กระบวนการผลิตกระดาษในปัจจุบันเป็นอุตสาหกรรมใช้เครื่องจักรขนาดใหญ่มีผลผลิตมากและมีประสิทธิภาพการผลิตสูง แต่ก็ยังมีโรงงานขนาดกลางและย่อมที่ผลิตกระดาษเฉพาะอย่าง  กระบวนการผลิตกระดาษในเชิงอุตสาหกรรมแบ่งเป็น 4 ขั้นตอนคือ     • ขั้นตอนการทำเยื่อกระดาษ     • ขั้นตอนการเตรียมน้ำเยื่อ     • ขั้นตอนการทำแผ่น     • ขั้นตอนการตกแต่งผิว    ขั้นตอนการทำเยื่อกระดาษ (Pulping)     การทำเยื่อกระดาษเริ่มจากการนำไม้มาตัดเป็นท่อน ๆ ลอกเปลือกไม้ออก ทำความสะอาด แล้วสับเป็นชิ้นเล็ก ๆ สามารถทำเยื่อกระดาษได้ 3 ประเภทคือ เยื่อเชิงกลหรือเยื่อบด (Mechanical Pulp) เป็นเยื่อที่ผลิตโดยใช้พลังงานกล โดยนำชิ้นไม้ไปบดด้วยหินบดหรือจานบด เยื่อที่ได้จะมีลักษณะไม่สมบูรณ์ สั้นและขาดเป็นท่อน ทำให้กระดาษที่ได้มาไม่แข็งแรง อีกทั้งยังมีสารลิกนินคงเหลืออยู่ซึ่งเป็นสารที่ทำให้กระดาษเปลี่ยนเป็นสีเหลืองเมื่อได้รับแสง กระดาษที่ได้จากกรรมวิธีนี้มีความทึบสูงดูดความชื้นได้ดี มีราคาถูก แต่ไม่แข็งแรงและดูเก่าเร็ว มักจะนำไปใช้ทำสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือพิมพ์ เพื่อพัฒนาเยื่อบดให้ดีขึ้น ได้มีการนำชิ้นไม้ไปอบด้วยความร้อนก่อนนำไปบด เพื่อให้เยื่อไม้กับลิกนินแยกออกจากกันได้ง่าย คุณภาพกระดาษที่ได้ก็จะดีขึ้น เยื่อเคมี (Chemical Pulp) เป็นเยื่อที่ผลิตโดยใช้สารเคมีและความร้อนในการแยกเยื่อและขจัดลิกนิน เยื่อกระดาษที่ได้จากวิธีการนี้มีความสมบูรณ์กว่าเยื่อบด แต่ได้ผลผลิตที่ต่ำกว่า ราคาก็สูงกว่า เยื่อเคมีที่ได้จากการใช้สารซัลเฟต ซึ่งเรียกว่าเยื่อซัลเฟต (Sulfate Pulp) จะเป็นเยื่อที่เหนียวมีสีคล้ำอมน้ำตาล มักจะนำไปใช้ทำกระดาษเหนียว (Kraft Paper) สำหรับทำถุงและบรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ ส่วนเยื่อเคมีที่ได้จากการใช้สารซัลไฟต์ ซึ่งเรียกว่าเยื่อซัลไฟต์ (Sulfite Pulp) จะมีความแข็งแรงน้อยกว่าเยื่อซัลเฟต นิยมนำไปฟอกให้ขาวเพื่อใช้เป็นกระดาษสำหรับเขียนและกระดาษเพื่อใช้ในงานพิมพ์ เยื่อกึ่งเคมี (Semi-chemical Pulp) เป็นเยื่อที่ผลิตโดยนำไม้ชิ้นมาต้มในสารเคมีเพื่อให้เยื่อแยกออกจากกันง่ายขึ้นและเพื่อละลายลิกนิน เสร็จแล้วจึงนำมาบดด้วยจานบด กรรมวิธีนี้ทำให้ได้เยื่อที่มีคุณภาพดีกว่าเยื่อบดและได้ผลผลิตมากกว่าเยื่อเคมี เยื่อกึ่งเคมีมักนำไปใช้ในการผลิตกระดาษสำหรับบรรจุภัณฑ์เป็นส่วนใหญ่     นอกจากนี้ยังมีการทำเยื่อจากกระดาษใช้แล้ว โดยนำมาปั่นเพื่อให้เยื่อกระจายออกจากกันและมีการผ่านขบวนการขจัดสิ่งที่ติดกระดาษมาด้วยเช่น หมึก กาว ฯลฯ เยื่อที่ได้นี้จะไม่สมบูรณ์ สั้น เส้นใยขาด จึงไม่มีความแข็งแรง การผลิตกระดาษจึงมักนำเยื่อบริสุทธิ์มาผสม เนื่องจากมีสารปนเปื้อนตกค้างไม่สมารถกำจัดได้หมด เยื่อจากกระดาษเก่ามักนำไปใช้ทำกระดาษหนา กระดาษกล่อง และมักจะมีสีคล้ำ     เยื่อที่ผ่านขั้นตอนการผลิตข้างต้น  หากต้องการนำไปผลิตกระดาษที่มีเนื้อสีขาว ก็จะนำไปผ่านขบวนการฟอกเพื่อกำจัดลิกนินออก  เยื่อที่ได้ด้วยกรรมวิธีต่าง ๆ จะต้องผ่านการเตรียมน้ำเยื่อก่อนที่จะนำไปทำแผ่นกระดาษ        ขั้นตอนการเตรียมน้ำเยื่อ (Stock Preparation)     การเตรียมน้ำเยื่อ เป็นการทำให้เยื่อกระจายตัวและเติมส่วนผสมให้เหมาะกับการทำกระดาษประเภทที่ต้องการ การเตรียมน้ำเยื่ออาจมีการนำเยื่อไม้มากกว่า 1 ชนิดมาผสมเข้าด้วยกันเพื่อควบคุมต้นทุนให้เหมาะสมและเพิ่มสมบัติบางประการให้กับกระดาษที่จะผลิต การเตรียมน้ำเยื่อเริ่มจากการตีเยื่อให้กระจายอย่างสม่ำเสมอในน้ำเยื่อไม่จับเป็นก้อน เสร็จแล้วนำไปบดให้เส้นใยแตกเป็นขลุยเพื่อช่วยการเกาะยึดระหว่างกันดีขึ้น จากนั้นก็นำสารปรับแต่งต่าง ๆเพื่อเพิ่มสมบัติของกระดาษตามที่ต้องการพร้อมกันนี้จะมีการปรับความเข้มข้นของน้ำเยื่อก่อนจะเข้าสู่ขั้นตอนการทำแผ่น       ขั้นตอนการทำแผ่น (Sheet Formation)     ขั้นตอนนี้เริ่มด้วยการนำน้ำเยื่อลงในถังจ่ายน้ำเยื่อซึ่งจะถูกปล่อยลงบนสายพานตะแกรง น้ำส่วนใหญ่จะเล็ดรอดผ่านช่องของตะแกรงเหล่านี้ เยื่อจะเริ่มเป็นรุปร่างกระดาษ สายพานตะแกรงจะพาเยื่อกระดาษเข้าสู่ส่วนที่เป็นลูกกลิ้งเพื่อรีดน้ำที่ยังค้างอยู่ออกให้มากที่สุดพร้อมกับกดทับให้เยื่อประสานติดกัน ต่อจากนั้นกระดาษจะถูกพาไปอบโดยผ่านลูกกลิ้งร้อนหลาย ๆ ลูกจนเหลือน้ำอยู่น้อยมาก (ประมาณ 4 – 6 % โดยน้ำหนัก)        ขั้นตอนการตกแต่งผิว (Finishing)     กระดาษที่ผ่านการอบแห้งจะถูกนำมาตกแต่งผิวตามที่ต้องการเช่นการขัดผิว (Calendering) การเคลือบผิวให้เรียบเงาหรือด้าน  กระดาษที่แล้วเสร็จจะถูกจัดเก็บเป็นม้วนเข้าโกดัง เมื่อมีการออกจำหน่ายก็จะตัดเป็นม้วนเล็กตามหน้ากว้างที่ต้องการ หรือตัดเป็นแผ่น ๆ ตามขนาดที่ต้องการแล้วห่อเป็นรีม ๆละ 500 แผ่น
กรรมวิธีผลิตกระดาษ ที่ดี
การ ทำกระดาษเริ่มต้นตั้งแต่การนำไม้ไปทำเยื่อเพือ่ให้ได้เส้นใยออกมา แล้วจึงนำเยื่อที่ได้ไปผสมกับสารเติมแต่งในอัตราส่วนต่าง ๆ เพื่อปรับสมบัติกระดาษให้ได้ตรงความต้องการใช้งาน จากนี้นนำไปทำเป็นแผ่นโดยใช้เครื่องจักรผลิตกระดาษ แล้วจึงนำไปแปรรูปใช้งาน กระบวนการผลิตจะแบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอน โดยเรียงลำดับตามขึ้นตอนการปฏิบัติการจริงภายในโรงงานได้ดังนี้ 1. การผลิตเยื่อ (Pulping) 2. การเตรียมน้ำเยื่อ (Stock Preparation) 3. การทำแผ่นกระดาษ (Papermaking) 4. การปรับปรุงสมบัติกระดาษขณะเดินแผ่น (Web Modification) 5. การแปรรูป การผลิตเยื่อ วัตถุ ประสงค์หลักของการผลิตเยื่อ เพื่อต้องการแยกเส้นใยออกมาจากองคืประกอบอื่นของไม้ การผลิตเยื่อสามารถทำได้หลายวิธีทั้งโดยวิธีเคมี หรือ เชิงกลในบางกรณีอาจจะต้องนำไปผ่านการฟอกให้ขาวก่อน ในการผลิตเยื่อจึงประกอบด้วย กรรมวิธีผลิตเยื่อ และ การฟอกเยื่อ กรรมวิธีผลิตเยื่อ (Pulping Process) เยื่อ มีหลายชนิด การเรียกชื่อขึ้นอยุ่กับกรรมวิธีผลิต ซึ่งประกอบด้วยรูปแบบ ต่าง ๆ ของพลังงานที่ใช้ ได้แก่ พลังงานความร้อน พลังงานเคมี และ พลังงานกลการผลิตเยื่อเชิงกล (Mechanical Pulping Process) จะ ใช้พลังงานกลควบคู่ไปกับพลังงานความร้อนในการแยกเส้นใยออกมา โดยท่อนไม้/ชิ้นไม้จะถูกส่งเข้าเครื่องบด ซึ่งจะทำหน้าที่บด และตัดจนชิ้นไม้แหลกละเอียดเป็นเยื่อไม้ เยื่อที่ได้เรียกว่าเยื่อไม้บด หรือเยื่อเชิงกล ให้ผลผลิตเยื่อในช่วงมากกว่าร้อยละ 85 เยื่อไม้บดมีเนื่อค่อนข้างหยาบกระด้าง เส้นใยที่ได้ส่วนใหญ่ไม่สมบูรณ์ มีการขาดและตัดเป็นท่อน ๆ นอกจากนี้ยังมีกลุ่มของเส้นใยปนอยู่ด้วย ในเยื่อไม้บดจึงประกอบด้วย เส้นใยฝอย (fines) ซึ่งเกิดจากการฉีกขาดของเส้นใย, เส้นใยเดี่ยว (individual fiber) ไม่ค่อยสมบูรณ์, มัดขอเส้นใย (bundle of fiber) ซึ่ง ประกอบด้วยเส้นใยหลาย ๆ เส้นเกาะติดกันเป็นมัด เยื่อชนิดนี้เมื่อนำมาเป็นวัตถุดิบในการทำกระดาษ จะให้คุณสมบัติตามส่วนประกอบทั้ง 3 คือ เส้นใยฝอยจะเพิ่มคุณสมบัติด้านทึบแสง เส้นใยซึ่งไม่ค่อยสมบูรณ์ และยังคงมีลิกนินตกค้างอยุ่มาก ทำให้พันธะระหว่างเส้นใยต่ำการกลับสีเร็วเยื่อชนิดนี้จึงไม่เหมาะที่จะนำไปทำกระดาษที่ต้องรับแรงสูง หรือเก็บนาน ๆ มีราคาถูก เหมาะสำหรับทำสิ่งพิมพ์ราคาถูก เช่น หนังสือพิมพ์หรือใช้เป็นเยื่อชั้นในกระดาษแข็งการผลิตเยื่อเคมี (Chemical Pulping Process)การผลิตเยื่อตามกรรมวิธีนี้จะใช้พยังงานเคมีและพลังงานความร้อนในกรทำให้เส้นใยแยกจากกัน โดยชิ้นไม้จะถูกส่งเข้าหม้อต้มเยื่อ (digester) สาร เคมีและความร้อนจะละลายลิกนินออกไป เหลือส่วนที่ไม่ละลลายคือเยื่อ เยื่อเคมีมีหลายชนิดเรียกชื่อตามสารเคมีที่ใช้ในการผลิตเช่น เยื่อซัลเฟต เยื่อซัลไฟต์ และ เยื่อโซดา เยื่อเคมีให้ผลผลิตเยื่อประมาณร้อยละ 40 มีลักษณะนุ่ม สีค่อนข้างคล้ำ เส้นใยที่ได้จะสมบูรณ์ เยื่อชนิดนี้มีปริมาณการใช้สูงมาก เพราะสามารถพัฒนาศักยภายของเส้นใยให้สามารถใช้งานได้อย่างกว้างขวาง เหมาะทั้งใช้ในงานรับแรง และเพื่อการสื่อสาร ถ้าใช้ในงานรับแรง เช่น นำไปทำกระดาษบรรจุภัณฑ์ไม่จำเป็นต้องฟอก แต่ถ้าใช้เพื่อการสื่อสารจะต้องนำไปฟอกให้ขาวก่อน เยื่อและเศษกระดาษ (Secondary Pulp) ในปัจจุบันเศษกระดาษ (reclaimed and waste paper) นับ ได้ว่าเป็นแหล่งเส้นใยที่สำคัญแหล่งหนึ่ง ได้มีการนำเส้นใยกระดาษที่ใช้แล้วทั้งภายในและภายนอกประเทศมาเป็นวัตถุดิบใน การผลิตกระดาษ เยื่อที่ได้จากเศษกระดาษที่ใช้แล้วเรียกว่า secondary pulp ส่วยเยื่อที่ยังไม่เคยใช้ทำกระดาษเรียกว่า virgin pulp เส้นใยที่ได้จากเศษกระดาษชนิดนี้เรียว่า recycled fiber เนื่อง จากกระดาษที่ผ่านการใช้แล้วมีมากมายหลายประเภท เช่น ถ้าเป็นกระดาษที่ผ่านการพิมพ์ต่าง ๆ ก่อนนำมาทำเป็นเยื่อต้องผ่านกระบวนการเอหมึกออก (deinking) เสียก่อนแล้วจึงนำไปฟอก (bleaching) ให้ ขาว สำหรับนำไปผลิตกระดาษสำหรับพิมพ์ หรือกระดาษชำระ แต่ถ้าจะนำไปผลิตกระดาษเหนียว หรือกระดาษสีน้ำตาลก็ไม่จำเป็นต้องเอาหมึกออก เยื่อจากกระดาษหรือเศษกระดาษที่ได้ส่วนมากจะนำไปเป็นวัตถุดิบในการ ผลิตกระดาษพิมพ์เขียน ทำเป็นเยื่อชั้นในกระดาษแข็ง หรือทำกระดาษชำระเป็นต้น การฟอกเยื่อ (Bleaching) การฟอกเยื่อเป็นการทำให้เยื่อมีสีขาวเหมาะกับการใช้กระดาษเพื่อการสื่อสารต่าง ๆ แบ่งเป็น 2 วิธี คือ วิธีฟอกเยื่อเพื่อขจัดลิกนินออก (removing lignin) วิธีฟอกเยื่อเพิ่อเปลี่ยนสีของลิกนินให้อยู่ในรูปไม่มีสี (bleaching lignin) เยื่อเคมีจะฟอกโดยใช้สารเคมีทำปฏิกิริยากับบิกนินแล้วกำจัดลิกนินออก การฟอกแบบนี้มีหลายขึ้นตอน โดยทั่วไปจะมีตั้งแต่ 3-6 ขั้นตอน (CEH CEDEP CEOP) เยื่อที่ได้มีความขาวสว่างสูงประมาณร้อยละ 80-95 เมื่อวัดด้วยเครื่องวัดแบบ Elrepho ขั้นตอนในการฟอกจะมีชื่อเรียกตามสารเคมีที่ใช้ฟอก และ ขั้นตอนการฟอกจะเรียงลำดับตามอักษรที่ใช้เรียก เช่น การฟอกแบบ CEDED สารเคมี สัญลักษณ์ เรียกชื่อขั้นตอนการฟอก Chlorine C ขั้นคลอริเนชั่น (chlorination stage) Sodium hydroxide E ขั้นแอ็กซ์แทรกชั่น (extraction stage) Calcium hypochlorite H ขั้นไฮโปคลอไรด์ (hypochlorite stage) Chlorine dioxide D ขั้นคลอรีนไดออกไซด์ (chlorinedioxide stage) Hydrogen peroxide P ขั้นเปอร์ออกไซด์ (peroxide stage) Oxygen O ขั้นออกซิเจน (oxygen stage) Ozone Z ขั้นโอโซน (ozone stage) Acid A ขั้นแอสิด (acid stage) การเตรียมน้ำเยื่อ ใน ขั้นการเตรียมน้ำเยื่อนี้มีวัตถุประสงค์หลัก 2 ประการ คือ เพื่อพัฒนาศักยภาพของเส้นใย โดยการนำเยื่อไปบด และ ปรับปรุงสมบัติกระดาษให้ได้ตามวัตถุประสงค์การใช้งาน โดยการผสมหรือใส่สารเติมแต่งชนิดต่าง ๆ ตามอัตราส่วนที่กำหนด ส่วนผสมที่ได้นี้เรียกว่า "น้ำเยื่อ" หรือ "สต็อก" (stock) เยื่อ ที่นำมาทำกระดาษทุกชนิดจะต้องผ่านการบด มากหรือ น้อยขึ้นอยุ่กับระดับคุณภาพของเยื่อ เยื่อบางชนิดไม่จำเป็นต้องบด เช่น เยื่อไม้บด และเยื่อเวียนทำใหม่ ในขั้นการเตรียมน้ำเยื่อประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ที่ทำหน้าที่ในการบดและผสมโดยมีขึ้นตอนการปฏิบัติการเรียงลำดับดังนี้ 1. การกระจายเส้นใย (defibering) กระจายเยื่อเพื่อให้เส้นใยแยกออกจากกันเป็นอิสระในน้ำโดยใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่าไฮดราพับเพอร์ (hydrapulper) 2. การบดเยื่อ (refining) บดเยื่อเพื่อให้เส้นใยแตกแขนงเป็นการเพิ่มศักยของพันธะระหว่างเส้นใยให้สูงขึ้น อุปกรณ์ที่ใช้คือรีไฟเนอร์ (refiner) 3. การผสมน้ำเยื่อ (blending) เป็นการเติมสารเติมแต่งลงไปผสมกับเยื่อที่ผ่านการบดแล้ว โดยผสมในถึงใบพัดกวน เยื่อจะถูกเก็บในถังที่เรียกว่า แมชชีน เชสต์ (machine chest) 4. การแยกสิ่งสกปรกออกจากน้ำเยื่อ (screening and cleaning) โดยใช้ pressure screen หรือ flat screener เพื่อคัดวัสดุที่มีขนาดใหญ่กว่าเส้นใยออก แล้วผ่านเข้าสู่เครื่องทำความสะอาด เรียกว่า เซนตริฟิวด์คลีนเนอร์ (chetrifugal cleaner) คัดแยกวัสดุอื่นออกไป โดยใช้หลักการถ่วงจำเพาะ 5. การควบคุมความข้นของน้ำเยื่อ (consistency regulator) เพื่อควบคุมให้น้ำเยื่อข้นคงที่ การทำแผ่นกระดาษ หลัง การผสมน้ำเยื่อเรียบร้อยแล้ว น้ำเยื่อจะถูส่งเข้าสู่เครื่องจักรผลิตกระดาษเพื่อทำเป็นแผ่นกระดาษที่ยาว ต่อเนื่องกัน ซึ่งเรียกว่า เว็บเปเปอร์ (web paper) เครื่องจักรที่ใช้ผลิตกระดาษมีหลายแบบ ส่วนใหญ่เป็นแบบโฟร์ดริเนียร์(fourdrinier) และแบบไซลินเดอร์ (cylinder) เครื่องจักรผลิตกระดาษทุกแบบจะมีส่วนประกอบต่าง ๆ เพื่อทำหน้าที่หลัก 3 ประการคือ 1. การแยกน้ำออก (draining) ทำหน้าที่เป็นตะแกรงรองรับน้ำเยื่อ น้ำจะลอดผ่านตะแกรงทำให้เยื่อก่อตัวเป็นแผ่นเปียก (wet sheet forming) 2. การกดน้ำออก (pressing) ทำหน้าที่กดหรือบีบน้ำออกจากแผ่นเปียก ทำให้เกิดการยึดติดแน่นระหว่างเส้นใยภายในกระดาษ (consolidation of wet) 3. การอบกระดาษ (drying) แผ่นกระดาษจะถูกอบให้แห้งเพื่อไล่น้ำออกจนกระดาษแห้งเหลือความชื้นประมาณร้อยละ 4-6 ส่วนประกอบหลักของเครื่องจักรผลิตกระดาษ ได้แก่ 1. ถังจ่ายเยื่อ (head box) ทำหน้าที่จ่ายน้ำเยื่อเข้าสู่ตะแกรงลวดเดินแผ่น 2. ส่วนตะแกรงลวดเพินแผ่น (wire section หรือ forming section) ทำหน้าที่สำคัญ 2 ประการ คือ การก่อตัวเป็นแผ่นกระดาษด้วยกระบวนการกรองและการแยกน้ำออก (dewatering) แผ่นเปียกที่ออกจากส่วนนี้จะมีน้ำอยู่ร้อยละ 80 3. ส่วนกดกระดาษ (press section) ทำ หน้าที่กดหรือบีบน้ำออกจากแผ่นเปียกทำให้เกิดการยึดติดแน่นภายในเนื้อกระดาษ กระดาษที่ออกจาส่วนนี้จะมีน้ำอยู่ประมาณร้อยละ 55-60 การเอาน้ำออกมาให้ได้มากกว่าด้วยแรงกดไม่สามารถทำได้เพราะจะทำให้กระดาษขาด 4. ส่วนอบกระดาษ (drying section) ในส่วนนี้จะมีลูกอบให้ความร้อนกับกระดาษ ทำให้กระดาษแห้ง โดยกระดาษที่ออกมาจากส่วนนี้จะมีความชื้นประมาณร้อยละ 4-6 5. ส่วนรีดกระดาษ (calender) ทำหน้าที่ปรับแผ่นกระดาษให้เรียบและมีเนื้อแน่นขึ้น แต่ไม่จำเป็นต้องใช้สำหรับกระดาษบางชนิด เช่นกระดาษชำระ 6. ส่วนพับกระดาษเข้าม้วน ทำหน้าที่นำกระดาษเข้าม้วน การปรับปรุงสมบัติกระดาษขณะเดินแผ่น การปรับปรุงสมบัติกระดาษในขณะเดินแผ่นทำได้ 2 ลักษณะ คือ 1. การปรับปรุงผิวกระดาษ (surface modification) กระดาษ เมื่อผ่านลูกอบแห้งแล้วจะเข้าสู่ส่วนรีดกระดาษ เพื่อปรับปรุงกระดาษให้เรียบขึ้น และ เพิ่มความหนาแน่นของเนื้อกระดาษ ส่งผลให้กระดาษบางลงนอกจากปรับปรุงผิวกระดาษ ที่ส่วนนี้ยังสามารถทำการปรับปรุงผิวกระดาษในขณะที่เดินแผ่นด้วยวิธีการ ฉาบผิว (surface sizing) ซึ่ง จะทำก่อนที่เข้าลูกอบกระดาษ โดยใช้น้ำแป้งฉาบบนผิวกระดาษ ทำให้กระดาษมีผิวเรียบขึ้น นอกจากนี้ยังเพิ่มความแข็งแรงของพันธะที่ผิวกระดาษ ทำให้ผิวกระดาษแข็งแรง สามารถต้านทานการขูดลลหรือการถูกดึงผิวกระดาษได้ดี ซึ่งเป็นสมบัติที่สำคัญมากสำหรับกระดาษที่ใช้พิมพ์ กระดาษที่ผ่านการปรับปรุงลักษณะนี้ได้แก่ กระดาษออฟเซ็ต นอกจากนี้กระดาษทิชชูก็สามารถปรับปรุงกระดษได้โดยเชิงกล โดยทำให้เกิดรอยย่น (creping) หรือพิมพ์ลายนูน (embossing) บนผิวกระดาษเพื่อให้กระดาษนุ่มมือขึ้น 2. การเปลี่ยนรูปร่างและม้วนกระดาษ (physical modification) เป็นการเปลี่ยนแปลงขนาด รูปร่างของม้วนกระดาษในขณะเดินแผ่น เพื่อให้เหมาะสมกับม้วนขนาดที่ลูกค้าต้องการ โดยการคลายม้วน (rewinding) และ ตัดเป็นแผ่น (sheeting) การแปรรูปกระดาษ เป็นขั้นตอนการนำกระดาษม้วนไปแปรรูปเป็นแผ่น โดยนำไปตัดขนาดให้ได้ตามที่ลูกค้าต้องการ โดยใช้เครื่องตัดแบ่งม้วนโฟลิโอ (folio sheeter) การแปรรูปเป็นแผ่นกระดาษจะเริ่มต้นด้วยการนำม้วนกระดาษ (roll) เข้าสู่เครื่องตัด ซึ่งจะตัดแบ่งกระดาษม้วนย่อย 4 ม้วน (แล้วแต่ขนาดของเครื่องของโรงงานนั้น ๆ) ม้วนกระดาษย่อยจะถูกส่งต่อเข้าสู่ชุดมีดตัด (rotary fly knife) ตัด กระดาษแต่ละม้วนให้เป็นแผ่น จนได้จำนวนที่ต้องการแล้วจึงส่งไปห่อ แต่ละห่อจะมีจำนวนแผ่นระบุไว้อย่างแน่นอน จำนวนบรรจุขึ้นอยู่กับลูกค้ากำหนดและน้ำหนักมาตรฐานของกระดาษด้วย กระดาษแต่ละห่อจะรอการบรรจุรวมเพื่อจำหน่ายให้ลูกค้าต่อไป
ระบบบำบัดน้ำเสียที่โรงงานของเราใช้ ทันสมัยที่สุด ดีที่สุดในโลก ปี 2554
ระบบผลิต ผสมเยื่อกระดาษที่เรามี ดีที่สุดในโลก 2554
วัสดุการผลิตที่เรามี วัตถุดิบหลัก เช่น ไม้สน , ไผ่จีน ,หินแร่ธรรมชาติ, ลิกไนต์  เรามีมากที่สุดในโลก
ธุรกิจของคนไทย บริหารโดยคนไทย ผลิตในประเทศจีน
ความพร้อมที่จะผลิต กระดาษทุกชนิด
กระดาษชำระ (ทิชชู่) ที่มีคุณภาพที่สุดของโลก
เครื่องผลิตที่ทันสมัยที่สุด 2554
วัตถุดิบมากมาย
ท่าเรื่อรับส่งสินค้า
ความทันสมัยของโรงงาน
ผลผลิตของเรามากมายและใหญ่ที่สุดในโลก
เรากำลังสร้างโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้า ขนาด 90  เมกวัตร์
ดร.สมัย เหมมั่น
  นี่คือวัตนาการของเก่าๆที่ไร้การสร้างนวัตกรรม ทำให้ภาพรักษ์ไม่ดี   สุดทึ่ง...เทคโนโลยีการผลิตกระดาษทิชชูของจีน   แบบเดิมๆที่เคยทำมาครับ osted by นกน้อยแห่งโพหัก , ผู้อ่าน : 1191 , 16:51:15 น.   หมวด : ทั่วไป พิมพ์หน้านี้ โหวต 0 คน
เพิ่งจะรู้ว่ากระบวนการผลิตกระดาษทิชชูนี่มันเป็นอย่างนี้นี่เอง...ไม่รู้ว่าทิชชูที่เราใช้อยู่มันจะมาจากที่นี่บ้างหรือเปล่า.. ผู้ที่นำเสนอผลงานนี้เค้าขึ้นหัวข้อนี้ว่า..Informations about  Nine Dragons PM 75..มาชมกันได้เลยค่ะ.. 1.เยี่ยมชมโรงงานผลิต  2.กระบวนการขนส่งวัตถุดิบ..จักรยาน.. 3.ตรวจสอบวัตถุดิบ.. 4.คัดแยกวัตถุดิบ..แรงงานคนล้วนๆ..   5.นำวัตถุดิบมาตีให้เกิดเป็นเยื่อกระดาษ 6.นำเยื่อกระดาษมาปั่นกับน้ำ  7.นำมารีดน้ำออก  8.นำเยื่อกระดาษมารีดเป็นแผ่น .อันนี้น่าจะเป็นเตาอบที่ให้ความร้อนตอนรีด 9.นำกระดาษทิชชูที่ได้มาม้วน 11.ขั้นตอนการเตรียมแกนในของกระดาษทิชชู  12.นำกระดาษทิชชูที่ได้มาตัดตามขนาดที่ต้องการ  13.บรรจุหีบห่อ..ภายใต้การควบคุมคุณภาพ(ของอาเฮียเจ้าของโรงงาน) รรจุหีบห่อเพื่อเตรียมส่งขาย..(มายังประเทศไทยหรือเปล่า..อันนี้ไม่รู้ค่ะ) พนักงานทำงานกันอย่างขะมักเขม้น  ทิชชูที่แพ็คเสร็จแล้วและรอการส่งขายไปยังที่ต่างๆ..  เสร็จสิ้นกระบวนการผลิต.. กระบวนการบำบัดน้ำเสีย..   คือการปล่อยลงสู่ธรรมชาติ...เพื่อให้ธรรมชาติเป็นผู้บำบัด ผู้รับกรรมคือชาวบ้านรอบๆโรงงาน.. จบการนำเสนอคราฟๆๆๆ