หน้าเว็บบริษัท พีซีไอ อินเตอร์ จำกัด (มหาชน) 199/595 ถ.บางพลี-ตำหรุ ต.แพรกษาใหม่ อ.เมือง จ.สมุรทปรา

วันจันทร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ดร.สมัย เหมมั่น วิวัฒนาการ แนวคิด ยุคGlobal management



Ico64
ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์
เลขาธิการ
มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ
Network
Members · Following: 1 · Followed: 8

อ่าน: 432
ความเห็น: 33

การพัฒนาทุนมนุษย์ (มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ ศูนย์นครปฐม)

สวัสดีครับชาว Blog
         วันนี้ผมได้รับเชิญให้ไปบรรยายเพื่อพัฒนาทุนมนุษย์ให้แก่กลุ่มนักศึกษาปริญญาโทมหาวิทยาลัยนอร์ท- เชียงใหม่ หลักสูตร MBA และ MPA ประมาณ 40 คน ที่ศูนย์จังหวัดนครปฐม และคงจะมีความรู้ดี ๆ มาแลกเปลี่ยนที่นี่เช่นเคยครับ
                                     จีระ หงส์ลดารมภ์
ภาพบรรยายกาศ
















ดร.สมัย เหมมั่น เข้าศึกษา MBA  ที่ หาวิทยา นอร์ท-เชียงใหม่ และ ได้แสดงแนวคิดการบริหาร
แนวคิด 8 K




หมวดหมู่บันทึก: เรื่องทั่วไป
สัญญาอนุญาต: ซีซี: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน Cc-by-nc-sa
สร้าง: 06 มิถุนายน 2553 08:01 แก้ไข: 08 มิถุนายน 2553 07:18 [ แจ้งไม่เหมาะสม ]
ดอกไม้

Facebook

บันทึกอื่นๆ

ความเห็น

Ico48
ดร.สมัย เหมมั่น   [IP: 58.9.76.141]
07 ตุลาคม 2553 11:00
#2206515
ทุกวันนี้ทำงาน ได้เพราะใช้ กลยุทธ์ของ ท่านครูทุกอย่าง งานออกดีมากครับคูร ขอบคุณมากครับ
Ico48
ดร. สมัย เหมมั่น [IP: 125.27.191.208]
25 พฤศจิกายน 2553 20:49
#2267082
ครูครับตลอดเวลาที่ผมบริหารในธุรกิจ เรื่องการจัดสรรที่ดินและที่พักอาศัย กระผมมีความเห็นว่ากระผมต้องจัดลำดับความรู้ใหม่ครับ ตั้งแต่ที่ผม นำความรู้ที่ครูสอนมา กระผมคิดว่าองค์กรของผมเข็มแข็งมากขึ้น ประสพความสำเร็จมากขึ้นครับ ผมต้องศึกษาให้มีความรู้ มากขึ้นในระดับ ปริญญาเอก เพื่อจะพัฒนาองค์กร ให้มีความรู้และสร้าง นวัตกรรมใหม่ๆมาให้ผู้บริโภคใช้และมีคุณภาพต่อไป ขอให้ครูมีสุขภาพที่ดีและแข็งแรงครับ นาย สมัย เหมมั่น
Ico48
ดร.สมัย เหมมั่น [IP: 125.27.232.182]
07 มิถุนายน 2554 06:48
#2460807
Dr.Samai Hemman
ดร.สมัย เหมมั่น (ลูกศิษย์คราฟครู)
แน่ะการก่อสร้างในไตรมาส 2
การศึกษาความเป็นไปได้ขอราคาวัสดก่อสร้าง และภาวัเศษฐกิจโลก
ราคาวัสดุในประเทศและต่างประเทศ
1.ราคาปูน แพงขึ้น 10%
2.ราคาหินทราย แพงขึน 10%
3.ราคาเหล็ก ทุกอย่างแพง 10%
4.ราคาวัสดุต่างที่ใช้ประกอบกระเบื้องและวัสดุตกแต่ง แพงขึ้น 10%
เตรียมรับมือ การก่อสร้างที่ยังขาดรองลอยการนำทาง ไตรมาส 2
ในปัจจุบันเปรียบดูที่ ราคา น้ำมัน ราคา ทอง ราคา หุ้นที่ผันผวน ยิ่งใน เดือน มีนาคม ราผันผวนมากๆ น้ำมันขึ้นมาก ทองแพงมาก วัดสุก่อสร้างขึ้นไม่หยุดเลย
ราคาวัสถุพุ่งขึ้น จะทำอย่างไร
1.ราคาบ้านขึ้น เพราะวัสดุขึ้น
2.ราคาค่าครองชีพสูงค่าแรงแพงแน่ เพราะของกินของใช้แพง
3.น้ำมันขึ้นราคา วัสดุ แต่งบ้านแพงเพราะขนสงต้องใช้น้ำมัน
4.ทุกอย่างแพง ที่ดินทำเลดีๆ ก็แพงตามไปด้วย
5.ภาษีการจดนิติกรรปรับแพงขึ้น เพราะ ปรับอัตราภาษีทั่วประเทศ
6.ทุกอย่างแพง ค่าใต้โต๊ะก็พงตามมาติดๆ
7.ค่านำเนินการต่างๆแพงตามมา
8.กู้แบ้ง ดอกแพงขึ้น เพราะมีความเสียงในการลงทุน
ราคาบ้านแพงจะทำอย่างไร
1. เลือกดูว่าจำเป็นจะซื้อหรือเปล่า
2.เลือกดูว่าทำเลโดนใจประหยัดไหม
3.เลือกดูว่าวัสดุค้มทุนรึเปล่า
4.เลือกดูว่าราคาโดนใจรึเปล่า
5.เลือกดูว่า เป็นหนึ่งในใจเราหรือไม่
6.คุ่มค่าไหมที่จะซื้อบ้าน
7.วัสดุดีไหมสมกับราคาไหม
8.โปรโมชั่นดีไหม
9.เงื่อนไขที่ดีเป็นอย่างไรบ้าง
10.โครงการนั้นให้อะไรบ้างนอกจากบ้าน
บ้านแพงขึ้งอยากได้บ้าน แต่ไม่มีเงินซื้อ ใครจะซื้อบ้านเรา
1.แบ้งไม่อนุมัติ รายย่อย ใครจะซื้อ
2.คนมีรายได้น้อยกู้ไม่ได้ ใครจะซื้อ
3.คนมีรายได้มากกลัวตังหมดไม่กู้ ไม่ซื้อ ใครจะซื้อ
4.ต่างคนต่างไม่สน จะทำอย่างไร
ไตรมาส 2 พ.ศ. 2554 ตายหรือเปล่า
1.ภาวะน้ำท่าม โลก
นิวซีแลน/ยี่ปุ่น/ อินโด /จีน / แอฟริกา/ ยุโรป/ออสเตเรีย/อเมริกา /
2.ภาวะอากาศหนาว ทั่วโลก
3.ภาวะสงครามกลางเมือง
ริเบีย/ อียิบ /ไทย-กัมภูชา/ เกาหลีเหนอ-ใต้/ ตะวันออกกลาง /จีน / ฟิลิบิน/ อินโด /ซูดา /แอฟรกา /ยุโรป / ยุทธ์ศาสตร์ ดอกมะลิต่างๆ
4.นิวเครีย ทั่วโลก
โรงไฟฤาทั่วโลกรอการระเบิด
ระเบิดนิวเครียของจริงที่มีโอกาสระเบิด
ทั่วโลกสะสมอาวุธ
ยุโรป/จีน /เกาหลีหนือ-ใต้ / บราซิล-แมกซิกัน /อเมริกาใต้ -อเมริกาเหนือ /แอฟริกาใต้ /ตะวันออกกลาง- ดูไป- ซาอุ/รัสเซีย-ยุโรปตะวันออก/
ทั้งหมดร้วน เป็นการเสียหายจากการธรรมชาติ และที่เป็นน้ำมือมนุษย์ ซ้ำเติมอีก มันยิ่งก่วาสงครามโลก
ของแพงแน่ๆ ไตรมาส 2
เรามองเห็นแน่ๆ
1.การแย่งชิงอาหาร
2.การแย่งชิ่งที่อยู่
3.การแย่งชิงสิงของ
4.การปล้น ฆ่า
5.การรับจ้างป้ลน
6.การรับจ้างปฎิวัต รับจ้างรบ
7.การรับจ้างที่ไม่เคยบันทึกในประวัติศาตร์
8.การย้ายถิ่นฐานระดับโลก
9.การปล้นระดับโลก
10.การจารกรรมระดับโลก

ภัยดอกมะลิใครคิดบ้าง Global Management
ท่านทั้งหลายจงเข้าใจ ดอกมะลิ และหยุดมันครับ
ดร.สมัย เหมมั่น เตือนการใช้ชีวิตในยุคปัจจุบันในไตรมาส 2


มหาวิทยาลัย Rochville University

หลักการวิเคราะห์ พฤติกรรมการซื้อสิวารับ้านโครงการตน์ มหาวิทยาลัย ฯ

พฤติกรรมผู้บริโภคมีส่วนในการตัดสินใจในการกระทำกิจกรรมทางการตลาด                                                       
ดร.สมัย เหมมั่น   รองกรรมการบริษัท 

         กล่าวอ้างแสดงความหมายอย่างกว้างถึงพฤติกรรมผู้บริโภคคือกระบวนการต่าง ๆ  ของตัวบุคคลที่ปฏิบัติต่อสภาพแวดล้อมที่มีอยู่ภายนอก ให้ความหมายของ ผู้ซื้อ คือบุคคลที่ไปทำการซื้อจริงในกระบวนการซื้อ ดังนั้น ผู้ซื้อก็คือบุคคลที่มีบทบาทเป็นผู้ซื้อสินค้า ปกติผู้ซื้อก็คือลูกค้า (Customer) ของธุรกิจนั่นเอง
        ดร.สมัย เหมมั่น ได้ให้ความหมายไว้ว่า การศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภค หมายถึง การศึกษาถึงความต้องการ ความจำเป็นของผู้บริโภคที่เป็นตลาดเป้าหมายเพื่อวางกลยุทธ์ทางการตลาด ให้ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคนั้น ๆ และเพื่อให้ผู้บริโภคได้รับความพอใจสูงสุด
                ความหมายที่ ดร. สมัย  เหมมั่น รองกรรมการบริษัทฯ กล่าวสรุปในที่นี้ก็คือ  การกระทำหรือการแสดงออกของมนุษย์ที่ปรากฏออกเป็นการกระทำดังกล่าวนี้  จะมีกระบวนการของสิ่งของต่าง ๆ  ที่เกี่ยวข้องกำกับอยู่จากภายในตัวบุคคลนั้น ๆ  เสมอ  กล่าวคือ  จะมีกลไกของการกำกับสั่งกระบวนการของสิ่งต่าง ๆ  ที่เกี่ยวข้องกำกับอยู่ภายใจตัวบุคคลนั้น  เสมอ  กล่าวคือ  จะมีกลไกของการกำกับสั่งการจากความนึกคิด  และความรู้สึกที่มีอยู่ภายในชีวิตประจำวันของมนุษย์ทุกคน  การกระทำของแต่ละคนจะมีของตนตลอดเวลา  จะมีสิ่งที่ยึดถือต่าง ๆ  ภายในความคิดของตน (frame of mind)  อยู่เอง  และจะรับเอาเรื่องราวต่าง ๆ  (sensation)  จากภายนอกเข้ามาได้ตลอดเวลาอีกด้วย  การตัดสินใจกระทำการต่าง ๆ  ของเขาที่ปรากฏออกมาเป็นพฤติกรรมต่าง ๆ  ย่อมจะอยู่ภายใต้การกำกับของสิ่งเหล่านี้ทั้งสิ้น
                ดังนั้นการศึกษาผู้ซื้อและพฤติกรรมผู้ซื้อบ้านสิวารัตน์ จึงเป็นการศึกษาถึงลูกค้าของธุรกิจที่เป็นได้ทั้งผู้บริโภคและผู้ใช้ทางอุตสาหกรรมขึ้นอยู่กับว่า ตลาดของธุรกิจเป็นตลาดประเภทใด เช่นผู้บริโภคบ้านแฝดและทาวเฮาส์  ลูกค้าหรือผู้ซื้อก็คือผู้บริโภค ถ้าเป็นตลาดสินค้าอุตสาหกรรม หรือตลาดรัฐบาล หรือองค์กรที่ไม่แสวงหากำไรลูกค้าหรือผู้ซื้อก็คือผู้ใช้ทางอุตสาหกรรม เป็นต้น ดังนั้น การศึกษาพฤติกรรมผู้ซื้อ (Buyer behavior) เป็นการศึกษา พฤติกรรม การซื้อสินค้าของลูกค้า ของธุรกิจต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นผู้บริโภคหรือผู้เป็นนักลงทุนหวังกำไรจากการซื้อบ้านแฝดในโครงการสิวารัตน์
                พฤติกรรมผู้บริโภค (consumer behavior) ที่เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหรือการแสดงออกของมนุษย์เฉพาะในบางเรื่อง  คือ  เฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับการซื้อบ้านโครงการ สิวารัตน์ และบริการ ลูกค้าโครงการ สิวารัตน์ การบริการทางการตลาดทั้งหลายนั้นย่อมถือได้ว่าเป็นเพียงส่วนหนึ่งของพฤติกรรมมนุษย์เท่านั้น  พฤติกรรมผู้บริโภคจะมีความหมายเฉพาะกระบวนการของตัวบุคคลที่ตัดสินใจว่า  จะซื้อบ้านแฝด ทาวเฮาส์ และบริการอะไรหรือไม่  ถ้าจะซื้อจะซื้อที่ไหน  เมื่อไร  อย่างไร  และจะซื้อจากใคร  การตัดสินใจดังกล่าวจะประกอบด้วยกิจกรรมต่าง ๆ  ทั้งทางกายใจและทางกายที่จำเป็นสำหรับทำการตัดสินใจ  สาระสำคัญส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องราวของความเข้าใจ  (perceives) ของแต่ละบุคคลที่มีอยู่  และการปฏิบัติหรือการกระทำต่อกันระหว่างตัวเขาเหล่านั้นกับสภาพแวดล้อม  รวมตลอดทั้งกับองค์การธุรกิจทั้งหลาย
                กล่าวโดยสรุปก็คือ การแสดงออกทางพฤติกรรมของมนุษย์โดยทั้งหมดนั้น  พฤติกรรมหรือกิจกรรมที่แสดงออกในฐานะที่เป็นผู้บริโภคจะเป็นส่วนหนึ่งเท่านั้น  พฤติกรรมผู้บริโภคจึงถือเป็นเพียงส่วนหนึ่งของพฤติกรรมมนุษย์  และด้วยเหตุผลเดียวกันนี้เองโครงการ สิวารัตน์  ต้องศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคจึงอาศัยพฤติกรรมศาสตร์เข้าช่วยศึกษา  ทำนองเดียวกับการศึกษาพฤติกรรมมนุษย์โดยทั่วไป                                                                                                โครงการ สิวารัตน์ ให้ความสำคัญเกี่ยวกับพฤติกรรมการเลือกซื้อ บ้านและทาวเฮาส์ที่มีการศึกษาวิเคราะห์ อย่างดี เพราะเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ในการทำธุระกิจการจัดสรรที่ดินและพักอาศัยในแต่ละทำเล ที่ลูกค้ามีความต้องการที่เลือกบริโภค
                1. ปฏิกิริยาของบุคคล ซึ่งรวมถึงกิจกรรมต่าง ๆ  เช่น การเดินทางไปและกลับจากร้านค้า  การจ่ายของในร้านค้า  การซื้อ  การขนสินค้า  การใช้ประโยชน์และการประเมินค่าสินค้าและบริการที่มีจำหน่ายอยู่ในตลาด
                2. บุคคลเกี่ยวข้องโดยตรงกับการได้รับและการใช้สินค้าและบริการทางเศรษฐกิจ ซึ่งหมายถึง ผู้บริโภคคนสุดท้าย เรามุ่งที่ตัวบุคคล ผู้ซื้อสินค้าและบริการเพื่อนำไปใช้บริโภคเองและ หรือเพื่อการบริโภคของหน่วยต่าง ๆ  ที่มีลักษณะ คล้ายคลึงกัน เช่นครอบครัว  เราพิจารณาหน่วยบริโภคว่ารวมถึงแม่บ้านในฐานะที่เป็นตัวแทนซื้อของครอบครัว  และบุคคลบางคนที่ซื้อของขวัญให้กับผู้อื่นด้วย  อย่างไรก็ดีเราไม่พิจารณาถึงการที่บุคคลซื้อให้กับองค์การธุรกิจหรือสถาบันต่าง ๆ 
                3. รวมถึงกระบวนการต่าง ๆ  ของการตัดสินใจซึ่งเกิดก่อน  และเป็นตัวกำหนดปฏิกิริยาต่างเหล่านี้  ซึ่งรวมถึงการตระหนักถึงความสำคัญของกิจกรรมการซื้อของผู้บริโภคที่กระทบโดยตรงต่อปฏิกิริยาทางการตลาด  เช่น  การติดต่อกับพนักงานขายกับสื่อโฆษณา  และการเปิดทางเลือกต่าง ๆ  และปฏิกิริยาต่าง ๆ  เกี่ยวกับการตัดสินใจซื้อหลังจากการระบุและพิจารณาทางเลือกต่าง ๆ  เป็นอย่างดีแล้ว  สรุปในที่นี้ก็คือ  พฤติกรรมผู้บริโภคเกี่ยวข้องกับการศึกษาถึงว่าบุคคลผู้บริโภค  บริโภคอะไร  ที่ไหน  บ่อยแค่ไหน  และภายใต้สถานการณ์อะไรบ้างที่สินค้าและบริการได้รับการบริโภค
                การวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภคเป็นการศึกษาวิธีการที่แต่ละบุคคลกระทำการตัดสินใจใช้ทรัพยากร  (เงิน  เวลา  บุคลากร  และอื่น ๆ)  เกี่ยวกับการบริโภคสินค้า  ซึ่งนักการตลาดต้องศึกษาว่าสินค้าที่เขาจะทำการเสนอขายนั้นใครคือลูกค้า  (who)  ผู้บริโภคซื้ออะไร  (what)  ทำไมจึงซื้อ  (why)  ซื้ออย่างไร  (how)  ซื้อเมื่อไร (when)  ซื้อที่ไหน  (where)  และซื้อบ่อยครั้งเพียงใด  (how often)  รวมทั้งศึกษาว่าใครมีอิทธิพลต่อการซื้อ  (who) 
                การรับรู้  (perception)  บุคคลผู้ถูกจูงใจพร้อมที่จะแสดงออกมาหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับการรับรู้ของบุคคลเหล่านั้นในสถานการณ์ต่าง ๆ  การรับรู้เป็นกระบวนการที่แต่ละบุคคล  เลือกจัดการและแปลความหมายข้อมูลข่าวสารออกมา และการรับรู้ไม่ได้ขึ้นอยู่กับสิ่งกระตุ้นทางกายภาพเท่านั้น  แต่ขึ้นอยู่กับสิ่งกระตุ้นที่อยู่รอบ  และเงื่อนไของแต่ละบุคคล   การที่บุคคลสามารถรับรู้ของสิ่งเดียวกันแตกต่างกันไปนั้นเป็นผลจากกระบวนการ 3  กระบวนการ  คือ  การเลือกที่จะสนใจ  (selective attention)  การเลือกที่จะบิดเบือน  (selective distortion)  และการเลือกที่จะเก็บรักษา (selective retention)
                การเลือกที่จะสนใจ   (selective attention)  ในแต่ละวันคนเราจะพบกับสิ่งกระตุ้นมากมาย  เช่น  โดยเฉลี่ยแล้วคนเราจะต้องเจอกับโฆษณามากกว่า 150 ชิ้น  แต่คนเราไม่สามารถรับได้ทั้งหมด  แต่สิ่งเหล่านี้ถูกคัดเลือกโดยกระบวนการที่เรียกว่า  การเลือกที่จะสนใจ  นักการตลาดต้องทำงานอย่างหนักที่จะดึงดูดให้ผู้บริโภคสนใจ  และนั่นก็เป็นสิ่งที่ท้าทายในการอธิบายว่าสิ่งกระตุ้นอันไหนจะกระตุ้นคนเหล่านั้นในสังเกตในสิ่งที่เรานำเสนอ
                การเลือกที่จะบิดเบือน  (selective distortion)  ถึงแม้ว่าสิ่งกระตุ้นสิ่งที่ส่งไปไม่สำเร็จผลดังตั้งใจไว้  การเลือกที่จะบิดเบือน  เป็นการแสดงถึงการแสดงถึงการโน้มเอียงไปจนถึงการบิดเบือนข้อมูลให้มีความหมายส่วนตัวจากนั้นก็แปลข้อมูลไปในทิศทางที่จะสนับสนุนความคิดที่มีอยู่แล้ว
                การเลือกที่จะเก็บรักษา  (selective retention)  คนเรานั้นมักจะลืมสิ่งที่เรียนรู้มา  แต่ก็มีบางสิ่งที่เราเก็บรักษาอยู่เพื่อมาสนับสนุนทัศนคติและความเชื่อของเขาเอง  เนื่องจากการเลือกที่จะเก็บรักษานั้นคล้ายกับการจดจำในสิ่งที่ดี  ในผลิตภัณฑ์ที่เราชอบ  และจะลืมสิ่งที่ดีของสินค้าคู่แข่ง  การเลือกที่จะเก็บรักษานั้นสามารถอธิบายได้ว่าทำไมนักการตลาดจึงใช้การแสดงละครและนำกลับมาซ้ำอีกในการส่งข่าวสารต่าง ๆ  ไปยังกลุ่มเป้าหมาย
                การเรียนรู้ (learning)  คือ  การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของแต่ละบุคคลจากประสบการณ์  พฤติกรรมมนุษย์โดยส่วนใหญ่คือ  การเรียนรู้  นักทฤษฏีการเรียนรู้เชื่อว่าการเรียนรู้เกิดจากการแสดงบทบาทที่มีอิทธิพลต่อกันระหว่างแรงขับ  สิ่งกระตุ้น  สัญญาณ  การตอบสนอง  และการเสริมกิจกรรม
                แรงขับเป็นสิ่งกระตุ้นที่ผลักดันให้เกิดการแสดงออกมากที่สุด  สัญญาณที่เป็นสิ่งกระตุ้นรองลงมาที่กำหนดว่า  เมื่อไร  ที่ไหนและอย่างไรที่บุคคลนั้นตอบสนองความเชื่อและทัศนคติ  ซึ่งคนเราจะได้ความเชื่อถือและทัศนคติ  โดยผ่านทางการกระทำและเรียนรู้ซึ่งสิ่งต่าง ๆ  เหล่านี้จะมีผลต่อพฤติกรรมการซื้อของพวกเขาด้วย และที่สำคัญความเชื่อ  คือ  รายละเอียดของความนึกคิดซึ่งคนเรายึดถือเกี่ยวกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง  แน่นอนที่ผู้ผลิตจะสนใจในความเชื่อที่คนเราที่อยู่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์  และการบริการของตนเพราะความเชื่อเหล่านี้จะเป็นตัวสนับสนุนผลิตภัณฑ์และภาพลักษณ์ของตราสินค้า  และคนเรามักจะแสดงไปตามภาพลักษณ์ของตน  หากมีความเชื่อบางอย่างเป็นสิ่งที่ผิดและเป็นการขัดขวางการซื้อ  ผู้ผลิตจะต้องรณรงค์เพื่อแก้ไขหรือทำให้ความเชื่อเหล่านี้ถูกต้อง ด้วยคำนึงถึงทัศนคติที่เป็นความรู้สึก  อารมณ์  และวิวัฒนาการด้านความชอบของคนเรามาเนิ่นนานแล้ว  นอกจากนี้การแสดงออกจึงมีความโน้มเอียงไปยังนิสัยหรือความคิดบางอย่างได้
             กระบวนการการวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภคทีมีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมการซื้อและการบริโภคก๋วยเตี๋ยวของวัยรุ่นเพื่อให้ทราบถึงคุณลักษณะความต้องการและพฤติกรรมต่างๆ ของวัยรุ่น เพื่อให้ใช้เป็นแนวทางปฏิบัติแนวทางปฏิบัติในการตอบสนองความพึงพอใจของผู้บริโภคเป็นเป้าหมายได้สูงสุด โดยใช้โมเดลพฤติกรรมผู้บริโภค (consumer behavior model) หรือ S–R theory ซึ่งเป็นทฤษฎีที่ศึกษาถึงเหตุจูงใจที่ทำให้เกิดการตัดสินใจซื้อโดยเริ่มจากการเกิดสิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดความต้องการ สิ่งกระตุ้นผ่านเข้ามาในความรู้สึกสำนึกของผู้ซื้อ ซึ่งเปรียบเสมือนกล่องดำซึ่งประกอบธุรกิจไม่สามารถคาดคะเนได้ ความรู้สึกคิดนี้เองจะได้รับอิทธิพลในลักษณะต่างๆ และทำให้มีการตอบสนองของผู้ซื้อ ดังในภาพที่ 2.1 ซึ่งประกอบด้วย 3 ส่วน ดังนี้ สิ่งกระตุ้น (stimulus)  กล่องดำความรู้สึกคิดของผู้ซื้อ (buyers’ black box)การตอบสนองของผู้ซื้อ (buyers’ response) ซึ่งสามารถอธิบายพอให้เข้าใจได้ดัง นี้ คือ
1  สิ่งกระตุ้น (stimulus) มีทั้งที่เกิดขึ้นเองในร่างกาย และสิ่งกระตุ้นจากภายนอก ซึ่งจะทำให้ผู้บริโภคเกิดความต้องการผลิตภัณฑ์ สิ่งกระตุ้นถือว่าเป็นเหตุจูงใจให้เกิดการซื้อสินค้า ซึ่งประกอบด้วย 2 ส่วนคือ
   สิ่งกระตุ้น                                 กล่องดำ(ความรู้สึกสำนึกคิด)                                     การตอบสนองของผู้ซื้อ



ภาพแสดงแนวความคิดเกี่ยวกับผู้บริโภค  ที่มา: Phillips Kotler, 1997:72

                1.1  สิ่งกระตุ้นทางการตลาด (marketing stimulus) เป็นสิ่งกระตุ้นที่นักการตลาดสามารถควบคุมจัดให้มีขึ้น เป็นสิ่งกระตุ้นที่เกี่ยวข้องกับส่วนประสมทางการตลาด (marketing mix) ซึ่งประกอบด้วย
1.1.1  สิ่งกระตุ้นด้านผลิตภัณฑ์ (product stimulus)
1.1.2  สิ่งกระตุ้นด้านราคา (price stimulus)
1.1.3  สิ่งกระตุ้นด้านการการจัดช่องทางการจำหน่าย (place stimulus)
1.1.4  สิ่งกระตุ้นด้านการส่งเสริมการตลาด (promotion stimulus)
                1.2  สิ่งกระตุ้นอื่นๆ (other stimulus) เป็นสิ่งกระตุ้นความต้องการผู้บริโภคที่อยู่ภายนอกองค์การซึ่งไม่สามารถควบคุมได้ ได้แก่
1.2.1  สิ่งกระตุ้นทางเศรษฐกิจ (economic stimulus)
1.2.2  สิ่งกระตุ้นทางเทคโนโลยี (technological stimulus)
1.2.3  สิ่งกระตุ้นทางกฎหมายและการเมือง (law and political stimulus)
1.2.4  สิ่งกระตุ้นทางวัฒนธรรม (cultural stimulus)
                2. กล่องดำความรู้สึกคิดของผู้ซื้อ (buyers’ black box) ความรู้สึกนึกคิดของผู้ซื้อเปรียบเสมือนกล่องดำ ซึ่งผู้ผลิตหรือผู้ขายไม่สามารถทราบได้ จึงต้องพยายามค้นหาความรู้สึกนึกคิดของผู้ซื้อ ซึ้งได้รับอิทธิพลจากลักษณะของผู้ซื้อ และกระบวนการตัดสินใจของผู้ซื้อ ซึ่งมีอิทธิพลจากปัจจัยต่างๆ ดังต่อไปนี้ คือ
2 .1 ปัจจัย ด้านวัฒนธรรม (cultural factor)
2 .2 ปัจจัย ด้านสังคม (social factor)
2 .3 ปัจจัย ด้านจิตวิทยา (psychological factor)
                ซึ่งปัจจัยดังกล่าวข้างต้น จะก่อให้เกิดขั้นตอนการตัดสินใจของผู้บริโภค
                3. การตอบสนองของผู้ซื้อ (buyers’ response) ผู้บริโภคจะมีการตัดสินใจในประเด็น ต่าง ๆ ดังนี้
3.1  การเลือกผลิตภัณฑ์ (product choice)
3.2  การเลือกตราสินค้า (brand choice)
และยังมีปัจจัยอีกคือ การเลือกผู้ขาย (dealer choice)  การเลือกเวลาในการซื้อ (timing purchase choice) การเลือกปริมาณการซื้อ (amount purchase choice) ที่เป็นปัจจัยมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของผู้บริโภคดังที่เสรี วงษ์มณฑาได้กล่าวถึงปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อการตัดสินใจ คือ
(1)  ลักษณะทางสรีระ เป็นปัจจัยเบื้องต้นในการกำหนดพฤติกรรมการซื้อ และพฤติกรรมการใช้ของผู้บริโภค มีบทบาทมากที่สุดในการตัดสินใจของมนุษย์ เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เนื่องจากเป็นความต้องการของร่างกายซึ่งมีส่วนใหญ่เป็นปัจจัยสี่ ซึ่งประกอบด้วย อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค
(2)  สภาพจิตวิทยา  เป็นความต้องการที่เกิดจากสภาพจิตใจ เป็นปัจจัยภายในที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของมนุษย์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของมนุษย์โดยอาจมีลักษณะความต้องการในเรื่องเดียวกัน แต่สภาพทางจิตใจไม่เหมือนกัน
(3)  ครอบครัว  เป็นกลุ่มสังคมเบื้องต้นที่บุคคลเป็นสมาชิกอยู่ ครอบครัวเป็นแหล่งอบรมและสร้างประสบการณ์ของบุคคล ถ่ายทอดนิสัย และค่านิยม ครอบครัวถือว่าเป็นหน่วยที่มีบทบาทในแง่ของการเตรียมตัวผู้บริโภคให้เข้าสู่สังคม
(4) สังคม  เป็นสิ่งที่อยู่รอบตัวเราซึ่งจะมีผลที่เราต้องทำตัวให้สอดคล้องกับบรรทัดฐานของสังคมการที่ผู้บริโภคเป็นคนชั้นสูง ชนชั้นกลาง หรือชนชั้นต่ำ ซึ่งแต่ละชนชั้นก็จะมีพฤติกรรมแตกต่างกัน
(5)  วัฒนธรรม  ไม่ว่าเราจะอยู่ชนชั้นใด      ในสังคมก็ตามมีวัฒนธรรมเป็นตัวครอบงำ วัฒนธรรม คือ วิถีชีวิตที่คนในสังคมยอมรับ ประพฤติปฏิบัติตามกันเพื่อความงอกงามของสังคม ซึ่งเป็นสิ่งดีสิ่งงามที่คนในสังคมยอมรับที่จะประพฤติปฏิบัติร่วมกันเพื่อให้สังคมนั้นดำเนินไปได้ด้วยดี เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น จึงกล่าวได้ว่า วัฒนธรรมไม่ใช่สิ่งที่ถาวร วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่มีชีวิต สามารถเปลี่ยนแปลงได้ แต่อาจจะใช้เวลานาน เนื่องจากเป็นการยอมรับของสังคมที่กว้างขวาง และเป็นสิ่งที่ยอมรับกันมานานมาก
                            การวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค (analyzing consumer behavior)   จึงเป็นการค้นหาหรือวิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมการซื้อและการใช้ของผู้บริโภค เพื่อทราบถึงลักษณะความต้องการและพฤติกรรม การซื้อ  และการใช้ของผู้บริโภค     เป็นการค้นหาคำตอบที่ได้จะช่วยให้ผู้ขายสินค้าสามารถจัดกลยุทธ์การตลาด (marketing  strategies)  ที่สามารถสนองความพึงพอใจของผู้บริโภคได้อย่างเหมาะสม   โดยคำถามที่ใช้เพื่อค้นหาลักษณะพฤติกรรมผู้บริโภค คือ 6W และ 1H เพื่อต้นหาคำตอบ 7 ประการ คือ 7 O ซึ่งประกอบด้วย Occupants Objects, Objectives, Organizations, Occasions, Outlets & Operation



  


คำถาม 6Ws และ 1H
คำถามที่ต้องการทราบ 7 Os
กลยุทธ์การตลาดที่เกี่ยวข้อง
1.   ใครอยู่ในตลาด
      เป้าหมาย
(Who)
ลักษณะกลุ่มเป้าหมาย (Occupants)
1.     ประชากรศาสตร์
2.     ภูมิศาสตร์
3.     จิตวิทยา
4.     พฤติกรรมศาสตร์
กลยุทธ์การตลาด (4Ps) ประกอบด้วยผลิตภัณฑ์  ราคา
การจัดจำหน่าย  และการส่งเสริมการตลาด
2.   ผู้บริโภคซื้ออะไร
(What)
สิ่งที่ผู้บริโภคต้องการซื้อ (Objects)ผู้บริโภคต้องการคุณสมบัติ  หรือองค์ประกอบของผลิตภัณฑ์ความแตกต่างที่เหนือคู่แข่งขัน
กลยุทธ์ด้านผลิตภัณฑ์ประกอบด้วยผลิตภัณฑ์หลัก รูปลักษณ์   การบรรจุภัณฑ์ ตราสินค้า รูปแบบ คุณภาพบริการ   ลักษณะนวัตกรรม
ผลิตภัณฑ์ควบ   ผลิตภัณฑ์ที่คาดหวัง ศักยภาพผลิตภัณฑ์
3.   ทำไมผู้บริโภค
     จึงซื้อ  (Why)
วัตถุประสงค์ในการซื้อ (Objectives)
ผู้บริโภคซื้อสินค้าเพื่อตอบสนองความต้องการด้านร่างกาย และ จิตวิทยา ซึ่งต้องศึกษาถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการซื้อ คือ ปัจจัยภายใน ปัจจัยภายนอก และปัจจัยเฉพาะบุคคล
กลยุทธ์ที่ใช้กันมากคือ
-   กลยุทธ์ด้านผลิตภัณฑ์
-   กลยุทธ์ด้านการส่งเสริมการตลาด
-   กลยุทธ์ด้านราคา
-   กลยุทธ์ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย
4.   ใครมีส่วนร่วมในการตัดสินใจซื้อ
           (Who)
บทบาทของกลุ่มต่างๆ (Organization) มีอิทธิพลในการตัดสินใจซื้อ ประกอบด้วย ผู้ริเริ่ม ผู้มีอิทธิพล ผู้ตัดสินใจซื้อ ผู้ซื้อ ผู้ใช้
กลยุทธ์การโฆษณา และกลยุทธ์การส่งเสริมการตลาด โดยใช้กลุ่มอิทธิพล
5.   ผู้บริโภคซึ่งเมื่อไร  (When)
โอกาสในการซื้อ (Occasions) เช่น ช่วงเดือนใดของปี หรือช่วงฤดูกาลของปี ช่วงวันใดของเดือน หรือโอกาสพิเศษหรือเทศกาลสำคัญๆ ต่างๆ
กลยุทธ์ที่ใช้คือ    กลยุทธ์การส่งเสริมการตลาด ที่สอดคล้องกับโอกาสในการซื้อ


6.ผู้บริโภค ซื้อที่ใด
  (Where)
จะซื้อที่ใด ร้านใด (outlet)
กลยุทธ์ที่ใช้คือจัดสถานที่ หรือ Window Display ให้เจาะใจ เตะตา
7.   ผู้บริโภคซื้ออย่างไร (How)
ขั้นตอนในการตัดสินใจซื้อ (Operations) ประกอบด้วย การรับรู้ปัญหา การค้นหาข้อมูล การประเมินผลทางเลือก การตัดสินใจซื้อ ความรู้สึกภายหลังการซื้อ
กลยุทธ์ที่ใช้มากคือ   กลยุทธ์ส่งเสริมการตลาด ประกอบด้วยการโฆษณา การขายโดยใช้พนักงานขาย การให้ข่าว การประชาสัมพันธ์  การตลาดทางตรง


                            จากแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมผู้บริโภคกับการบริหารการตลาดยุคใหม่ ของ     ดร.สมัย เหมมั่น และคณะ ที่ผู้เขียนกล่าวอ้างมาข้างต้นแล้วนั้น  พอจะสรุปได้ว่า   พฤติกรรมของผู้บริโภค มีผลต่อกลยุทธ์ของตลาดธุรกิจ จำเป็นที่นักการตลาดต้องศึกษามูลเหตุจูงใจที่เป็นสิ่งกระตุ้นในการตัดสินใจซื้อ  การค้นหาความรู้สึกนึกคิดของผู้บริโภค  ลักษณะของผู้บริโภค  การตอบสนองของผู้บริโภค  และขั้นตอนในการตัดสินใจซื้อ เพื่อเข้าใจถึงพฤติกรรมของผู้บริโภค      และสามารถลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับธุรกิจ   ดังนั้นพฤติกรรมผู้บริโภค  จึงเป็นตัวแปรตัวหนึ่งที่สำคัญที่เราทั้งหลายต้องสนใจศึกษาพฤติกรรมการซื้อสินค้าของผู้บริโภคในตลาดต่างๆ เพื่อสามารถวาง กลยุทธ์ตลาดที่ตอบสนองความพึงพอใจของผู้บริโภคได้อย่างเหมาะสม  กำไรเหมาะสม และ Brand ของท่านจะสามรถครองตลาดไปได้นานเท่าที่จะนานอยู่ในความทรงจำของผู้บริโภค หรือ ผู้ซื้อได้ ตลอดไป
                สรุปง่ายๆคือ สร้างชื่อเสียง และ สร้าง Brand ก่อน แล้ว เงินจะตามมาเอง ถ้าเข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภคมีส่วนในการตัดสินใจในการกระทำกิจกรรมทางการตลาด ครับ
                ที่กล่าวมาทั้งหมด ไม่ลอง ไม่รู้ครับ และที่รู้กันมา มีการลองผิด ลองถูกมามากแล้ว และอย่าลืมว่า ทฤษฎีที่ยกมากล่าวอ้างนั้น มาจากการปฏิบัติการมาหมดแล้วครับ เพราะรู้ปฏิบัติมาก่อน แล้วนำมาสรุปเป็นทฤษฎี แต่ถ้ารู้ทฤษฎีแล้ว ไม่ปฏิบัติอีก คือ ความว่างเปล่า และ ปฏิบัติ ไม่อิงทฤษฎี ก็อาจหลงทาง เสียเวลาไปนาน ลองพิจารณาดูนะครับ
                ผู้เขียนขอขอบคุณชิ้นงานวิจัย และเอกสารตำราของที่กล่าวอ้าง และไม่ได้อ้างมาทั้งหมด และขอให้ความสำคัญงานงวิจัยที่เรียกว่า Research
                Re-ใหม่    Search-การค้นหา ต้องค้นหาใหม่ๆไปเพื่อต่อยอดต่อๆไปครับ


โดย ดร.สมัย เหมมั่น  DBA    Global  Management

การจัดการทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์ โดย ดร.สมัย เหมมั่น


การจัดการทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์

วัตถุประสงค์การเรียนรู้
เพิ่อที่จะให้เนื้อหาและกิจกรรมต่างๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องนั้นสมบุรณ์ยิ่งขึ้น  คุณควรจะปฏิบัติดังต่อไปนี้
  • เข้าใจในเนื้อหาและกระบวนการของทฤษฎีแรงจูงใจต่างๆ ในเนื้อหา กลยุทธ์ในการจัดการทรัพยากรมนุษย์
  • อธิบายแรงจูงใจในการจัดการทรัพยากรมนุษย์ด้วยคำพูดของตัวเองและพูดถึงวิธีที่สร้างแรงจูงใจให้กับคนที่ทำงาน
  • อธิบายถึงกลยุทธ์ในการรักษาองค์กรต่างๆ
  • เข้าใจและอธิบายถึงความสำคัญของลักษณะและความปลอดภัยของค์กร
  • อธิบายถึงระบบต่างๆ ในการจ่ายเงินในวิธีต่างๆ ภายในองค์กร
  • แสดงถึงบทบาทของผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ในการสร้างแรงจูงใจให้แก่คนในสถานที่ทำงาน
  • ตระหนักถึงความสำคัญของรางวัลต่างๆ ในการรักษาทรัพยากรมนุษย์ขององค์

คำนำ
ไม่มีข้อสงสัยใดใดที่ว่ามนุษย์เป็นสินทรัพย์ที่มีค่ามากที่สุดขององค์กรเปรียบเทียบเท่ากับความสำเร็จและความยั่งยืนของบริษัทซึ่งขึ้นอยู่กับลูกจ้าง (Pierce et al., Torrington et al., 2002) ] ลูกจ้างทุกๆ คนต้องการแรงจูงใจ  ไม่ว่าจะเป็นขนาดของบริษัทที่พวกเขาทำงานกัน  เพื่อที่จะสร้างประสิทธิภาพและก่อประสิทธิผล  ในสภาพการณ์ธุรกิจในปัจจุบันผู้จัดการจะต้องมีความสามารถในการสร้างแรงจูงใจให้แก่คนงาน  ซึ่งแรงจูงใจนี้เป็นกุญแจสำคัญในการดำเนินงานของลูกจ้าง
                ในปัจจุบันสิ่งที่สำคัญที่สุดของการจัดการทรัพยากรมนุษย์คือการเพิ่มแรงจูงใจ  ว่าง่ายๆ เพราะแรงจูงใจมีส่วนที่เชื่อมโยงโดยตรงกับการตัดสินใจของลูกจ้างและความสามารถต่างๆ ที่เข้าได้รับเพื่อตอบสนองการผลิตที่ดีขึ้น  ขณะที่เงินไม่ใช้เพียงปัจจัยเดียวที่ลูกจ้างมาทำงาน  มันยังเป็นส่วนสำคัญ (Analoui, 1997) ลูกจ้างจำนวนมากทำงานหนักมากขึ้นตั้งใจมากขึ้นในงานของพวกเขา  ถ้าผลตอบแทนที่พวกเขาได้รับที่รู้สึกว่ายุติธรรมและท้าทาย   โดยทั่วๆ ไปไม่ว่าจะใช้ความพยายามมากน้อยสักเท่าไหร่ในการจัดการบริหารทรัพยากรมนุษย์  ถ้าลูกจ้างไม่มีแรงจูงใจ  รางวัลคือการปฏิบัติงานในการจัดการทรัพยากรมนุษย์เต็มความสามารถ  บางครั้งความพึงพอใจของลูกจ้างสามารถส่งผลถึงการสร้างกลยุทธ์ผลตอบแทนที่ดีเยี่ยม  แทนที่จะเป็นการใช้ความพยายามอย่างมากในการจัดการทรัพยากรมนุษย์ (Kessler,2001 )
            วิธีการสร้างแรงจูงใจให้มีมากขึ้นในช่วงระยะเวลา 20-30 ปี ระหว่างปี 1988 และ 1995 บริษัทของสหรัฐอเมริกาจำนวนมากเสนอการจ่ายเงินเดือนลูกจ้างโดยเพิ่มขึ้นจาก 47 เปอร์เซนต์เป็น 77 เปอร์เซนต์   โดยทฤษฎี  การพัฒนาเป็นสิ่งที่ถูกต้องเพราะคนงานส่วนมากคิดว่าพวกเขาทำงานหนักขึ้นและควรจะได้รับผลตอบแทนที่ดีขึ้น  ในทางตรงกันข้าม 70 เปอร์เซนต์ของลูกจ้างที่ได้รับผลตอบแทนในบริษัทต่างๆ รู้สึกว่าเป็นสิ่งที่ไม่ยุติธรรม  การจ่ายผลตอบแทนเป็นไปตามตำแหน่งในการทำงาน   ระบบผลตอบแทนเป็นรางวัลแก่ลูกจ้างที่ปฏิบัติงานที่สามารถทำให้องค์กรหรือบริษัทไปถึงเป้าหมายและความพอใจของบริษัทที่กำหนดไว้  แต่ระบบผลตอบแทนยังคงมีใช้ในการจัดการทรัพยากรมนุษย์โดยกลยุทธ์ต่างๆ เพื่อที่นำไปผสมผสานในการจัดการทรัพยากรมนุษย์  รวมไปถึงระบบผลตอบแทนและกลยุทธ์ทางธุรกิจขององค์กร  ดังนั้นการวางแผนผลตอบแทนเชิงกลยุทธ์สามารถเป็นได้ทั้งสิ่งที่ดีและไม่ดี  ซึ่งความพึงพอใจของลูกจ้างเป็นสิ่งที่สำคัญในการตัดสินใจเพิ่อให้ได้ตามเป้าหมายทางธุรกิจขององค์กร (Issa, 1999) ระบบผลตอบแทนในเชิงกลยุทธ์เป็นสิ่งที่สำคัญว่าองค์กรจะดีหรือไม่  ซึ่งเป็นโครงสร้างภายในแต่ก็เป็นส่วนช่วยให้องค์กรประสบผลสำเร็จได้ (Purcell, 2001)
            บทนี้จะสรุปอย่างคร่าวๆ ในทฤษฎีแรงจูงใจและผลตอบแทนในทีมงาน  ต่อมาจะเป็นการอธิบายถึงกลยุทธ์ต่างๆ ในการสร้างสภาพแรงจูงใจในระหว่างสมาชิก  หลังจากการอธิบายถึงระบบการจ่ายเงินแล้ว  ยังกล่าวถึงเนื้อหาความปลอดภัยและสุขภาพในองค์กร  ท้ายที่สุดบทนี้จะสรุปเนื้อหาในสิ่งที่พูดมาทั้งหมด

                                                                แรงจูงใจในสถานที่ทำงาน
การสร้างแรงจูงใจให้แก่คนในสถานที่ทำงานเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก  ดังนั้นคำถามง่ายๆ คือ อะไรที่เป็นตัวกระตุ้นให้คนทำงาน  อาจจะเป็นเงินเดือนสูง  เจ้านายและเพื่อนร่วมงานที่เป็นมิตร  ความรับผิดชอบอย่างมาก  สำนักงานที่สะดวกสบาย  ความรู้สึกที่ประสบความสำเร็จหรือแรงดึงดูดในความก้าวหน้าในอนาคต  คำตอบมากมายที่ไม่มีวันจบสิ้นและก็ขึ้นอยู่กับส่วนตัวบุคคล  Preffer อ้างเหตุผลว่าคนทำงานเพื่อเงินแต่พวกเขาทำงานเพื่อต้องการความหมายที่มากกว่าความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น (1998: 112) Dawson (1992) อธิบายถึงแรงจูงใจเป็นสิ่งสำคัญของพฤติกรรม  ซึ่งอธิบายได้ว่าแต่ละบุคคลเลือกที่จะใช้ความพยายามไปจนถึงเป้าหมายที่พวกเขาต้องการ  แรงจูงใจจำกัดความได้ว่าการดำเนินการต่างๆ ซึ่งกระตุ้น  มุ่งสู่และรักษาพฤติกรรมของมนุษย์จนไปถึงเป้าหมายที่วางไว้
 ( Vroom, 1964: Greenberg and Baron, 2003)  ซึ่งสามารถกล่าวได้ว่าเป็น แรงผลักดันภายในแต่ละบุคคลซึ่งพวกเขาได้พยายามบรรลุเป้าหมายเพื่อที่จะเติมเต็มความต้องการและความคาดหวัง ( Mullin, 2002: 418, 426, 443-5)
            เพื่อความเข้าใจอย่างมากในขั้นตอนสร้างแรงจูงใจและความสำคัญในองค์กร  ซึ่งคุณจะต้องเข้าใจทฤษฎีพื้นฐานทั้งสองของแรงจูงใจ  เนื้อหาและทฤษฎีในการดำเนินงาน  วัตถุประสงค์ในการสร้างแรงจูงใจให้ลูกจ้างจะมีความแตกต่างจากบริษัทหนึ่งไปอีกบริษัท  อย่างไรก็ตามปัจจัยหนึ่งก็เป็สิ่งที่สำคัญนั้นตือปัญหา  ผู้จัดการหลายๆ คนต้องการการแก้ไขในเชิงบวก  Thompson and McHugh (2002) ได้สังเกตว่ามี 2 วิธีในการอธิบายเรื่องแรงจูงใจ  อย่างแรกเป็นความต้องการตามสัญชาตญาณซึ่งผลักดันให้คนทำตามความปรารถนาของตัวเอง  และอย่างที่สองเป็นเรื่องของการตอบสนองแรงกระตุ้นซึ่งคนสามารถค้นหาจากสิ่งต่างๆ ที่ตนเองพอใจและหลีกเลี่ยงในสิ่งที่ทำร้ายตัวเอง  ทฤษฎีโดยส่วนใหญ่ดูเหมือนจะเกี่ยวข้องกับความต้องการของคนในสถานที่ทำงาน  ในแต่ละบุคคลมีความต้องการที่แตกต่างกันซึ่งพวกเขาต้องการความพึงพอใจในที่ทำงานด้วย
                อย่างไรก็ตามในบทนี้จะให้ความสำคัญในรูปแบบความเข้าใจของแรงจูงใจซึงตรวจสอบไม่ว่าจะเป็นการอธิบายถึงแรงจูงใจโดยดูจากความคิด  อย่างเช่น ตัวกระตุ้นความต้องการและเป้าหมาย  หรือตรวจสอบขั้นตอนในพฤติกรรมที่ถูกเลือก  ซึ่งเกี่ยวข้องกับกระบวนในการตัดสินใจ (Rosenberg et al., 1995; Huczynski and Buchanan, 2001)

                                                เนื้อหาในทฤษฎีต่างๆ ของแรงจูงใจ
Maslow’s need hierarchy
รายละเอียดเนื้อหาของแรงจูงใจเป็นส่วนเกี่ยวข้องกับรูปแบบลำดับของความต้องการที่ถูกพัฒนาจาก Abraham Maslow ตามที่ Maslow (1970) ได้กล่าวว่าชีวิตมนุษย์จะไม่มีวันเข้าใจถึงความต้องการสูงสุดที่ตนเองได้รับ  การเจริญเติบโต  การยอมรับตัวเอง  ความต้องการไม่ว่าจะเป็นเรื่องสุขภาพ  คำถามเพื่อการแสดงตนและยอมรับตัวตน  การปรารถนาในสิ่งที่ดีเยี่ยม (และวิธีต่างๆ ของคำว่าอยู่รอด) จะต้องได้รับการยอมรับว่าเป็นคำถามเพื่อที่จะแสดงความเป็นมนุษย์โดยสากล
                ตามทฤษฎีของเขา  แรงจูงใจของคนพัฒนาตามลำดับขั้นเป็นลำดับของความต้องการ  ลำดับของความต้องการขั้นพื้นฐานมีดังต่อไปนี้
  1. ความต้องการทางกายภาพ  ความต้องการทางร่างกาย  อย่างเช่นความหิว  ความกระหาย  ที่อยู่อาศัยและความต้องการทางเพศ
  2. ความต้องการความปลอดภัย  ความต้องการความปลอดภัยและการปกป้องจากอันตรายทางกายภาพและด้านอารมณ์
  3. ความต้องการทางสังคม  ความต้องการด้านความรัก การเป็นเจ้าของ  ความรู้สึก  การยอมรับและเพื่อน
  4. ความต้องการด้านการยกย่อง  ยกย่องจากภายใน (อย่างเช่น เคารพตัวเอง  ความมั่นใจตัวเอง) และการยกย่องจากภายนอก (อย่างเช่น สถานภาพ, การเข้าใจ, การสนใจ)
  5. ความต้องการที่ให้มีความสามารถที่ให้ใช้จุดเด่นของตนเองได้อย่างเต็มที่  แรงผลักดันไปสู่ศักยภาพ  รวมไปถึงศักยภาพในการเจริญเติบโตในตนเอง  ความประสบความสำเร็จ การเติมเต็มตนเอง

ความต้องการระดับต่ำลงมาเป็นความต้องการทางกายภาพและความปลอดภัย  ขณะที่สูงขึ้นไปเป็นความต้องการทางสังคม  ด้านการยกย่องและความสามารถที่ให้ใช้จุดเด่นของตนเองได้อย่างเต็มที่  ทฤษฎีเกี่ยววิวัฒนาการจากสมมุติฐาน 2 ข้อที่สำคัญ  อย่างแรกความต้องการด้านความพอใจจะไม่เป็นตัวกระตุ้น  อย่างที่สองความต้องการในระดับที่ต่ำกว่าเป็นที่น่าพอใจ  ความต้องการในระดับที่สูงกว่าจะไม่แสดงออกมา
        ความสัมพันธ์ในเนื้อหาของทฤษฎีและการนำไปปฏิบัติใช้สัมพันธ์กับการปฏิบัติงานในรูปแบบของ ความพึงพอใจในงาน Maslow (1943, 1954, 1970) แบ่งประเภทความต้องการตามความสำคัญ  ตามจากงานวิจัยความต้องการในระดับที่สูงกว่าจะไม่เป็นตัวกระตุ้น  ถ้าไม่มีความต้องการในระดับที่ต่ำกว่าพอใจอยู่  ดังนั้นเขาพบว่าไม่ว่าจะเป็นความต้องการที่พอใจหรือไม่ก็ไม่มีตัวกระตุ้นทั้งสิ้น  ผู้จัดการหลายคนไม่สนใจเกี่ยวกับความพึงพอใจในความต้องการในสมมุติฐานของ Maslow แทนที่พวกเขาจะใช้ประโยชน์อื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการเงินของแรงงาน  ความพึงพอใจของลูกจ้างควรจะได้รับพิจารณาว่ามีความสำคัญไม่น้อยไปกว่ากระบวนการในการประกอบกิจการ (Thompson and McHugh,2002)
      งานของ Maslow ได้รับการยกย่องและวิพากษ์วิจารณ์จากนักเขียนจำนวนมาก  ความคิดที่เป็นทางเลือกได้ถูกแนะนำให้แก่ผู้คนที่เกี่ยวข้องกับความพึงพอใจในความต้องการที่แตกต่างกัน 2 3 ข้อ  ซึ่งมากกว่า 1 ระดับ  ยิ่งไปกว่านั้นความต้องการในแต่ละบุคคลที่มีความหลากหลายตามแต่สถานภาพและความเข้าใจซึ่งองค์กรจะได้เสนอความสำเร็จที่เป็นเป้าหมายโดยเฉพาะทาง  ด้วยทัศนคติที่กำลังเปลี่ยนไปไม่ว่าจะเป็นส่วนรัฐบาลของอังกฤษและมหาวิทยาลัยต่างๆ แต่ละบุคคลไม่ได้ยืนยันถึงความปลอดภัยในการจ้างงาน  ผุ้คนได้คาดหวังที่จะทำงานเพื่อดำรงการยอมรับตนเองและความพึงพอใจในเป้าหมายส่วนตน  ผู้จัดการผู้หญิงเป็นอย่างไร  พวกเขาสนใจการครอบครองไหม  พวกเขาพยายามไปจนถึงความพึงพอใจในความต้องการระดับต่ำกว่าไหม  น่าสนใจที่ผู้จัดการผู้หญิงได้แสดงความห่วงใยในความต้องการในระดับที่สูงกว่าเพื่อนร่วมงานผู้ชาย (Kakabadse et al.,2004)  ยิ่งไปกว่านั้น McClelland ได้พูดว่าควมต้องการทั้งหมดไม่ได้เป็นไปตามที่ Maslow กล่าวไว้  หลายๆ คนได้คิดว่ามันไม่ใช่สิ่งที่แปลกซึ่งจากวัฒนธรรมหนึ่งไปสู่อีกวัฒนธรรมหนึ่ง  ในโลกที่กำลังพัฒนา  อิทธิพลขององค์ประกอบทางเศรษฐกิจและสังคมอยู่ในระดับการกระตุ้นของลูกจ้างที่มองเห็นได้  งานวิจัยของ Analoui นำไปสู่ผู้จัดการระดับอาวุโสในส่วนของรัฐบาลในประเทศกานาซึ่งเปิดเผยว่าแรงจูงใจของผู้คนสามารถเกิดความซับซ้อนอย่างมากและความสำคัญของเงินก็เป็นตัวกระตุ้นที่ไม่ใช้ทั้งหมดเลยทีเดียว
        ผู้จัดการทั้งหมดรายงานว่าประสิทธิภาพส่งผลด้านตรงกันข้ามในระดับต่ำของผลตอบแทน  เพราะพวกเขาจะต้องคิดเกี่ยวกับ วิธีที่จะชดเชยในการขาดหรือใช้เวลาภายนอกในองค์กร  บ่อยครั้งที่พฤติกรรมมาจากการเลี้ยงดูของครอบครัว (Analoui, 1999:372)
Blunt and Jones  ยังได้เสนอแนะคำแนะนำที่น่าสนใจเพิ่มเติมว่า ในแอฟริกา  มันปลอดภัยที่จะคิดได้ว่าส่วนใหญ่เป็นคนงานในระดับที่ต่ำกว่า  บางส่วนเนื่องมาจากข้อตกลงที่เกิดขึ้นภายในครอบครัวและญาติพี่น้อง  ซึ่งเกี่ยวข้องกับความพอใจในความต้องการขั้นพื้นฐานที่มากขึ้นและความปลอดภัยในการจ้างงาน (1992: 283) นักวิชาการชาวไนจีเรียอาวุโสแสดงให้เห็นถึงณุปแบบต่างๆ ของแรงจูงใจที่ถูกพัฒนาบนพื้นฐานของการวิจัยที่ประสบความสำเร็จในทางตะวันตก  บางทีอาจจะเป็นสิ่งที่ปฏิบัติในเมือง Nairobi and Logos ด้วย สรุป การพิจารณาถึงความต้องการซึ่งเป็นพื้นฐานแรงจูงใจในแต่ละบุคคลจะต้องรวมไปถึงเนื้อหาทางองค์กรซึ่งกลายเป็นส่วนที่สำคัญไปสู่ในตัวบุคคล  สังคมซึ่งคนอาศัยและทำงาน

ทฤษฎีของ Alderfer’s ERG
ตามที่ Alderfer(1964) มีความต้องการขั้นพื้นฐานอยู่ 3 ประเภท   ซึ่งเขาเรียกว่าการมีอยู่ (ความต้องการทางกายภาพและความปลอดภัย)  ความสัมพันธ์ (การเข้าร่วมและความต้องการการยอมรับ)  และการเจริญเติบโต (การยอมรับตนเองและความต้องการใช้จุดเด่นขงตนเองอย่างเต็มที่)  อย่างไรก็ไม่เหมือนกับ Maslow Alderfer ได้ให้ความสำคัญกับลำดับความต้องการเหล่านี้น้อยกว่า  สมมุติฐานเบื้องต้นของทฤษฎีคือ
  • ความต้องการในระดับความพึงพอใจที่ต่ำกว่านำไปสู่ความปรารถนาความต้องการในระดับความพึงพอใจที่สูงกว่า
  • ความต้องการที่หลากหลายสามารถเกิดในเวลาเดียวกันโดยมีตัวกระตุ้น
  • ความผิดหวังในความพยายามเพื่อสร้างความพใจในความต้องการระดับที่สูงกว่าสามารถส่งผลถดถอยในความต้องการที่ระดับต่ำกว่า
จุดสุดท้ายเกี่ยวกับความผิดหวังที่กลายเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด  Kakabadse และคณะได้แนะนำว่า ถ้าในแต่ละบุคคลไม่สามารถรู้ว่าอะไรที่พวกเขาได้จากงาน  ดังนั้นพวกเขาจะต้องการมันมากขึ้นกว่าที่เขาได้รับ  ดังนั้นลูกจ้างอาจจะมีการแบ่งแยกที่ทำงาน  ตัวอย่างเช่นความต้องการเงินมากกว่า  เมื่อทราบว่าอะไรที่พวกเขาต้องการอย่างแท้จริงว่าเป็นงานที่ท้าทายยิ่งขึ้น (2004: 67) ความผิดหวังอาจจะนำไปสู่พฤติกรรมอย่างเช่น  การล้วงกระเป๋าหรือขโมย  ซึ่งเป็นทางเลือกหรือพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในการสร้างความพึงพอใจในความต้องการ
ขณะที่มีตัวกระตุ้น  อย่างเช่นพฤติกรรม  ในการศึกษาไม่นานมานี้พวกเขาได้การตอบสนองมาจากความผิดหวังและขาดแรงจูงใจในลูกจ้าง  (Analoui, 2000)

ทฤษฎีการรับรู้ : Herzberg’s two-factor model
แทนที่จะถามว่าอะไรเป็นแรงผลักดันหรือกระตุ้นพฤติกรรม  ทฤษฎีการรับรู้ถามว่าอะไรเป็นปัจจัยภายนอกที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของคนในที่ทำงาน  Kakabadse และคณะ อ้างเหตุผลว่าผู้จัดการหลายคนได้ฝึกถึงอิทธิพลที่รับรู้ได้  ขณะที่พวกเขาอาจจะมีอิทธิพลอย่างมากในภายหลัง  สิ่งนี้ไม่ได้เสนอแนะว่าความต้องการ  อย่างเช่นเงิน  ความปลอดภัยและความสัมพันธ์ทางสังคม  และความต้องการในระดับที่สูงกว่าอย่างเช่น  การยอมรับนั้นไม่สำคัญกว่า ข้อพิจารณาที่จะช่วยผู้จัดการในการตัดสินใจบทบาทต่างๆ ที่สร้างความพอใจและขจัดความไม่พอใจจากสภาพแวดล้อมที่ทำงาน (Bagulay, 1999) สิ่งที่สำคัญในการพัฒนาของ Hertberg’s two-factor theory of motivation (1968).
            ตามที่หลักการ  ความไม่พอใจถูกแสดงความคิดเห็นในด้านตรงกันข้ามกับความพึงพอใจ  อย่างไรก็ตามที่ความคิดทั้งสองแนวคิดของ Herzberg นั้นมีความแตกต่างกันอย่างมาก  ในความคิดของเขา  มีความพอใจหรือไม่พอใจ และมีความไม่พอใจ หรือพอใจ  เพื่อที่จะอธิบายความคิดของเขา  Herzberg ได้ใช้องค์ประกอบที่สำคัญ 2 ปัจจัยคือ  ตัวกระตุ้นและยุทธศาสตร์  ปัจจัยด้านตัวกระตุ้นมีรากฐานมาจากเนื้อหาที่มีอยู่ภายในงานและนำไปสู่ความพึงพอใจในงาน (อย่างเช่น  ความรับผิดชอบ, งาน,และความเข้าใจ)  ขณะที่ปัจจัยด้านยุทธศาสตร์นั้นมีรากฐานจากเนื้อหาภายนอกของงานและนำไปสู่การคุ้มครองในความไม่พอใจในงาน (อย่างเช่น สภาพการทำงาน, เงินเดือน, นโยบายบริษัท)
                Herzberg (1968) ได้แสดงถึง “ job enrichment” ซึ่งหาได้จากปรับปรุงสภาพการทำงานซึ่งลูกจ้างหลายๆ คนจะมีการกระตือรือร้นด้วยตนเองเพียงพอที่จะปรับปรุงการทำงาน  อย่างไรก็ตามนอกจากสมมุติฐานที่แสดงให้เห็นถึงความล้มเหลวถ้ามีการปรับปรุงที่แท้จริงเกิดขึ้นในปัจจัยต่างๆ ซึ่งส่งผลต่อสภาพการทำงานและสภาพแวดล้อม
                Herzberg (1968) ได้แนะนำทฤษฎีที่มีปัจจัย 2 ตัวซึ่งมีตัวกระตุ้น  อย่างเช่นการเจริญเติบโต  ความรับผิดชอบ  ความสำเร็จและความหลากหลายซึ่งเกี่ยวข้องในสภาพของงานและความพอใจซึ่งแตกต่างในผลลัพธ์ที่ต่างจากปัจจัยด้านกลยุทธ์ (เงินเดือน, สภาพการณ์, ความปลอดภัยและความสัมพันธ์)  ขณะที่ปัจจัยแรกเป็นการกระตุ้นคน ซึ่งมีคุณค่า เป็นผลตอบแทนและการยอมรับจากภายใน  ตัวกระตุ้นที่เหลือเป็นผลตอบแทนและการยอมรับจากภายนอก (Argyle, 1974)
            งานวิจัยเดิมที่ใช้อยู่เพื่อทราบถึงเทคนิคเหตุการณ์ที่สำคัญ  วิธีนี้เกี่ยวข้องกับการสัมภาษณ์ซึ่งให้ผู้ตอบมีโอกาสได้พูดถึงเกี่ยวกับโอกาสต่างๆ เมื่อเวลาที่เขารู้สึกพอใจเป็นพิเศษหรือไม่พอใจในงานของเขา  สถานการณ์ 2 อย่างจะเกิดขึ้นในกระบวนการนี้  อย่างแรกเกี่ยวข้องกับการบรรลุเป้าหมาย  การเข้าใจและความก้าวหน้า  และพวกเขาจะถูกตัวกระตุ้นต่างๆ ในกลุ่มที่ 2 จะเกี่ยวข้องกับสภาพการทำงาน  เงินเดือน  ความปลอดภัยในงาน  นโยบายของบริษัท  ความสัมพันธ์ในการตรวจสอบในแผนกและรายบุคคล  รูปแบบนี้เรียกว่า “hygiene factors” ปัจจัยด้านกลยุทธ์นั้นอธิบายถึงที่มาของความไม่พอใจโดยการสัมภาษณืเป็นตัวอย่าง  วิธีต่างๆ อย่างเช่น “job enrichment” สันนิษฐานได้ว่าแรงจูงใจในการทำงานจะแสดงออกมาให้เห็นเมื่อมีเนื้อหาที่เพียงพอและปัจจัยในแต่ละบุคคล
                เมื่อเปรียบเทียบกับลำดับขั้นตามความต้องการ  องค์ประกอบด้านกลยุทธ์ตอบสนองในระดับความต้องการในระดับที่ต่ำกว่า  ขณะที่ตัวกระตุ้นต่างๆ เป็นทางกายภาพตามธรรมชาติและยังสัมพันธ์กับความต้องการในการยอมรับและการใช้จุดเด่นของตนเองเพื่อเป็นประโยชน์สูงสุดในลูกจ้าง  Hertzberg ได้แนะนำถึงกลยุทธ์ที่รักษาความพึงพอใจที่จะไม่จำเป็นในการกระตุ้นคนแต่มันจะหยุดพวกเขาจากความไม่พอใจได้อีกด้วย  จริงๆ แล้วการลดตัวกระตุ้นจะนำมาถึงความสำคัญในการพัฒนาสภาพการทำงาน  การตรวจสอบและเงินเดือนเพื่อที่จะขจัดความไม่พึงพอใจออกจากงาน  ในประเทศที่กำลังพัฒนาผู้จัดการสามารถเข้าถึงเงินจำนวนไม่มากเท่าไหร่ซึ่งเป็นการชดเชยความพยายาม  ผู้จัดการจะหาพนักงานที่มีความรับผิดชอบสูงและเข้าใจในงานดี  ในการศึกษาทางรถไฟในอินเดีย  ผู้จัดการอาวุโสจะสอบถามปัจจัยที่บ่งชี้ถึงตัวกระตุ้นให้พวกเขาทำงานหนักขึ้น 
ปัจจัยทั้ง 6 มีดังต่อไปนี้
  1. งานที่สำคัญ
  2. ความเข้าใจในงานที่ดี
  3. งานที่มีความท้าทาย (การเจริญเติบโตส่วนตัว)
  4. การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ
  5. ความรับผิดชอบส่วนตัว
  6. ความก้าวหน้าและการเลื่อนขั้น
ผู้จัดการอาวุโสจะคิดว่าความสำคัญของตัวกระตุ้นนั้นจะกระตุ้นให้คนทำงาน  และปัจจัยนอกเหนือไม่เพียงจะสร้างแรงจูงใจแต่ยังทำให้ลูกจ้างทำงานได้อีกด้วย

                                                                ทฤษฎีต่างๆในการสร้างแรงจูงใจ
ทฤษฎีเหล่านี้ให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรคงที่ของแรงจูงใจ  โดยที่ขึ้นอยู่กับการเปรียบเทียบและแลกเปลี่ยนทางสังคม  อย่างเช่นทฤษฎีการแลกเปลี่ยน (Homans, 1961) หรือ การเปรียบเทียบผลลัพธ์และการดำเนินการ  อย่างเช่นทฤษฎีการคาดหวัง (Vroom,, 1964) หลายๆ วิธีที่ใช้ในการกระตุ้นและส่งผลในการเลือกเป้าหมายต่างๆ (Arnold et al., 1998: 525-4) ซึ่งมีความลำบากในการสร้างเครื่องมืออย่างเช่น  ทฤษฎีต่างๆ เพราะว่ามันสัมพันธ์กับวิธีการในการวัดอย่างถุกต้องและคาดการณ์จุดแข็งของแนวโน้มในแต่ละบุคคลได้เพื่อไปปรับใช้ (Huczynski and Buchanan, 2001: 248-52)  ตัวอย่างเช่นในแต่ละบุคคลสามารถคิดโดยใช้พื้นฐานในความเข้าใจและเมื่อตัดสินใจทำลงไป  แต่ปัญหาอีกอย่างหนึ่งที่พบคือความคิดที่เป็นลักษณะเฉพาะขององค์กรต่างๆ ซึ่งอยู่บนพื้นฐานการกระทำที่ไม่สมเหตุสมผลของลูกจ้างที่เอาแต่ใจตัวเอง  ยิ่งไปกว่านั้นสันนิษฐานได้ว่าภายในองค์กรมีแหล่งข้อมูลที่ไม่สมเหตุผล  พฤติกรรมที่อธิบายถึงผลที่ตามมาของกระบวนทางความคิดโดยมีความเข้าใจอย่างถ่องแท้ (Analoui, 2000)

ทฤษฎีการคาดหวัง
ก่อนหน้านี้ทฤษฎีต่างๆ จะมุ่งเน้นในความพึงพอใจไม่ว่าจะเป็นความต้องการจากปัจจัยภายในหรือภายนอก  ประเด็นหนึ่งคือว่าไม่สามารถอธิบายได้ว่านั้นเป็นทางเลือก  ซึ่งไม่มีข้อจำกัดทางพฤติกรรมที่เป็นไปได้ที่พบในแต่ละบุคคลซึ่งอาจจะพบบางส่วนหรือทั้งหมดจากเป้าหมายซึ่งจะกลับไปเป็นความต้องที่น่าพึงพอใจ (Kakabadse et al.,2004)
                ทฤษฎีการคาดหวังเป็นที่รู้จักว่าเป็นทฤษฎีที่เป็นเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับทางเลือกและการตัดสินใจ  ตามที่ทฤษฎีกล่าวมาพฤติกรรมของคนโดยตรงเกิดขึ้นจากการคาดหวังที่พวกเขาพึงปรารถนาผลที่ตามมา  ในทางอื่นคนเลือกทางเลือกต่างๆ (พฤติกรรม) ที่ใช้ในมาตรฐานที่ต่างกัน  การตัดสินใจและลงมือกระทำ  การกระทำที่เกิดขึ้นเป็นตัวกำหนดที่สำคัญว่าอะไรที่พวกเขาคิดว่าผลตอบแทนจะเป็นเช่นไร (Robertson et al., 1992)
                การคาดหวังในแต่ละบุคคลสามรถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ ผลที่ได้จากภายนอกและภายใน  ส่วนประกอบจากภายในเป็นผลที่ตามมาซึ่งแต่ละบุคคลจะกระตุ้นทำให้เกิดผลที่สำเร็จ  อย่างเช่นการพัฒนาตนเองหรือการได้รับประสบการณ์ที่มีค่าจากงานที่ทำ  ในทางตรงกันข้ามองค์ประกอบภายนอกเป็นผลที่ตามมาซึ่งแต่ละบุคคลปรารถนาจากองค์กร  อย่างเช่นการเพิ่มตำแหน่งหรือเลื่อนขั้น  ปัจจัยสำคัญของทฤษฎีนี้คือการคาดหวัง  เครื่องมือและคุณค่า
                ความคาดหวังจะอ้างอิงจากความคิดของคนไม่ว่าจะเป็นการทำงานหรือไม่  ขณะที่เครื่องมือเป็นสิ่งที่ได้รับระหว่างการกระทำและผลตอบแทนที่ตามมาเป็นตัวกำหนดโดยคุณค่าหรือผลที่ตามมาที่หลากหลาย  ทฤษฎีสันนิษฐานว่ามีเพียงปัจจัย 3 อย่าง  โดยมีพลังในการสร้างแรงจูงใจ (Vroom and Yetton 1973) ที่สร้างทฤษฎีโดยใช้ปัจจัย 4 อย่างดังต่อไปนี้
  1. คนจะมีคุณค่าจากผลที่ตามมาที่แตกต่างกัน (ระดับที่ 1 อย่างเช่น ผลที่ตามมาโดยทันทีจากการกระทำ หรือระดับที่ 2 อย่างเช่น ผลลัพธ์ในแต่ละคนหรือผลที่ตามมาซึ่งส่งผลต่อจากผลที่ตามมาในระดับแรก) หรือการเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้น
  2. คนจะคาดหวังเกี่ยวกับการกระทำและความพยายามที่นำไปสู่ผลที่ตามมาและเป้าหมายที่พึงพอใจ
  3. คนจะเข้าใจถึงพฤติกรรมที่แน่นอนซึ่งถูกติดตามโดยผลที่พึงปรารนาหรือผลตอบแทนที่ต้องการ
  4. การกระทำของคนเลือกที่จะกำหนดความคาดหวังและคุณค่าซึ่งแต่ละคนจะเกิดขึ้นเมื่อถึงเวลา (Kakabasde et al.,2004)

ทฤษฎีความสมดุลย์
จากทฤษฏีผู้คนได้ค้นหาความสมดุลย์ระหว่างว่าอะไรที่พวกเขามี (อย่างเช่นความพยายาม ความซื่อสัตย์ ความไว้ใจ การยืดหยุ่น ความอดทน การสนับสนุน การตัดสินใจ) ในงานของเขาและอะไรที่เขาได้รับ (อย่างเช่น เงินเดือน  ชื่อเสียง  การฝึกอบรม การเลื่อนตำแหน่ง  ความรับผิดชอบ)จากงาน  ถ้าคนคิดว่าเป็นความเหมาะสมระหว่างสิ่งที่อยู่ภายในและสิ่งที่ได้ภายนอก  ต่อมาพวกาขาจะเกิดแรงจูงใจและลงมือทำงาน (Hollway, 1991) อย่างไรก็ตาม  ถ้าพวกเขาคิดว่ามีความไม่สมดุลย์ระหว่างสิ่งทั้งสอง  พวกเขาจะไม่กระตือรือร้นและตอบสนองในทางที่แตกต่างกันไป (ตัวอย่างเช่น พวกเขาจะมองหางานอื่นหรือลดความเอาใจใส่)

ทฤษฎีการตั้งเป้าหมาย
จากทฤษฎีนี้  โดยแต่ละบุคคลกำหนดเป้าหมายซึ่งเขาหรือเธอจะบรรลุตามที่เขาหรือเธอตัดสินใจหรือหาทางพยายามบรรลุเพื่อให้สำเร็จ  ทฤษฏีนี้แนะนำว่าเป้าหมายต่างๆ นั้นมุ่งไปสู่ความสนใจ  การหาทางพยายาม  การเพิ่มความอดทนในงานและการสร้างแรงจูงใจ  ตามที่ทฤษฎีกล่าวมา  ความท้าทาย (ยากดีกว่าพื้นๆ ) และมุ่งเน้นเฉพาะดีกว่าสับสนกำกวม  เป้าหมายต่างๆ นำไปสู่ระดับที่สูงกว่าของการปฏิบัติการณ์และการตัดสินใจเพื่อเกิดการยอมรับในเป้าหมายที่เป็นปัจจัยที่สำคัญในการดำเนินงาน  ยิ่งไปกว่านั้นผลที่ได้จากการดำเนินงานจะต้องเพื่อเป้าหมายซึ่งมีผลที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลระหว่างปัจจุบันและความปรารถนา

ข้อผูกพันธ์  บ่อยครั้งที่ความแตกต่างระหว่าง HRM และ PM เป็นการมุ่งเน้นถึงความคิดเรื่องพันธสัญญา  อะไรเป็นพันธสัญญาและเกี่ยวข้องกับแรงจูงใจได้อย่างไร  ความคิดนี้เป็นเรื่องที่จะต้องพินิจพิเคราะห์มานานกว่า 40 ปีมาแล้ว  ในความรู้สึกเมื่อสภาพที่แน่นอนอย่างเช่น  ผลกำไรขาดทุน  จริยธรรมที่สูงและการกระทำที่ทำอยู่ทั่วไปในองค์กร  ระดับที่สูงของพันธสัญญาจะขึ้นอยู่กับผู้จัดการและผู้เชี่ยวชาญด้านทรัพยากรมนุษย์  มันส่งผลและผลที่ตามมาสามารถสังเกตได้ว่า  พันธสัญญาเป็นรูปแบบของความเชื่อมั่นตัวเองในการตัดสินใจที่จะทำงานของเธอหรือของเขา  ในมุมมองเป็นเรื่องที่คล้ายคลึงกันมากๆ พี่ผู้จัดการจะสร้างแรงจูงใจเพื่อให้ได้งานที่ทำ
                หนึ่งในผู้เขียนในเรื่องการจัดการคือ Morrow (1993) ซึ่งเป็นคนแนะนำให้ลูกจ้างแบ่งองค์กร  เป้าหมายและวัตถุประสงค์ต่างๆ ออก  แม้กระนั้นก็ตามเขาก็เชื่อว่าคำอธิบายอาจจะเป็นเรื่องที่ธรรมดาและควรตรวจสอบ  เขาได้พัฒนาอย่างตรงจุดในรูปแบบที่ส่งผลในรูปแบบของสถานที่ทำงาน a) งานหนักอยู่ในตรงกลาง (แกนกลาง) ของรูปแบบในเคลื่อนออกไป b) อาชีพที่มีพลังอำนาจ c) องค์กรที่มีอำนาจ d) การแบ่งประเภทบริษัท e) แบ่งประเภทงานที่เกี่ยวข้อง เขาได้วาดโครงสร้างที่สัมพันธ์กับอิทธิพลภายนอกโดยส่วนประกอบจะส่งผล เช่น
  • จริยธรรมในการทำงานเป็นส่วนประกอบภายใน  ความสมัครใจที่จะทำงานหนัก
  • รากฐานอาชีพจากแรงจูงใจ  ซึ่งเกี่ยวข้องกับพลังที่มีอยู่ในองค์กร
  • ความต้องการที่จะอยู่ในองค์กรถูกกำหนดโดยอำนาจที่มีอยู่ในองค์กร
  • การตัดสินใจขององค์กรที่มีประสิทธิภาพส่งผลให้แก่ความปรารถนาในการแบ่งปันเป้าหมาย  วัตถุประสงค์  และรู้สึกว่าพวกเขาเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร
  • ความสัมพันธ์ในงาน คือ เนื้อหาที่ในแต่ละบุคคลจะแบ่งงานซึ่งมีความใกล้ชิดกับแรงจูงใจในงาน

เนื้อหาในการตัดสินใจนั้นไม่ชัดเจน  ในหลากหลายภาษารูปแบบทางวัฒนธรรมไม่มีรูปแบบที่ชัดเจน  ในบางแห่งมันเป็นเรื่องของจิตสำนึกและไม่จำเป็นเท่าไหร่นักในองค์กร  แนวโน้มที่จะแบ่งหลักการซึ่งต้องการทำงานหนักซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงานในองค์กรซึ่งควรจะเป็นพื้นฐานในการตัดสินใจของแต่ละบุคคล  Cohen and Bradford’s (1999) ทำงานร่วมกับพยาบาทชาวแคนาดาซึ่งทำงานหนักเพื่อนำไปสู่อาชีพที่ดีขึ้น
                โดยแบ่งออกเป็น 3 ประเภทดังนี้
  • แต่ละบุคคล
  • องค์กร (ภายใน)
  • สิ่งแวดล้อม (ภายนอก)
การศึกษาของความมีประสิทธิภาพในการจัดการ  รวมถึง Analoui (2002) ซึ่งแสดงให้เห็นว่าความมีประสิทธิภาพเป็นส่วนที่เชื่อมโยงโดยตรงกับข้อผูกมัด  ถึงแม้ว่ามันจะดูยากที่จะแนะนำว่ามีข้อมูลที่ชี้ชัดว่าส่งผลให้ลูกจ้างมีประสิทธิภาพขึ้นก็ตาม  คนที่มีประสิทธิภาพจะแสดงการตัดสินใจในการทำงานของเขาแต่ความสามารถจะเป็นส่วนประกอบจาก 8 กลุ่มที่มีอิทธิพล  ตัววัดที่รวมไปถึงแรงจูงใจเป็นองค์ประกอบที่สำคัญหรือเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน (Analoui, 1999) อะไรที่แน่นอนที่แต่ละคนกับข้อมูลภายในแรงจูงใจเพื่องานที่พบว่าพวกเขาทำอะไรมากกว่าที่ใครที่ไม่ได้แบ่งประเภทของงาน  ดังนั้นองค์กรต่างๆ จะแสดงบทบาทในการสร้างและรักษาการตัดสินของคน  เท่าๆ กันที่แต่ละคนสามารถตัดสินเองอาจจะส่งผลเสียในความต้องการที่จะส่งผลดี
                ถึงแม้ว่าไม่มีการสร้างแรงจูงใจใดใดแก่คน  พวกเขาอยู่ภายใต้และความเครียดที่ต้องการและความสำคัญของการอยู่รอดของบริษัทในระยะยาว  ดังนั้นแรงจูงใจของลูกจ้างเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดของผู้จัดการ  อย่างไรก็ตามแรงจูงใจไม่ใช่ความคิดง่ายๆ ที่คนจะสร้างแรงจูงใจในสิ่งที่ต่างๆ กัน  อะไรเป็นตัวกระตุ้นที่เหมาะสม  อะไรเป็นสิ่งแรกที่คนจะนำไปสู่แรงจูงใจ  คำตอบที่แตกต่างกันในคนแต่ละคน  อย่างไรก็ตามมันไม่ได้เป็นเพียงสิ่งที่เร้าใจทางการเงินเพียงอย่างเดียวแต่ยังเป็นสิ่งที่เร้าใจในเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับเงินอีกด้วย  สิ่งที่สำคัญควรจะมีความสมดุลย์ระหว่างความเหมาะสมที่จะสร้างแรงจูงใจที่ประสบความสำเร็จ  ผู้จัดการหลายคนของบริษัทมีความสามารถในการสร้างแรงจูงใจแก่ลูกจ้าง  ยิ่งลูกจ้างมีแรงจูงใจมากเท่าไหร่  บริษัทก็จะอยู่รอดได้มากขึ้นเท่านั้น

                                                                                กลยุทธ์แรงจูงใจ
Huczynski and Buchnan (2001) อธิบายถึงองค์ประกอบทางความคิด 5 ประเภทในการสร้างแรงจูงใจ  อย่างแรก “combining tasks” ให้คนงานมากกว่าหนึ่งส่วนทำงาน  และเชื่อว่าเป็นสิ่งที่สำคัญและนำไปสู่การเพิ่มการมีส่วนร่วมในลูกจ้างของสินค้า  ตัวอย่างเช่น  ลูกจ้างหลายคนในแผนกสารสนเทศสามารถลงทุนเวลาของพวกเขาในหลากหลายงานแทนที่จะทำงานเพียงอย่างเดียว
                กลยุทธ์ที่สองคือ “form natural work units” โดยหลีกเลี่ยงรายละเอียดของงานและให้ลูกจ้างในงานที่สำคัญในการเพิ่มการมีส่วนร่วมในแต่คนและความสำคัญของงานกับผลออกมาที่ดี (Hackman and Oldman, 1980)
            กลยุทธ์ที่สามให้ลูกจ้างรับผิดชอบเพื่อรักษาความสัมพันธ์ระหว่างกันเองกับลูกค้า  ภายในและภายนอกขององค์กรซึ่งจะให้อิสระในการทำงานและพัฒนาผลต่างๆ ที่ได้รับอยู่ปกติ  กระตือรือร้นและเชื่อใจในผลที่ตอบกลับ  ในวิธีนี้ลูกจ้างหลายคนทราบว่าวิธีที่พวกเขากำลังทำงานได้ดีและนำเสนอความคิดในการพัฒนา  ตัวอย่างเมื่อวิศวกรในแผนกออกแบบของบริษัทก่อสร้างขนาดใหญ่สามารถติดต่อโดยตรงกับวิศวกรหลายๆ คนในแผนกต่างๆได้และผู้ทำสัญญาและเจ้าของโครงการแทนที่จะติดต่อผ่านผู้จัดการหลายๆ คน
                ความคิดที่สี่คือการให้ลูกจ้างมีความรับผิดชอบ  ผลที่ตามมาพวกเขาสามารถดูแลตัวเองได้มากขึ้นอย่างเช่น  การแก้ปัญหาและการฝึกอบรมผู้อื่น
                ในทางตรงกันข้ามวิธีสร้างแรงจูงใจซึ่งแนะนำโดย Huczyski and Buchanan (2001) พวกเขาได้แบ่งออกเป็น 2 ประเภท  การเพิ่มงานในแต่คนและทีมงานด้วยการพึ่งพากันและกัน  การสร้างทีมงานนั้นมุ่งเน้นที่ปัจจัยภายนอกที่ต้องการสมาชิกในทีมงาน  ซึ่งในทีมงานสามารถแบ่งงานตามความเหมาะสมในแต่ละคน (Belbin, 1996) Lawler’s (1986,1995) ออกแบบความรับผิดชอบของทีมงานในการเลือกและการฝึกอบรมพนักงานใหม่  การตั้งเป้าหมาย  การจัดสรรงาน  การควบคุมคุณภาพและการลา  ยิ่งไปกว่านั้นทีมงานสามารถจัดการได้ด้วยตัวเองและทำงานโดยตั้งหัวหน้าขึ้นมา ซึ่ง Janz et al., (1986) แนะนำว่าการมอบอำนาจหน้าที่จะมีประสิทธิภาพที่ดีนั้นถ้าเพียงทีมงานให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการ
                Pettinger (2002) นำเสนอว่าในแต่ละคน  สมาชิกภายในทีมให้มองไม่เพียงถึงบทบาทของงานที่มีความสำคัญ  แต่ยังต้องให้ความสำคัญกับสิ่งที่พวกเขาจะได้รับความพอใจและการยอมรับตนเองและกิจกรรมที่สร้างผลกำไรและส่งผลที่ดี  ยิ่งไปกว่านั้นมันเป็นสิ่งที่สำคัญที่จะสร้างสภาพแวดล้อมที่เป็นกันเองโดยให้มีการพูดคุยกันและมิตรภาพกันภายในทีมงาน  ดังนั้นการสร้างสภาพแวดล้อมที่เคารพกันและบรรยากาศที่เชื่อมั่น  สัมพันธภาพและความกระตือรือร้น  ท้ายที่สุดตัวกระตุ้นอีกตัวหนึ่งคือการเฉลิมฉลองในผลสำเร็จหลังจากเสร็จงาน (Owen 1996)

การมอบอำนาจการตัดสินใจ
การมอบอำนาจการตัดสินใจคือการทำให้บุคคลสามารถมีเป้าหมายในการทำงานของตนเอง  ตัดสินใจและแก้ปัญหาภายในอำนาจของตนเอง  มันเป็นทางเลือกเชิงกลยุทธ์ที่ให้อิสระลูกจ้างจากการควบคุม  ให้ความรับผิดชอบแก่ความคิด  การตัดสินใจและการกระทำของพวกเขาเอง  ในสิ่งที่ซ่อนเร้นอยู่สามารถปลดปล่อยซึ่งยังคงไม่สามารถเข้าถึงได้ทั้งดดยส่วนตัวหรือองค์กร  Kakabadse et al., (2004) ดำเนินงานต่อโดยเพิ่มการแบ่งอำนาจในการตัดสินใจแต่ละคนได้รับความเสี่ยง  ได้รับความรู้และพัฒนาทักษะใหม่ๆ  พวกเขาจะโตและรับผิดชอบ  สำคัญกว่านั้นการมอบอำนายในการตัดสินใจเป็นการสร้างขอบเขตในการแข่งขันที่ได้รับผลดีแก่เป้าหมายเชิงกลยุทธ์แก่องค์กร

การมีส่วนร่วม
การมีส่วนร่วมเป็นขั้นตอนให้ลูกจ้างมีสิทธ์มีเสียงในการตัดสินใจเกี่ยวกับงานของพวกเขาเอง  การมีส่วนร่วมของลูกจ้างรวมไปถึงการตัดสินใจเกี่ยวกับงาน  การตัดสินใจเกี่ยวกับการบริหารงาน (อย่างเช่น ตารางเวลางาน)  และการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเกี่ยวกับเรื่องคุณภาพของสินค้า
ทีมงาน
มันเป็นการบ่งชี้โดย Geary (1996) ซึ่งเป็นการบริหารการจัดการระดับสูงที่เชื่อว่าทีมงานเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการพัฒนาการทำงานและคุณภาพ  การแก้ไขปัญหา  การเพิ่มนวัตกรรมใหม่ๆ การเพิ่มการมีส่วนร่วมของพนักงานและการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี Tuckman (1965) กล่าวว่ามี 4 ขั้นตอนที่จะสร้างทีมงานที่มีประสิทธิภาพ
  1. ขั้นตอนแรก คือการสร้างทีม  สมชิกเริ่มที่ทำความรู้จักซึ่งกันและกัน  ประเมินเป้าหมายต่างๆ และกำหนดเป้าหมายและสิ่งแรกที่จะต้องทำ  สิ่งนี้คือที่ที่พวกเขาจะแนะนำงานและบทบาทหน้าที่ต่างๆ ในการทำงาน
  2. ขั้นที่สองคือ การระดม  ระหว่างขั้นตอน  กิจกรรมต่างๆ เริ่มและความสามารถของทีมงานกลายเป็นชัดเจนยิ่งขึ้น  ความขัดแย้งบางอย่างอาจจะปรากฎแต่อาจจะเป็นเพียงแค่โอกาส
  3. ขั้นที่สามคือ การตั้งกฎเกณฑ์  กฎเกณฑ์และระเบียบต่างๆ
  4. ขั้นที่สี่คือ  การดำเนินการคือใช้ให้เกิดผลและประเมินผล

ประเภทของทีมงานต่างๆ ภายในองค์กร  Sundstrom et al., (1990) อธิบายว่ามีทีมงานมี 4 ประเภทภายในองค์กรคือ  ให้คำแนะนำ  ลงมือปฏิบัติ  วางแผนและผลิต  ทีมที่ให้คำแนะนำจะคอยให้แนะนำเพื่อการบริหารการจัดการ  ทีมงานประเภทนี้ต้องการการติดต่อเพียงเล็กกับสมาชิกคนอื่นๆ ขณะทีมที่ลงมือดำเนินการ  ทักษะและความรู้เฉพาะทางนั้นมีส่วนสำคัญและสมาชิกภายในทีมมีการพูดคุยซึ่งกันและกันเพื่อบรรลุเป้าหมายเดียวกัน  ในการทำงานเป็นไปอย่างคร่าวๆ และซ้ำไปซ้ำมา  เราอาจจะมีทีมฉุกเฉินในโรงพยาบาล  ทีมต่อมาคือทีมวางแผนซึ่งมาจากลูกจ้างที่มีเวลาจำกัด  จากหลากหลายแผนก  สมาชิกทุกคนจะแบ่งปันความคิดการบริหารจัดการกันในงาน  เมื่อกำหนดเป้าหมาย  เป้าหมายจะส่งต่อไปยังสมาชิกทุกๆ คนภายในกลุ่ม  ทีมงานประเภทนี้จะถูกเลือกเมื่อต้องการที่จะแก้ปัญหา  โดยต้องการผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางหรือผู้ร่วมงานที่ต้องการทำงาน  ทีมวางแผนงานหลายร้อยคนซึ่งมีอยู่ในบริษัทก่อสร้างหลายบริษัทด้วยโครงการที่แตกต่างกัน  ทีมงานฝ่ายผลิตซึ่งแต่ละคนจะรับผิดชอบในการทำงานวันต่อวัน  พวกเขาจะแบ่งปันเป้าหมายในการผลิตกัน

กลยุทธ์การรักษา
ในการอภิปรายเรื่องการขาดแคลนแรงงาน  การแข่งขันในทักษะที่ขาดแคลนและการเคลื่อนไหวของตลาดแรงงาน  มีแนวโน้มที่จะมุ่งเน้นในการตำแหน่งงานในการจัดจ้าง  สิ่งนี้นำไปสู่สถานการณ์ที่หลายๆ บริษัทประสบกับความลำบากในการรักษา ทรัพยากรมนุษย์ที่ถูกต้อง (Pierce et al., 2003) หนึ่งในวิธีการที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการต่อสู้กับทรัพยากรที่ขาดแคลนคือการรักษาลูกจ้างที่มีความสามารถที่สุดและมีทักษะมากที่สุดเอาไว้ภายในองค์กร  บางทีอาจจะสำคัญกว่าการจ้าง  ขึ้นอยู่กับการดำเนินงานของผู้จัดการในสายงานหรือไม่ก็ผู้จัดการฝ่ายบุคคล  การแก้ปัญหาที่ดีที่สุดขึ้นอยู่กับความเข้าใจในสาเหตุของอัตราการเข้าออกของแรงงานและความเต็มใจในการเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม (Robbins, 1996) Armstrong and Spellman ได้แนะนำว่ากลยุทธ์ต่างๆ ในการรักษาคืออยู่ในส่วนของ  ค่าตอบแทน  รางวัล  ความมุ่งมั่นและการสร้างทีมดังต่อไปนี้

ค่าตอบแทน  การกระทำต่างๆ ที่เป็นไปได้  ทบทวนระดับค่าตอบแทนบนการสำรวจตลาด  แน่ใจว่าแต่ละคนที่จ่ายนั้นเหมาะสมกับราคาตลาด  การประเมินงาน  และทบทวนค่าแรงกับการทำงานเพื่อให้แน่ใจว่าพวกเขานั้นยุติธรรมที่ได้รับ

รางวัล  กลยุทธ์รางวัลสามารถช่วยเหลือบริษัทต่างๆ ในการแบ่งประเภทรางวัลซึ่งอาจจะเป็นไปตามกลุ่มเป้าหมายแต่ละกลุ่มภายในองค์กร Price(2000) ได้แนะนำว่าการตัดสินใจเชิงนโยบายในการเรื่องค่าตอบแทนและรางวัลเป็นสิ่งที่สำคัญของผลิตผลของลูกจ้าง  ความมุ่งมั่นและความเต็มใจที่จะยอมรับการเปลี่ยนแปลง

การดำเนินงาน  ลูกจ้างสามารถเฉื่อยชาลงเมื่อพวกเขารู้สึกว่าไม่ชัดเจนกับความรับผิดชอบและมาตรฐานการทำงานของพวกเขา  เพื่อที่จะขจัดการกระทำในการบริหารการจัดการ

ความมุ่งมั่น  อธิบายว่าเป็นลักษณะขององค์กรและความต้องการที่ยังคงอยู่  ความมุ่งมั่นสามารถมีส่วนในการอธิบายภาระกิจขององค์กรและสนับสนุนคำวิจารณ์ของพวกเขา

การสร้างทีม  การสร้างทีมสามารถทำได้โดยมีวัตถุประสงค์ในการลดปัญหาของลูกจ้างที่รู้สึกแตกต่างและไม่พอใจถ้าพวกเขาไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของทีม
            การฝึกอบรม  การพัฒนาด้านอาชีพและการทำตลาดเกินเป็นกลยุทธ์ต่างๆ ที่ใช้รักษาภายในองค์กร (Armstrong and Spellman, 1993)

กลยุทธ์รางวัล
รางวัลแสดงให้เห็นทั้งที่เป็น เงินและไม่ใช่เงินและผลตอบแทนทางจิตใจซึ่งองค์กรจะควรมีไว้ให้พนักงานในการเปลี่ยนงานที่พวกเขาทำงานอยู่  การจัดการด้านรางวัล (หรือสิ่งที่ชดเชย)  คือส่วนที่สำคัญในสัมพันธภาพทางการจ้างงาน  องค์กรสามารถแบ่งรางวัลเป็น 2 ประเภท คือ ภายนอกและภายใน (Pelletier and Vallerand, 1996) เป็นส่วนผสมทั้งรางวัลทั้งภายนอกและภายในที่ไว้ให้ลูกจ้างในรูปแบบของรางวัล  เงินหรือปัจจัยทางเศรษฐกิฐของระบบรางวัลเป็นรูปแบบของค่าตอบแทน
                ระบบรางวัลเป็นลักษณะทั้งทางการและไม่เป็นทางการแล้วแต่การทำงานของลูกจ้าง  ที่แสดงออกมา  ประเมินและเป็นรางวัล
                ผลของรางวัลทางทัศนคติ
  • ความพอใจส่งผลว่าเท่าไหร่ที่ได้รับและมากเท่าไหร่ที่คนคิดว่าควรจะได้รับ
  • ความพอใจส่งผลต่อการเปรียบเทียบกับผู้อื่น
  • รางวัลต่างๆ ที่ได้
  • ความพึงพอใจในงานโดยรวมส่งผลต่อความพอใจของลูกจ้างทั้งรางวัลภายในและภายนอก
   
 ผลของรางวัลทางพฤติกรรม
  • รางวัลภายนอกส่งผลต่อความพอใจของลูกจ้างและลดการออกของลูกจ้าง
  • รางวัลต่างๆ ส่งผลต่อรูปแบบในการมาทำงานและการขาดงาน
  • ลูกจ้างทำงานหนักขึ้นหรือรางวัลที่มีผลต่อการทำงาน
  • รางวัลส่งผลต่อแรงจูงใจ
  • ลูกจ้างจะทำงานหนักขึ้นเมื่อการทำงานเป็นที่ยอมรับ
  • ลูกจ้างจะทำงานหนักขึ้นถ้าการทำงานนั้นใกล้เคียงที่จะได้รับรางวัล
ค่าตอบแทนในการทำงานไม่ได้บรรลุความต้องการ  เพียงแต่เป็นส่วนหนึ่งเพื่อเติมเต็ม  ตัวอย่างเช่น  การอบรมของหัวหน้างานเป็นส่วนที่สำคัญของการสร้างระบบรางวัล  มันเป็นความจริงที่ว่าระบบรางวัลแบบใหม่จะเปลี่ยนบรรยากาศในระหว่างเพื่อนร่วมงานด้วยกันและผู้บริหารจะต้องเตรียมแก้ปัญหาอื่นๆ ที่ตามมา

                                                                การกำหนดระบบค่าตอบแทน
เพราะเงินเป็นปัจจัยหลักในความพอใจของลูกจ้าง  และระบบรางวัลผูกมัดกับการทำงานและเงินเดือนที่เข้าด้วยกัน  การชมเชยในเรื่องงานเป็นส่วนที่สำคัญ  การตัดสินใจที่ไม่ดีของการทำงานของลูกจ้างสามารถทำลายระบบรางวัลที่เตรียมการณ์ไว้เป็นอย่างดี  ความน่าเชื่อถือและความไว้ใจเป็นสิ่งที่สำคัญเมื่อระบบรางวัลถูฏนำมาใช้  ดังนั้นลูกจ้างจะต้องมีการฝึกอบรมที่เดีเพื่อที่เข้าใจรายละเอียดเกี่ยวกับระบบรางวัล  ทางที่ดีที่สุดคือการให้ลูกจ้างหรือตัวแทนของพวกเขาอยู่ในขั้นตอนในการวางแผนด้วย  ในวิธีนี้ความมุ่งมั่นของลูกจ้างในระบบใหม่จะถูกนำเข้ามาใช้  ค่าตอบแทนในการทำงานขึ้นอยู่กับการทำงาน  ภายใต้สภาพต่างๆ HRM อื่นๆ จะต้องสร้างความเชื่อถือในลูกจ้างก่อนค่าตอบแทนเพื่อระบบในการทำงานสามารถประยุกต์ใช้ได้ (Pierce et al., 2003)  บางทีอาจจะเป็นปัญหาที่สำคัญที่สุดในเรื่องของค่าตอบแทนในระบบการทำงานที่กำหนดไว้อย่างถูกต้อง  ซึ่งกล่าวมาตัวชี้วัดไม่ใช่ทางที่ดีที่สุดในการประเมินการทำงานของลูกจ้าง  คนมีความคิดว่าตัวชี้นำนั้นมีความสำคัญกว่าผลของงานทั้งหมด  หน้าที่ต่างๆ ในที่ทำงานอาจจะไม่ได้รับผิดชอบ
                ทางธุรกิจมีการกำหนดตัวชี้วัดซึ่งง่ายกว่าสิ่งอื่นๆ สิ่งที่ดีที่สุดในงานซึ่งการทำงานแต่ละคนสามารถวัดได้อย่างง่ายๆ และแตกต่างจากการทำงานของผู้อื่น  งานจะต้องปราศจากสิ่งรบกวนจากภายนอก  ดังนั้นเมื่อบริษัทมีการทำงานที่ประสบความสำเร็จน้อยลง  ความเข้าใจอาจจะเป็นคำตอบ(Price, 2000) ตัวอย่างเช่นพนักงานขายได้รับค่าตอบแทนจากการทำงานดี  โดยปกติแต่ละคนทำงานคนเดียวและยังสามารถรับผิดชอบได้อย่างเต็มที่ในผลงานของพวกเขา  ความแตกต่างในการทำงานระหว่างพนักงานขายมีแนวโน้มมากขึ้น  บริษัทส่วนใหญ่พึ่งกับการขายโดยส่วนใหญ่

แผนงานโดยขึ้นอยุ่กับลักษณะของแต่ละคน
กลยุทธ์รางวัลสามารถสร้างในรูปแบบที่แตกต่างกันและแตกต่างลักษณะ  อย่างแรกและที่ใช้กันแพร่หลายคือแผนงานที่ขึ้นอยู่กับลักษณะในแต่ละคน  มันให้ความสำคัญกับบุคคลแต่ละคนและการทำงานของพวกเขา  โดยทั่ว ๆไปในระบบนี้ลูกจ้างมีค่าตอบแทนที่แน่นอนซึ่งเพิ่มขึ้นหรือบางทีอาจจะปีละครั้ง  การทำงานในปีก่อนหน้านี้ของลูกจ้างถูกพิจารณาและเป็นส่วนเพิ่มในการจ่ายค่าตอบแทนในปีต่อมา  รางวัลนี้ให้ลูกจ้างและไม่อาจจะไม่ได้โดยขึ้นอยู่กับสภาวะทางเศรษฐกิจ  หนึ่งในลักษณะในเชิงบวกของรูปแบบนี้คือมันสามารถช่วยทำให้พฤติกรรมของลูกจ้างมีความเสถียรกับเป้าหมายและวัตถุประสงค์ขององค์กร  ตัวอย่างเช่นถ้าตัวแทนจำหน่ายรถยนต์มีลูกจ้างเป็นพนักงานฝ่ายขายซึ่งขายรถได้จำนวนมาก  แต่ลูกค้าแทบจะไม่กลับมาใช้บริการตัวแทนจำหน่ายเลย  ตัวแทนจำหน่ายจะต้องวางแผนอย่างรัดกุมซึ่งให้ค่านายหน้าในการขายสูงสำหรับที่ถูกขายโดยผู้ซื้อคนเดิม  ข้อเสียคือแผนงานแบบลักษณะแต่ละคนเหมาะกับองค์กรที่เป็นลักษณะวัฒนธรรมที่ตัวใครตัวมัน  มันไม่ถูกแนะนำให้ใช้กับองค์กรที่มีทีมงาน  เพราะจะลดความร่วมมือและการแบ่งปันความรู้  อย่างไรก็ตามบางครั้งถ้าความสัมพันธ์ระหว่างลูกจ้างด้วยกันเองนั้นดีและขั้นตอนในด้านทรัพยากรมนุษย์เป็นสิ่งที่จำเป็น  โดยแต่ละคนวางแผนสามารถทำงานในองค์กรโดยมีทีมงาน (Pierce et al., 2003)
ค่าตอบแทนโดยดูจากผลงาน (PBR)
โดยการจ่ายค่าตอบแทนลูกจ้าง  มีสิ่งที่เชื่อมโยงงโดยตรงและมองเห็นได้ระหว่างผลจากการทำงานและรางวัลทางการเงิน  ในระบบนี้มีสิ่งที่เชื่อมโยงทางตรงระหว่างความพยายามโดยส่วนตัวและผลที่จะได้รับ  ภายในระบบมีความสามารถและโอกาสในการปรับเปลี่ยนระดับความพยายาม  มันดูสะดวกกว่าในระบบการผลิต  ลูกจ้างสามารถยอมรับการเปลี่ยนแปลงในการเรียนรู้ด้วยตนเอง  เพราะลูกจ้างต้องการที่จะหารายได้มาก  มันอาจจะมีอิทธิพลต่อคุณภาพของงาน  โครงงานของ  PBR อาจจะแตกต่างในหลากหลายวิธีการ
  • ระดับของรางวัลที่เป็นเงินในระดับที่เพิ่มขึ้นของปัจจัยภายนอก
  • ระดับของค่าตอบแทนขั้นพื้นฐานฃ
  • ความสัมพันธ์ระหว่างค่าตอบแทนที่เพิ่มขึ้นและปัจจัยภายนอกที่เพิ่มขึ้น
  • ปัจจัยภายนอกที่ได้รับจาก PBR
  • ระดับสูงของ PBR
จากความคิดที่เป็นเชิงบวก  ค่าตอบแทนเป็นผลมาจากระบบที่เพิ่มขึ้นจาการควบคุมการบริหารการจัดการ  ซึ่งต้องการการแนะนำและให้อิสระมากขึ้นแก่ลูกจ้าง  มีโอกาสมากมายสำหรับลูกจ้างที่จะได้รับค่าตอบแทนสูง  ผลที่ตามมาจะสร้างการนำไปใช้ที่จำเป็นต่อการเพิ่มกำไรเพื่อว่าทั้งเป็นผลประโยชน์ทั้งบริษัทและลูกจ้าง
(Price, 2000) ในทางตรงกันข้ามข้อเสียคือความไม่มีประสิทธิภาพในการทำงานและเป็นไปได้ว่าคุณภาพของงานต่ำที่ซึ่งพิจารณาข้อเสียของระบบ PBR คุณภาพของวงจรในการทำงานคือการลดและสูญเสียความก้าวหน้าในควบคุมการบริหารการจัดการมากกว่าความสัมพันธ์ระหว่างค่าตอบแทนและผลิตภัณฑ์

การยอมรับหรือความพอใจในค่าตอบแทน
การยอมรับหรือความพอใจในค่าตอบแทนอธิบายได้ว่าเป็นระบบซึ่งเป็นการเพิ่มในแต่ละคนในเรื่องของเงินเดือนซึ่งขึ้นอยู่กับการประเมินหรือความดี (Pierce et al., 2003)  ระบบนี้จะบริการลูกค้าและเพิ่มคุณภาพของงาน  ความยืดหยุ่นเป็นหนึ่งในระบบนี้และมันจะช่วยส่งเสริมและสนับสนุนการทำงานเป็นทีม  มีข้อดีมากมายกับระบบ PBR
  • เพื่อเพิ่มแรงจูงใจแก่ลูกจ้าง
  • เพื่อส่งเสริมพฤคิกรรมที่แน่นอน
  • เพื่อช่วยในการจ้างงานและรักษาแรงงานไว้
  • เพื่อสะดวกแก่การเปลี่ยนแปลงในวัฒนธรรมขององค์กร
  • เพื่อสนับสนุนรูปแบบการทำงานภายในองค์กร
  • เพิ่มบทบาทในสายผู้จัดการ
  • ควบคุมการเงินที่ดีขึ้นและมูลค่าของเงิน
  • ช่วยเหลือในการยืดหยุ่น

แผนงานที่มีทีมงาน
แผนงานที่มีทีมงานโดยปกติให้รางวัลแก่สมาชิกในทีมงานทุกๆ คนเท่าเทียมกัน  แทนที่จะเป็นแผนงานที่ให้แต่ละคน  ค่าตอบแทนแก่สมาชิกในทีมงานอาจจะอยู่ในรูปของเงินโบนัส  หรือรูปแบบของรางวัลที่ไม่ใช่เงินอย่างเช่น  การท่องเที่ยว  วันหยุด  หรือสิ่งของที่มีค่า  บางบริษัทอนุญาตให้ทีมงานตัดสินใจว่าจะรับโบนัสอย่างไรภายในกลุ่มสมาชิก
                ในรูปแบบนี้โดยปกติทีมงานจะมีความกระตือร้นสูงและมีการจัดการด้วยตนเองได้  เงินเป็นแรงจูงใจที่จะทำงานด้วยกันให้เกิดประสิทธิภาพที่ดีที่สุด  แต่โชคไม่ดีที่ทางที่ดีที่สุดไม่ได้หมายถึงทั้งทีมงานจะได้ปฏิบัติอย่างยุติธรรมกัน  อาจจะมีบางคนมีแนวโน้มที่จะได้เปรียบจากความพยายามของผู้อื่น  ดังนั้นปัญหาทั้งหมดอาจจะเกี่ยวข้องกับสมาชิกทั้งทีมซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้  การพัฒนาความสัมพันธ์ของลูกจ้างและระบบการสื่อสารเป็นสิ่งที่สำคัญก่อนที่แผนงานจะนำไปใช้

แผนงานที่ใช้โรงงาน
ค่าตอบแทนที่จ่ายต่อการทำงานเป็นรางวัลกับคนงานทุกคนในโรงงานหรือบริษัทโดยขึ้นอยู่กับการประกอบการของบริษัทโดยรวม  โดยปกติตัวชี้วัดขึ้นอยู่กับผลประกอบการของโรงงาน  อย่างเช่นมูลค่าความเสียหาย  ต้นทุนการผลิต  จำนวนอุบัติเหตุหรือวันลาป่วย  โดยปกติเป้าหมายจะตั้งไว้ก่อนปีการผลิตจะเริ่มขึ้น  และค่าตอบแทนจะจ่ายก่อนปีการผลิตครั้งต่อไปเริ่มขึ้น  ค่าตอบแทนถูกกำหนดว่าถ้าเป้าหมายต่างๆ เกินที่กำหนด  มิฉะนั้นจะไม่มีใครได้รางวัล  ระบบรางวัลโดยปกติเป็นเหมือนการแบ่งปันเพราะพวกเขาจะคืนสัดส่วนของการออมของบริษัทสู่พนักงาน
                ในทางตรงกันข้ามแผนงานที่ใช้แต่ละคนและแผนงานที่ใช้ทีมงาน  แผนงานที่ใช้ในโรงงานมีวัตถุประสงค์ในการลดต้นทุนแทนที่จะพัฒนาการผลิต  มองในด้านบวกเมื่อใช้แผนงานของโรงงาน  สมาชิกทุกคนในองค์กรจะทำงานในเป้าหมายและวัตถุประสงค์เดียวกันหมดทุกคน  อย่างไรก็ตามถ้ามองในด้านลบมีความเสี่ยงอย่างมากที่สมาชิกในองค์กรจะเอาเปรียบผู้อื่น
                แผนงานรางวัลสำหรับโรงงานนั้นง่ายกว่าผสมผสานในองค์การโดยกว้างขวางและระบบควบคุมคุณภาพ  อย่างเช่น ISO 9000 และด้านสิ่งแวดล้อม ISO 14000 เหตุผลคือระบบนี้จะให้ความสำคัญในการร่วมมือ  ประสิทธิภาพ  สุขภาพและความปลอดภัย

แผนงานที่ใช้ในบริษัท
ประเภทขนาดใหญ่ที่สุดของโปรแกรมกระตุ้นให้รางวัลแก่ลูกจ้างโดยใช้การประกอบการของบริษัทโดยทั้งหมด  และโดยส่วนมากที่ใช้เป็นโปรแกรมของการแบ่งผลกำไร  ความแตกต่างระหว่างการแบ่งผลกำไรและการได้รับการแบ่งปันข้อมูลที่ใช้แพร่หลายในบริษัท  คือการแบ่งผลกำไรทำโดยไม่มีความพยายามที่จะให้รางวัลคนงานในแต่ละรายจากผลผลิตที่ดีขึ้น ในแผนงานประเภทนี้ความพยายามของลูกจ้างแต่ละคนจะไม่ส่งผลอะไรเลยต่อรางวัลที่ได้รับ  เพราะผลกำไรเป็นไปตามปัจจัยภายนอกที่ไม่สามรถควบคุมได้  แผนงานการแบ่งผลกำไรเป็นณุปธรรมและผลกำไรที่ใช้ไปเป็นกองทุนของลูกจ้างในการเกษียณอายุ
                ในบางกรณีบริษัทสามรถเสนอส่วนแบ่งเป็นรางวัลตอบแทน  ส่วนแบ่งต่างๆ อาจจะไม่มีการเสียค่าใช้จ่ายใดใด  หรือขายในราคาตลาด  ระบบรางวัลตั้งอยู่บนส่วนแบ่งของบริษัทที่เปิดเผยอย่างมากในความเสี่ยงทางการเงิน  อย่างไรก็ตามมูลค่าส่วนแบ่งของบริษัทนั้นสูง  ความมุ่งมั่นระยะยาวในลูกจ้างต่อบริษัทจะมีความแข็งแกร่งมาก  แผนงานรางวัลในระบบบริษัทให้ความยืดหยุ่นทางการเงินเพื่อความมั่นคง  ต้นทุนค่าแรงงานของบริษัทเปลี่ยนไปตามอัตโนมัติในช่วงวิกฤตทางเศรษฐกิจ  ดังนั้นข้อดีทางภาษีสามารถได้รับเมื่อการแบ่งผลกำไรถูกนำมาใช้




                                                                                การประชุมที่ท้าทาย

ผู้จัดการหลายคนควรจะให้ความสำคัญกับงานบริหารการจัดการเมื่อระบบรางวัลแบบใหม่กำลังนำมาใช้  ก่อนหน้านี้  พฤติกรรมของลูกจ้างเปลี่ยนแปลงไปเมื่อการทำงานส่งผลโดยตรงกับรางวัลของพวกเขา  ในหลายๆ บริษัทที่ซึ่งพฤติกรรมความเห็นแก่ตัวยังมีอยู่จะเป็นปัญหาต่อแผนงาน  ความเชื่อถือของลูกจ้างจะสร้างเป็นอย่างดีก่อนที่จะนำระบบรางวัลเข้ามาใช้  สิ่งนี้เป็นขั้นตอนต่อมาในการสร้างความเชื่อถือระหว่างผู้จัดการและสหภาพแรงงานอาจจะใช้เวลาหลายปี  เนื่องมาจากปัญหาต่างๆ ก่อนหน้านี้  บางครั้งผู้จัดการอาจจะเพิกเฉยระบบรางวัล  ถ้าไม่องค์กรก็สร้างบรรยากาศในการทำงานให้มีความแตกต่างแก่ผู้ร่วมงาน  มันอาจจะเป็นทางตันของวัฒนธรรมทางองค์กร  ระบบรางวัลเป็นการบรรเทาเพราะถ้าไม่มีการดำเนินการแบบนี้ก็อาจจะตกลงในระดับต่ำกว่านี้  รูปแบบการให้รางวัลจะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ  บางคนเหมาะสมกับรางวัลที่ไม่ใช้เงินมากกว่าเงิน  เงินเป็นสิ่งที่ไม่สำคัญในคนในตำแหน่งที่สูงและลูกจ้างอาวุโสบางคน  พวกเขาต้องการมากกว่านั้น  เวลาว่างและสวัสดิการที่บริษัทเป็นผู้เสนอให้  ผู้บริหารอาจจะต้องคิดถึงแรงจูงใจแก่ลูกจ้างในการทำงาน  เมื่อตัวกระตุ้นต่างๆ ที่รู้จักมีมากที่จะเลือกในการตัดสินใจซึ่งระบบรางวัลจะเป็นสิ่งที่มีประสิทธภาพที่สุดแก่ลูกจ้าง

                                                การบริหารการจัดการด้านสุขภาพและความปลอดภัย
การพัฒนาด้านความปลอดภัย  สุขภาพและสวัสดิการที่สำคัญอย่างมากกับการบริหารการจัดการทรัพยากรมนุษย์  ไม่ว่าคุณทำงานในบริษัทขนาดเล็กหรือใหญ่  ประเด็นเรื่องสุขภาพและความปลอดภัยมาเป็นอันดับแรก  กฎหมายจะต้องรับผิดชอบทั้งลูกจ้างและนายจ้างจะต้องดูแลเรื่องสุขภาพและความปลอดภัยในที่ทำงาน  ทั้งลูกจ้างและนายจ้างต้องการความเข้าใจอย่างมากในประเด็นเหล่านี้และยังเป็นเรื่องที่สำคัญอีกด้วย  นายจ้างมีหน้าที่ดูแลความปลอดภัยและความสะอาดสถานที่ทำงาน  Bratton and Gold (2004) ให้ความเห็นว่าความปลอดภัยและสุขภาพจะส่งผลต่อปัจจัยต่างๆ ในวงจรของ HRM การคัดสรร  การประเมิน  รางวัลและการฝึกอบรม  นายจ้าง  ลูกจ้างและองค์กรจะต้องใส่ใจในเรื่องสุขภาพและความปลอดภัย a) ธรรมเนียมปฏิบัติ  คนงานที่ขาดความระมัดระวัง  b) HRM ความรับผิดชอบที่แบ่งปัน  c) นายจ้าง รูปแบบความรับผิดชอบ  ปัจจุบันทุกๆ บริษัทมีการติดตามผลสุขภาพและความปลอดภัยของลูกจ้าง  ไม่มีอะไรสำคัญกว่าการทำงานในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยที่ซึ่งคุณทราบว่าคุณถูกปกป้องจากเหตุการณ์ที่ไม่ต้องการให้เกิดขึ้น  หน้าที่ของนายจ้างคือจะต้องปกป้องลูกจ้างและบุคคลอื่นๆ ซึ่งอาจจะมีผลต่อลูกจ้างไม่ว่าลูกจ้างจะทำอะไรก็ตาม  ในเรื่องของสุขภาพ  สวัสดิการและความปลอดภัย  อีกอย่างหนึ่งนายจ้างจะต้องทำอะไรก็ตามเพื่อที่จะควบคุมความเสี่ยงต่างๆ ที่มีอยู่ในสถานที่ทำงานและป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุแก่ลูกจ้างไม่ว่าจะเป็น  การเจ็บป่วยหรืออาการบาดเจ็บ  สุขภาพและความปลอดภัยที่ผู้จัดการให้โอกาสที่จะควบคุมสถานการณ์แทนที่จะตั้งรับ  Bratton and Gold (2004) กำหนดกลยุทธ์เชิงรุกในการบริหารจัดการเกี่ยวกับความปลอดภัยและสุขภาพในสถานที่ทำงาน
  • ออกแบบระบบที่ปลอดภัยในการทำงาน
  • ให้ความสนใจในเรื่องความปลอดภัยและสุขภาพ
  • ตรวจสอบสถานที่ทำงานเป็นประจำ
  • ตั้งระบบดำเนินการและควบคุม
  • พัฒนาโปรแกรมการฝึกอบรมซึ่งให้ความสำคัญเรื่องความปลอดภัยและสุขภาพ
  • ตั้งคณะกรรมการด้านสุขภาพและความปลอดภัย
  • ดูแลเรื่องนโยบายเรื่องสุขภาพและความปลอดภัย
  • เขียนแผนปฏิบัติการณ์
ในฐานะนายจ้างมีกฎหมายที่มีความรับผิดชอบต่อลูกจ้าง  ลูกจ้างมีกฎหมายในการรับผิดชอบอย่างเช่น  เชื่อมั่นว่าในงานของพวกเขาไม่ส่งผลต่อสุขภาพและความปลอดภัย  เพื่อความมั่นใจทั้งความปลอดภัยในลูกจ้างและลูกค้าต้องการการวางแผนอย่างรอบคอบ  การตรวจสอบที่ดีจากผู้จัดการ  พนักงานมีการฝึกอบรมอย่างดีและสุดท้ายคือความมุ่งมั่นของทุกๆ คนในองค์กร  การบริหารการจัดการให้มีสุขภาพและความปลอดภัยที่ดีเป็นสิ่งที่สำคัญมากเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่ามีความปลอดภัยได้นำไปใช้และดูแลอย่างใกล้ชิดทั้งองค์กรเพื่อที่บรรลุเป้าหมาย
                นโยบายสุขภาพและความปลอดภัยเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการปรับปรุงด้านความปลอดภัยและสุขภาพทั้งองค์กร  ตัวอย่างเช่นหลังจากการจ้างพนักงานใหม่มาทำงาน  Morrisons ให้พนักงานใหม่เล่ารายละเอียดเกี่ยวกับความปลอดภัยและสุขภาพอย่างคร่าวๆ และเตรียมเอกสารนโยบายของบริษัทเรื่องสุขภาพและความปลอดภัยให้  สิ่งนี้ทำให้ลูกจ้างมีข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับหลักการของความปลอดภัยและสุขภาพและจะยืนยันได้ว่าลูกจ้างจะปลอดภัยในสถานที่จะทำงาน  มันเป็นสิ่งที่สำคัญซึ่งนายจ้างหรือผู้จัดการสาธิตความปลอดภัยซึ่งเป็นการกระตุ้นและมอบหมายหน้าที่แก่ลูกจ้างให้ปฏิบัติตามเป็นตัวอย่างที่ดี
                โดยลักษณะที่การวางแผนและเป็นระบบ  สิ่งที่นำไปใช้ในเรื่องสุขภาพและความปลอดภัยนั้นจะสะดวกขึ้น  วิธีการประเมินความเสี่ยงนั้นสำคัญในการช่วยเหลือองค์กรที่จะบรรลุมาตรฐานที่ต้องการในเรื่องข้อบังคับความปลอดภัยและสุขภาพ  การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพระหว่างนายจ้างและลูกจ้างภายในองค์กรเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด  เมื่อการประเมินความเสี่ยงในการประสบความสำเร็จ  ปัจจัยภายใน  ความรู้และประสบการณ์ของพนักงานนั้นจะไม่มีค่าเลย
                หลายๆ บริษัทมีการตรวจสอบอย่างเป็นประจำและพยายามรับปรุงเรื่องความปลอดภัยและสุขภาพ  การเข้าควบคุมสถานการณ์โดยการตรวจสอบเป็นขั้นตอนที่ต้องทำอย่างต่อเนื่องที่มองหาระบบการจัดการบริหารความปลอดภัยและสุขภาพของบริษัท  ขั้นตอนและเครื่องมือ  สิ่งนี้ทำให้บริษัทต่างๆ สามรถแยกความเสียหายในเครื่องมือและความบกพร่องในการทำงานและสามารถแบ่งความต้องการในการฝึกอบรมของพนักงานด้วย

พระราชบัญญัติสุขภาพและความปลอดภัยในการทำงานประเภทต่างๆ
พระราชบัญญัติสุขภาพและความปลอดภัย ปี 1974 ฉบับนี้ตั้งกฎระเบียบข้อบังคับแก่นายจ้างให้ดูแลสภาพแวดล้อมในการทำงานให้มีความปลอดภัยแก่ลูกจ้าง  พระราชบัญญัติครอบคลุมถึงสถานประกอบการและขั้นตอนในการทำงาน  สาระสำคัญของพระราชบัญญัติมีดังต่อไปนี้
  • โรงงานและระบบในการทำงานจะต้องมีความปลอดภัย  รวมไปถึงการซ่อมบำรุงของเครื่องมือ
  • สภาพแวดล้อมในการทำงานที่ปลอดภัยและจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกในด้านสวัสดิการที่เพียงพอ
  • สถานประกอบการที่ปลอดภัยมีเครื่องอำนวยความสะดวกที่เพียงพอ  ใช้งานได้และมีอยู่จริง
  • จัดให้มีการขนย้าย  เก็บรักษาและขนส่งเครื่องมือต่างๆ
  • ให้การแนะนำและฝึกอบรมที่ดีพอแก่ลูกจ้างและตรวจสอบโดยหัวหน้างาน
  • ให้ข้อมูลเรื่องความปลอดภัยและสุขภาพ
นอกจากนี้นายจ้างจะต้องเขียนนโยบายความปลอดถัยที่ครอบคลุมในเรื่องสุขภาพ  และความปลอดภัยในสถานที่ทำงาน  พระราชบัญญัติจะมอบหมายให้ตัวแทนด้านความปลอดภัย หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐเข้ามาตรวจสอบความปลอดภัย  นอกจากนี้นายจ้างจะต้องมีการประเมินความเสี่ยงในการปฏิบัติงาน  ความต้องการนี้อาจจะมีมากขึ้นในสถานที่ประกอบการเกี่ยวกับเคมีภัณฑ์  ภายใต้กฎข้อบังคับความปลอดภัยและสุขภาพทั้งนายจ้างและลูกจ้างจะต้องมีความปลอดภัยอยู่ตลอดเวลา  ความปลอดถัยและสุขภาพภายในองค์กรเป็นเรื่องที่สำคัญมากๆ  การฝ่าฝีนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับความปลอดภัยจะนำไปสู่ข้อผิดทางวินัยซึ่งลงโทษต่อลูกจ้าง  เพื่อที่จะปกป้องลูกจ้าง  นายจ้างและลูกค้า  Morrisons ได้นำนโยบายการไม่สูบบุหรี่มาใช้และลูกจ้างถูกห้ามไม่ให้สูบบุหรี่ในสถานที่ทำงาน

ความปลอดภัยและสุขภาพและการฝึกอบรม
ถึงแม้ว่าพนักงานจะมีประสบการณ์มาก่อนแต่เมื่อทำงานกับองค์กร  องค์กรจะต้องประเมิณโดยมีการฝึกอบรมเพื่อให้พนักงานมีความปลอดภัยในหน้าที่  ตัวอย่างเช่น Morrisons ได้ใช้โปรแกรมในการฝึกอบรมพนักงาน  รายละเอียดมีดังต่อไปนี้
  • นโยบายสุขภาพและความปลอดภัยของบริษัท
  • ข้อมูลเชิงลึกและการวางแผน
  • กรณีเหตุฉุกเฉิน
  • งานเฉพาทางหรือการฝึกอบรมใช้เครื่องมือ
  • รายงานอุบัติเหตุ
การฝึกอบรมเป็นสิ่งสำคัญของพนักงานใหม่เช่นเดียวกับขั้นตอนในการทำงาน  เครื่องมือ  กิจกรรม  จะเปลี่ยนแปลงไปตามเวลา  ดังนั้นการฝึกอบรมที่ดีพอเป็นสิ่งที่ต้องการ  ดังนั้นเป็นสิ่งที่ สำคัญที่จะให้พนักงานทำการฝึกอบรมอย่างต่อเนื่องและการตรวจควบคุมคนเป็นเป้าหมายและหน้าที่ในการฝึกอบรมในอนาคต  มันอาจจะจำเป็นในการแสดงประเภทของการอบรมซึ่งพนักงานจะได้รับ  การฝึกอบรมจะแตกต่างจากการพูดคุยเพียงสั้นๆ  โดยเริ่มจากขั้นตอนและนโยบายโดยนำไปสู่การมีส่วนร่วมของลูกจ้างซึ่งจะได้รับเกียรติบัตรเมื่อสำเร็จผล  ความต้องการในการฝึกอบรมจะขึ้นอยู่กับระดับความอันตรายและความเสี่ยงในการทำงาน  รูปแบบและวิธีในการทำงานจะพัฒนาอย่างต่อเนื่อง  โดยสรุปคนที่ได้รับการฝึกที่ทำงานเกี่ยวกับสุขภาพและความปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญจะได้รับพิจารณว่าเป็นการปฏิบัตืที่สำคัญที่สุดในส่วนของทรัพยากรมนุษย์

สรุป
แรงจูงใจและบุคคลที่สร้างแรงจูงใจในที่ทำงานเป็นปัจจัยสำคัญในการรักษากลยุทธ์ของ HRM แรงจูงใจสามารถนำไปสู่เป้าหมายที่พึงประสงค์ของแต่ละบุคคล  ทฤษฎีแรงจูงใจสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ  เนื้อหาของทฤษฎีและวิธีปฏิบัติ  งานจะเป็นเพียงตัวกระตุ้นถ้านำไปสู่รางวัลซึ่งมีค่าในแต่ละบุคคล  รางวัลจะกระตุ้นการทำงานที่ดีเมื่อความเชื่อมโยงเกิดขึ้นระหว่างความพยายามและรางวัลนั้นมีความชัดเจน
      รางวัลอาจจะรวมไปถึงเงินหรือสิ่งที่ไม่ใช่เงินหรือค่าตอบแทนทางจิตใจซึ่งองค์กรณ์จะเป็นผู้ให้ลูกจ้างเป็นการแลกเปลี่ยนในการทำงาน  การบริหารการจัดการเรื่องรางวัลเป็นสิ่งที่สำคัญในการจัดการเกี่ยวกับทรัพยากรมนษย์และการรักษากลยุทธ์  ระบบรางวัลที่มีประสิทธิภาพถูกออกแบบเพื่อสร้างความพึงพอใจตามความต้องการของลูกจ้างที่มีต่อองค์กร  องค์กรสามารถแบ่งรางวัลออกเป็น 2 ประเภทคือ  รางวัลภายนอกและภายในส่วนผสมรางวัลภายนอกและภายในของนายจ้างจะอยู่ในรูปของระบบรางวัลเงินและปัจจัยทางด้านศรษฐกิจ  เป็นรูปแบบของระบบค่าตอบแทน 
        กลยุทธ์รางวัลสามารถสร้างรูปแบบที่แตกต่างกันมีใช้อย่างกว้างขวางคือแผนงานที่ใช้บุคคลเป็นที่ตั้งจะให้ความสำคัญในตัวบุคคลและการทำงานของเขา  การจ่ายค่าตอแทนให้ลูกจ้างดูจากผลลัพธ์โดยตรงและสามารถมองเห็นได้เป็นรูปธรรมจากการทำงานและรางวัลทางการเงิน  ในระบบนี้เป็นส่วนเชื่อมโดยตรงระหว่างความพยายามของตัวเองกับผลที่ได้รับ  PRP  พิจารณาถึงการทำงานแต่ลพบุคคลซึ่งระบบจะเพิ่มเงินเดือนโดยขึ้นอยู่กับการประเมิณหรืออัตราส่วน  PRP  มีการบริการลูกค้าที่ดีและเพิ่มคุณภาพของการทำงาน  ความยืดหยุ่นเป็นหนึ่งในปัจจัยของระบบนี้และยังส่งเสริมไปจนถึงสนับสนุนในการทำงานเป็นทีม
      แผนงานที่มีทีมงานโดยปรกติจะได้รับรางวัลในทีมสมาชิกเท่าๆกันทุกคนตามผลงาน  การจ่ายที่ใช้ในโรงงานเป็นรางวัลที่ให้แก่พนักงานทุกคนในโรงงานหรือบริษัท  โดยคำนึงถึงผลประกอบการโดยรวมของบริษัทและโรงงาน  โดยปกติตัวชี้วัดขึ้นอยู่กับโรงงานอย่างเช่นปริมาณความเสียหาย  ต้นทุนการผลิตจำนวนของอุบัติเหตุหรือวันลาป่วย  ประเภทส่วนใหญ่ที่สุดของโปรแกรมการให้รางวัลแก่ลูกจ้างขึ้นอยู่กับการประกอบการของบริษัทที่เรียกว่าการแบ่งผลกำไร  ความแตกต่างระหว่างการแบ่งผลกำไรและการได้รับส่วนแบ่งที่ใช้ในโรงงานคือการแบ่งผลกำไรไม่ก่อให้เกิดความพยายามให้คนงานอยากได้รางวัลหรือพัฒนาการผลิต
        การบริหารจัดการด้านความปลอดภัยและสุขภาพของลูกจ้างเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดของการรักษาพนักงาน  ความปลอดภัยปละสุขภาพของลูกจ้างจะเป็นสิ่งสำคัญในการบริหารการจัดการด้านทรัพยากรมนุษย์และการจ้างงาน  เพื่อที่จะติดตามรูปแบบการจัดการขององค์กรจะเป็นจะต้องป้องกันการลงทุนในสินทรัพย์
What is motivation?  อะไรคือแรงจูงใจ
แรงจูงใจที่ใช้กัน  เป็นรากศัพท์มาตากภาษาละติน  มีหมายความว่าเคลื่อนไหว  มันแสดงถึงการกระทำซึ่งต้องการพลังงานและความพยายาม  แรงจูงใจคือกระบวนการในตัดสินใจซึ่งผ่านจากพฤติกรรมที่มีเป้าหมายโดยตรงเป็นตัวเริ่มต้น  ชี้นำและรักษา

Hygiene factors versus motivators at work
องค์ประกอบด้านสุขภาพกับตัวสร้างแรงจูงใจที่ทำงาน

องค์ประกอบด้านสุขภาพ                                                                       ตัวสร้างแรงจูงใจ
นโยบายเชิงองค์กรและการบริหารการจัดการ                                        การบรรลุเป้าหมาย
ความสามารถทางเทคนิคในการบริหารการจัดการ                 การรับรู้เข้าใจ
ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน  เจ้านาย                                               ลักษณะในการทำงานด้วยตนเอง
สภาพในการทำงาน                                                                                ความรับผิดชอบ
ค่าตอบแทน                                                                                             ความก้าวหน้า
องค์ประกอบส่วนตัว                                                                               ความเป็นไปได้ในการเจริญเติบโต
สถานะภาพ

Motivation in practice แรงจูงใจในการทำงาน
เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา  ฉันกลังทำงานในบริษัทส่วนของภาคอุตสาหกรรมการบริการในประเทศสิงคโปร์  เราและลูกจ้างหลายคนได้ถูกประเมินตามกฎในปีละ 1 ครั้ง  และการเลื่อนตำแหน่งและเงินเดือนที่เพิ่มขึ้นเป็นไปตามลำดับ  อย่างไรก็ตามผลที่ตามมาจากประเมินลูกจ้างไม่มีทราบ  พนักงานไม่มีความคิดว่าสิ่งที่พวกเขาทำดีหรือไม่  ไม่มีมาตรฐานในการดำเนินงานเป็นตัวชี้วัด  ไม่ปรากฎว่ามีการเลื่อนขั้นหรือรางวัลใดใด  ตัวอย่างเช่น  พนักงานคนหนึ่งอาจจะได้รับการเลื่อนขั้นและเพิ่มเงินเดือนซึ่งในขณะที่มีความสามารถเหมือนกับคนอื่นๆ ลูกจ้างหลายคนไม่พอใจ  พวกเขาไม่ได้ผลตอบรับใดใดจากการทำงานเมื่อปีที่ผ่านมาและรอจะที่ทราบถึงโอกาสในการปรับตำแหน่ง  สถานการณ์เริ่มแย่ลง  พนักงานหลายคนเริ่มลาออก  มาตรฐานทางด้านบริการเริ่มตกลงอย่างมากและมีข่าวว่ากำไรลดลงและลูกค้าหลายคนก็มาที่สำนักใหญ่  ทีมผู้บริหารได้ทบทวนและปฏิบัติการใหม่  รวมไปถึงมีระบบการประเมินใหม่  การบริหารการจัดการมีดังต่อไปนี้
  • บอกให้พนักงานทราบถึงผลประเมินไม่เพียงชี้แจงให้เห็นถึงด้านศักยภาพในการปรับตำแหน่งเท่านั้น  แต่ยังมีความชัดเจนในเรื่องของเป้าหมายและสร้างแรงจูงใจ
  • ปรับปรุงการสื่อสารกับพนักงาน  ให้ผลตอบรับว่าอะไรที่คาดหวังจากพนักงานและพูดถึงจุดแข็งและจุดอ่อน
  • คิดเพื่อที่จะสร้างแรงจูงใจในสถานประกอบการ  ซึ่งมีความสมดุลย์ระหว่างผลตอบแทนที่เป็นเงินและไม่ใช้เงิน  แสดงให้เห็นถึงค่าตอบแทนที่ไม่ป็นธรรม  สุขอนามัยและความยุติธรรมในส่วนแบ่งในแต่ละปี  กำไรของบริษัท
  • ตระหนักถึง  มีความเป็นพิเศษในแต่ละแผนกที่มากเกินไป  แสดงให้เห็นถึงความสำคัญในการรับผิดชอบ  และวิธ๊ในการพัฒนาความสามารถและเพิ่มในส่วนของงานและความรู้ที่เกี่ยวข้อง  ซึ่งพวกพนักงานที่แรงจูงใจมากขึ้น  และอุทิศตนให้งานจนสำเร็จลุล่วง
  • มีการหมุนเวียนงานกันทำ  ไม่เพียงแต่ให้องค์กรมีโอกาสทำให้มีทักษะความสามารถที่หลากหลาย  แต่ยังลงความเบื่อหน่ายในลูกจ้างที่มีผลจากทำงานที่ซ้ำซากจำเจ
ใช้ตัววัดเหล่านี้ในการปรับปรุงสถานการณ์ที่ทำ  การสำรวจที่แสดงให้เห็นว่ามีการเพิ่มขึ้นอย่างมากในความพึงพอใจของพนักงาน
คำถาม  องค์กรของคุณเป็นอย่างไร  มีระบบการให้รางวัลที่ชัดเจนไหม
รวบรวมเนื้อการบริหารการจัดการ ทรัพยากรมนุษย์